|
|
คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะรับบทความในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ จากอาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิ
โดยบทความที่ส่งมาให้พิจารณาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น ทั้งนี้
บทความต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดในการสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ บทความที่พิจารณาแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
- บทความวิจัย (Research Paper) คือ งานเขียนที่นำเสนอผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ
ประกอบด้วยบทนำ ทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ สมมติฐาน (ถ้ามี) นิยามศัพท์ (ถ้ามี)
ขอบเขตการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย ประโยชน์ที่ได้รับ สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ
เชิงอรรถอ้างอิง(ถ้ามี) กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
- บทความวิชาการ (Academic Paper) คือ งานเขียนที่มีความน่าสนใจ มีความรู้ใหม่
ประกอบด้วยบทนำ เนื้อหา ต้องชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนออย่างชัดเจนด้วยการลำดับเนื้อหาอย่างเหมาะสม
ควรใช้ทฤษฎีวิเคราะห์ สรุปผลและข้อเสนอแนะ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายและชัดเจน
- บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) คือ งานเขียนที่ต้องถ่ายทอดความคิดเห็น
โดยนำเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นความรู้ ต้องใช้หลักวิชาที่เหมาะสม เพื่อวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ แสดงให้เห็นถึงข้อดี ข้อไม่ดี
โดยชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของหนังสือที่จะวิจารณ์ และเสนอแนวทางแก้ไข ประกอบด้วยบทนำหรือประเด็นที่จะวิจารณ์ เนื้อหา
บทสรุปและข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
- บทความปริทัศน์ (Review Article) คือ งานเขียนที่ประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการเฉพาะทางที่มีการศึกษาค้นคว้า
ซึ่งมีการผสมผสานแนวคิด ทบทวนความก้าวหน้าของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และสรุปความรู้ในเรื่องนั้น ๆ จาก หลาย ๆ
การศึกษาจนถึงปัจจุบัน เพื่อนำเสนอแนวคิดใหม่ ๆ หรือองค์ความรู้ใหม่ โดยมีการวิเคราะห์
สังเคราะห์องค์ความรู้อย่างทันสมัย และมีข้อวิจารณ์ที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนาต่อไป
|
|
ขั้นตอนการจัดพิมพ์บทความ
- ชื่อของบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรมีความกระชับและได้ใจความชัดเจน (ไม่ต้องใส่วงเล็บ) บทความมีจำนวนหน้าทั้งหมดไม่เกิน 12 หน้า
- ชื่อผู้เขียนบทความ หากมีผู้เขียนบทความมากกว่า 1 คน ให้ใส่หมายเลขกำกับเรียงลำดับทุกคน (ดูตัวอย่าง)
- เชิงอรรถอ้างอิง ถ้ามีเชิงอรรถอ้างอิงเพียง 1 รายการ ให้ใช้เครื่องหมายดอกจัน
แต่หากมีเชิงอรรถอ้างอิง มากกว่า 1 รายการให้ใช้หมายเลขกำกับเรียงลำดับทุกรายการ
- กิตติกรรมประกาศ ถ้ามี ให้พิมพ์ก่อนเอกสารอ้างอิง
- ต้นฉบับบทความที่ส่งมาให้กองบรรณาธิการต้องตรวจความถูกต้องของการใช้ภาษาตามหลักไวยากรณ์ให้เรียบร้อย
ก่อนส่งบทความในระบบ Online พร้อมแนบไฟล์ Microsoft Word
- เมื่อกองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตอบรับบทความแล้วจะพิจารณาสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อประเมินคุณภาพของบทความ กรณีผลการประเมิน
“ผ่านอย่างมีเงื่อนไข” ขอให้ผู้เขียนบทความแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ
เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วให้ส่งบทความฉบับแก้ไข จำนวน 1 ฉบับ พร้อมไฟล์ Microsoft Word ทั้งนี้
ขอให้แนบบทความกับผลการประเมินบทความฉบับ “ผ่านอย่างมีเงื่อนไข” กลับมายังกองบรรณาธิการ
เพื่อจัดส่งให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมินคุณภาพบทความอีกครั้ง
- บทความที่ผ่านการประเมินและแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว กองบรรณาธิการจะตรวจ
การเขียนรายการอ้างอิงและส่งให้ผู้เขียนแก้ไขให้ถูกต้อง จึงจะสามารถตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เรียบร้อยแล้ว
ผู้เขียนบทความจะได้รับวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 3 เล่ม
|
|
ข้อมูลสำหรับผู้เขียนบทความ
|
|
|
|
กลับสู่ด้านบน
|
|
|