สถาบันยุทธศาสตร์การค้า
เป็นสถาบันที่จัดตั้งขึ้นโดยหอการค้าไทยตามมติของคณะกรรมการหอการค้าไทย เมื่อวันที่ 26
มิถุนายน 2543 ตามพระราชบัญญัติหอการค้าไทย พ.ศ.
2509 และได้ดำเนินการอย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2544
โดยมีรายละเอียดในการจัดตั้งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
-
สถาบันฯ
เป็นองค์กรวิชาการ เพื่อศึกษา วิเคราะห์
และกำหนดยุทธศาสตร์การค้าของไทย
-
มีสถานภาพเป็นหน่วยงานอิสระ ที่มีเสรีภาพบนพื้นฐาน
ทางวิชาการ
ไม่มีอคติและความลำเอียงในการ ดำเนินงานตาม พันธกิจ
และวัตถุประสงค์
-
ยึดหลักความแม่นตรง ถูกต้อง
และน่าเชื่อถือได้ในการปฏิบัติพันธกิจ
-
มุ่งมั่นในผลประโยชน์ของประเทศชาติและส่วนรวมเป็นสำคัญ
ภายใต้สภาวะการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศภูมิภาคและภายในประเทศในปัจจุบัน และกรอบกติกาการค้าใหม่ที่กำหนดโดยนานาประเทศ
ธุรกิจและการค้าทุกสาขาต้องเผชิญกับการเร่งสร้างผลผลิตทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด
การรักษาสภาพแวดล้อมที่ดี ความเป็นธรรม
และเสรีในการแข่งขัน
และนำประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ และส่วนรวม
ธุรกิจและการค้าในภาคเอกชน
จึงจำเป็นต้องดำเนินการในเชิงรุก
โดยประสานร่วมมือกับภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิผล
และด้วยยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์การที่จะปฏิบัติพันธกิจดังกล่าวนั้น ได้จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์
ทันสมัย และต้องมีการศึกษาวิเคราะห์อย่างรอบคอบ
เพื่อให้สามารถกำหนดจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส
และภาวะคุกคาม
ที่มีและเกิดจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ
สำหรับวางแนวทางยุทธศาสตร์การค้าในเชิงรุกได้อย่างพอเหมาะ
หอการค้าไทย
และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
ด้วยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
จึงได้ริเริ่มวางแนวทางและก่อตั้ง
สถาบันยุทธศาสตร์การค้า
ให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติพันธกิจตามปรัชญาและวัตถุประสงค์ข้างต้น
สถาบันยุทธศาสตร์การค้า
ได้รับการก่อตั้งโดยข้อบังคับเฉพาะให้มีสถานภาพเป็นองค์กรวิชาการที่มีความเป็นอิสระและเสรีภาพบนพื้นฐานทางวิชาการโดยสมบูรณ์
มีผลตั้งแต่ 26 พฤศจิกายน 2544
สถาบันยุทธศาสตร์การค้าปฏิบัติพันธกิจเพื่อ
บรรลุวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ
เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำคัญในการกำหนด ยุทธศาสตร์การค้าและทางเลือก
นอกจากนี้สถาบันยุทธศาสตร์การค้ายังอาจปฏิบัติภารกิจเร่งด่วนอื่น
ๆ ตามที่คณะกรรมการสถาบันยุทธศาสตร์การ
ค้าเห็นสมควรกำหนด
การกำหนดนโยบาย
แผนงาน และงบประมาณ
สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มีคณะกรรมการสถาบันฯ
เป็นผู้กำหนดและรับผิดชอบนโยบายการดำเนินงาน
แผนงาน และงบประมาณของสถาบันฯ
และรับผิดชอบต่อผลงานศึกษาวิจัยของสถาบันฯ
คณะกรรมการสถาบันฯ
มีจำนวน 15 คน และมีวาระคราวละ 2 ปี
โดยมีองค์ประกอบดังนี้
-
ผู้แทนหอการค้าไทย
หรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นประธานกรรมการ
-
ผู้แทนหอการค้าไทย
หรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
เป็นรองประธานกรรมการ
-
อธิการบดี
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นรองประธานกรรมการ
-
ผู้แทนหอการค้าไทย
และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 3 คน เป็นกรรมการ
-
ผู้แทนหอการค้าจังหวัด 3 คน
เป็นกรรมการ
-
ผู้แทนมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 3
คน เป็นกรรมการ
-
นักวิชาการจากองค์กรภายนอก 3 คน
เป็นกรรมการ
ผู้อำนวยการสถาบันฯ
ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการสถาบันฯ
เป็นเลขานุการของคณะกรรมการสถาบันและเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดขอบการดำเนินงานของสถาบันฯ นอกจากนั้นยังได้มีการว่าจ้างเจ้าหน้าที่อื่นๆ
เพื่อปