1.ความสำคัญ
ธุรกิจการค้าปลีกนับได้ว่าเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม
และเป็นตัวจักรในการพัฒนามาตรฐานการครองชีพและคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ
โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงและกระจายสินค้าจากผู้ผลิตและสู่ผู้บริโภคอย่างทั่วถึงผ่านระบบตลาดที่มีผู้เข้ามามีส่วนร่วมจำนวนมากและเป็นแหล่งของการยังชีพของคนกลุ่มใหญ่ตั้งแต่ผู้ผลิตสินค้าเจ้าของโรงงาน
ผู้ประกอบการธุรกิจค้าส่ง การขนส่ง แรงงานรับจ้าง นอกจากนี้
ธุรกิจค้าปลีกยังเป็นสัญลักษณ์ของการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนและท้องถิ่นที่สำคัญ
ในช่วง 3
ทศวรรษที่ผ่านมา
ธุรกิจการค้าปลีกในประเทศมีการพัฒนาทั้งในรูปแบบธุรกิจ
การดำเนินงาน และจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมทั้งด้านเศรษฐกิจ
สังคม และธุรกิจ รวมทั้งวิวัฒนาการและเทคโนโลยีของการจัดการที่ทันสมัยที่มีส่วนอย่างมากในการช่วยให้ให้รูปแบบธุรกิจการค้าปลีกของไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น
โดยเปลี่ยนจากการดำเนินธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม ที่ดำเนินการแบบธุรกิจครอบครัวที่มีรูปแบบร้านขายของชำแบบดั้งเดิมมาเป็นรูปแบบของการดำเนินธุรกิจแบบสมัยใหม่
ทั้งแบบฟรานไชน์ ร้านค้าสะดวกซื้อแบบต่างๆ
และรูปแบบค้าปลีกแบบใหม่เริ่มกลายเป็นปรากฏการณ์ปกติทั่วไปในชุม
รวมทั้งการเปิดตัวของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ทั้งของต่างประเทศและนักลงทุนในประเทศ ตลอดจนการเกิดรูปแบบใหม่ของธุรกิจการค้าปลีกประเภทร้านที่เป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่พวกซุปเปอร์สโตร์/ดิสเคานท์สโตร์ต่างๆ
การเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบการทำธุรกิจที่แตกต่างจากเดิมที่เคยมีมา
และมีขนาดของการดำเนินธุรกิจมีขนาดใหญ่ตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมทั้งการขยายตัวอย่างรวดเร็วของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ใน
ประเทศไทยส่งผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งประชาชนในฐานะผู้บริโภค
ร้านค้าปลีก ผู้บริหารช่องทางจำหน่าย ผู้ผลิตสินค้า
ผู้ผลิต และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อมทั้งมวล
รวมถึงผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงใน
โครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทยโดยรวม
ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
หลายการศึกษาแสดงให้เห็นว่าประชาชนผู้บริโภคสินค้าได้รับประโยชน์โดยตรงจากการจับจ่ายซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในสถานที่กว้างขวาง
สะดวกสบาย และด้วยบริการและคุณภาพสินค้าที่สูงขึ้น
การได้รับบริการที่ดีและมีทางเลือกในการบริโภคสินค้ามากขึ้น
ขณะที่ราคาสินค้ามี แนวโน้มลดต่ำลง
แต่อีกด้านหนึ่งผู้ประกอบการค้าปลีกดั้งเดิมขนาดเล็กๆ
จำนวนมากที่เป็นของคนไทยได้รับผลกระทบด้านลบอย่างรุนแรง
เนื่องจากกลุ่มลูกค้าซึ่งดั้งเดิมเป็นลูกค้าของ
ผู้ประกอบการค้าปลีกรายเล็กๆในชุมชนต่างๆ
ได้ทยอยหดหายไปอย่างรวดเร็วและหันไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านค้าปลีกขนาดใหญ่
เช่น ห้างเทสโก้โลตัส ห้างแม็คโคร
ห้างบิ๊กซี และห้างคาร์ฟู
รวมทั้งการเข้ามาของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทร้านคอนวีเนียน
สโตร์ หรือร้านสะดวกซื้อต่างๆ หรือคอนวีเนียนสโตร์
ที่มีการขยายตัวและสาขาเข้ามาสู่และใกล้ตัวชุมชนมากขึ้น
และรูปแบบของการทำธุรกิจ
การให้บริการของรูปแบบการค้าปลีกเหล่านี้กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ
นอกจากนี้
ผู้ประกอบการคนไทยอีกหลายกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้าปลีกโดยตรง (Stakeholders)
ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน
โดยเฉพาะในรายที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน เช่น
ผู้ประกอบการค้าส่งในชุมชน
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตสินค้า
อุปโภคบริโภค (Suppliers)
ผู้ประกอบการธุรกิจการค้าขนส่งสินค้าและผู้ผลิตที่มีอำนาจการต่อรองที่ลดลง
และเกษตรกรและกำลังแรงงานในชุมชนที่กำลังสูญเสียแหล่งรายได้พิเศษหรือแหล่งจ้างงานของตนเอง
เพราะรูปแบบของการบริหารจัดการในร้านค้าแบบใหม่มีความต้องการแรงงานที่มีความสามารถและความชำนาญที่แตกต่างจากเดิม
เป็นต้น
ในช่วง 5
ปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม
และการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อเปลี่ยนแปลงธุรกิจการค้าปลีกของไทยอย่างมาก
ทั้งการเปิดเสรีการค้า ธุรกิจ บริการการค้าปลีกของไทย
โครงสร้างสังคม ครอบครัว ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความเป็นอยู่
การดำรงชีพของคนในสังคม ความต้องการและรสนิยม
ตลอดจนการเมืองระหว่างประเทศท้องถิ่นที่ทำให้การค้าปลีกต้องเผชิญการแข่งขันในทุกรูปแบบอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ผลดังกล่าวเชื่อได้ว่าทำให้ร้านค้าปลีกดั้งเดิมขนาดเล็กในประเทศต้องยุบเลิกกิจการจำนวนมาก
ซึ่งข้อมูลธุรกิจการค้าปลีกระหว่างปี 2540-2542
ศึกษาและสำรวจโดยธนาคารแห่งประเทศไทย บ่งชี้ว่า ในปี 2540
ธุรกิจร้านค้าปลีกดั้งเดิมมีสัดส่วนการครอบครองตลาดการค้าปลีกภายในประเทศโดยรวมประมาณร้อยละ
86.87 และมีแนวโน้มลดลงเป็นประมาณร้อยละ
83.76 ในปี 2542
ซึ่งการสูญเสียส่วนแบ่งการครอบครองตลาดของธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิมของไทย
ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยยืนยันโดยชัดเจนว่าเป็นการสูญเสียให้กับร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ประเภทซุปเปอร์สโตร์
ดิสเคาน์สโตร์ และร้านค้าปลีกขนาดเล็กประเภทสะดวกซื้อ
โดยสัดส่วนการตลาดของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ทั้งสองประเภทได้เพิ่มจากร้อยละ
6.62 และร้อยละ1.39 ในปี
2540 เป็นร้อยละ 8.68 และ1.96
ในปี 2542 ตามลำดับ
และการประมาณการของ TDRI (2545)
ประมาณการในปี 2541-2544
มูลค่าของธุรกิจค้าปลีกเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 90
แต่สัดส่วนของมูลค่าธุรกิจร้านค้าปลีกดั้งเดิมลดลงกว่าร้อยละ 19.1
และจำนวนของร้านค้าปลีกดั้งเดิมลดลงกว่าร้อยละ 16
ในขณะที่อัตราการเพิ่มขึ้นจำนวนร้านค้าสมัยใหม่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ
75
ซึ่งจำนวนสาขาของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่โดยเฉพาะห้างไฮเปอร์มาร์เก็ต/ซุปเปอร์
เซนเตอร์เพิ่มมากกว่า 2 เท่าตัว ในขณะที่ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มมากกว่า
3 เท่าตัว
นอกจากนี้สัดส่วนผู้ถือหุ้นคนไทยในธุรกิจค้าปลีกโดยเฉพาะในส่วนไฮเปอร์มาร์เก็ต/ซุปเปอร์เซนเตอร์ลดลงภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจปี
2540 อย่างเห็นได้ชัด
รูปแบบและแนวโน้มของการดำเนินธุรกิจของธุรกิจค้าปลีกรูปแบบใหม่ที่อาศัยความได้เปรียบทางด้าน
วิทยาการความรู้ อำนาจการต่อรองธุรกิจที่ดีกว่า
การตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านความสะดวกสบายและความครบถ้วนสินค้า
ส่งผลกระทบต่อการลดลงของธุรกิจค้าปลีกของคนไทยลงอย่างต่อเนื่องทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่
และที่สำคัญของวิวัฒนาการของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในสังคมไทยที่ผ่านมาได้สร้างวัฒนธรรมทางด้านธุรกิจค้าปลีกรูปแบบใหม่ขึ้นมาซึ่งจะเป็นสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่สำคัญ
อาทิ รูปแบบการค้าปลีกที่มีขนาดใหญ่และจำนวนมากขึ้น
ร้านค้าปลีกขนาดเล็กที่ทันสมัยอำนวยความสะดวกสบายแก่ลูกค้าที่ปรากฏในชุมชน
สภาพการเป็นเจ้าของที่เปลี่ยนจากเจ้าของเป็นฟรานไชด์
ร้านค้าสะดวกซื้อแบบเซนมากขึ้น
การบริหารจัดการที่ทันสมัยที่ต้องการผู้มีความชำนาญความรู้ในการจัดการแบบใหม่
การแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ต/ซุปเปอร์มาร์เก็ต
การมีอำนาจการต่อรองทางการตลาดของกลุ่มค้าปลีกขนาดใหญ่เหนือผู้ผลิตและผู้ค้าส่งของไทย
การค้าส่งขนาดเล็กของคนไทยถูกละเลยและเริ่มหมดความสำคัญ รวมทั้ง
ความสะดวกสบายของผู้บริโภคที่ได้รับจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่
ซึ่งกิจการธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เหล่านี้ได้ก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของของคนไทยในปัจจุบัน
และยังคงความรุนแรงและมีแนวโน้มขยายตัวกว้างขวางมากขึ้น
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันสิ่งต่างๆ
เหล่านี้อาจจะกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล
และในตัวเมืองจังหวัดขนาดใหญ่ของประเทศเป็นส่วนมาก
แต่มีสัญญาณบ่งชี้อย่างต่อเนื่องว่าร้านค้าปลีกดั้งเดิมในจังหวัดขนาดกลางและขนาดเล็กในเมืองและในชุมชนที่ห่างจากตัวเมืองเริ่มมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบที่ชัดเจนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
จากสภาพแวดล้อมและปรัชญาของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศที่สอดคล้องกับภาวการณ์ของเศรษฐกิจเสรีในปัจจุบันนี้แล้ว
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจค้าปลีกของคนไทยจะต้องมีการปรับตัวให้ทันกับภาวะแวดล้อมสังคมและธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนไป
รวมทั้งในส่วนของรัฐจะต้องมีการปรับรูปแบบของการจัดการที่สร้างเงื่อนไขที่เป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจและการแข่งขันให้กับธุรกิจการค้าปลีกไทยเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ร่วมกับธุรกิจและในระบบการค้าปลีกสมัยใหม่อย่างยั่งยืน
และในปัจจุบันนโยบายยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ
และขั้นตอนที่ชัดเจนในการเข้าช่วยเหลือ สนับสนุน คุ้มครอง ป้องกัน
ร้านค้าปลีกดั้งเดิมของคนไทยให้เกิดการปรับตัวและมีความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมหรือเป็นธรรมกับธุรกิจขนาดใหญ่
การดำรงอยู่ของธุรกิจ
หรืออีกนัยหนึ่งธุรกิจร้านค้าปลีกดั้งเดิมเหล่านี้จะสามารถดำเนินธุรกิจของตนต่อไปได้อย่างไรในสภาพที่มีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับและต้องแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมกว่าในด้าน
เงินทุน เทคโนโลยี
กลยุทธ์ธุรกิจการค้าการลงทุนและการสนับสนุนจากกลุ่มผู้เชื่อในระบบการค้าเสรีแบบไร้พรมแดน
ซึ่งการวางยุทธศาสตร์เพื่อการดำรงอยู่ของการค้าปลีกและบริการในท้องถิ่นจำต้องมองภาพรวมและความเชื่อมโยงของธุรกิจการค้าปลีกในระบบทั้งหมด
รวมทั้งการจำลองภาพของสภาพแวดล้อมในทุกด้านของระบบเศรษฐกิจในอนาคตเพื่อให้สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมที่พัฒนาและปรับสภาพของธุรกิจการค้าปลีกและบริการในท้องถิ่นให้สามารถดำรงอยู่ร่วมกับผู้อื่นในระบบได้อย่างยั่งยืน
ด้วยความสำคัญนี้ สถาบันยุทธศาสตร์การค้า
จึงได้ร่วมมือกับมูลนิธิเพื่อการวิจัยแห่งประเทศไทย
ศึกษาการค้าปลีกในท้องถิ่นเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต่อไป
การศึกษากำหนดเสร็จสิ้นสมบูรณ์ประมาณเดือนสิงหาคม 2547
2.
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
ในการศึกษาวิจัยภายใต้โครงการ ยุทธศาสตร์การค้าปลีก
มีวัตถุประสงค์หลักรวม 5
ประการ และเรียง ลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
2.1
การกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ของการพัฒนาธุรกิจการค้าปลีกของไทยเพื่อให้สามารถดำรงอยู่
ร่วมกับธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจใหม่ได้อย่างยั่งยืนในสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขทางธุรกิจใหม่
2.2
การพัฒนาประสิทธิภาพและศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของหน่วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งหมดใน
กระบวนการค้าปลีกของผู้ค้าไทยเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้ในสภาพธุรกิจใหม่
2.3
การกำหนดแนวทางการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจค้าปลีกของไทยจากภาครัฐ
เพื่อให้ธุรกิจการค้าปลีกของไทยมีศักยภาพและความสามารถในการดำเนินธุรกิจได้อย่างทัดเทียมกับผู้ประกอบการธุรกิจการค้าปลีกสมัยใหม่
2.4
การวิเคราะห์แนวทางของวิวัฒนาการของธุรกิจค้าปลีกของไทยในอนาคตภายใต้เงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและแนวโน้มของธุรกิจ
รวมทั้งผลกระทบต่อธุรกิจค้าคนไทยหากไม่มีการดำเนินการสนับสนุน
ส่งเสริม และพัฒนาจากส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
และการฉายภาพในอนาคตของสภาพธุรกิจค้าปลีก
หากมีการดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาที่กำหนด |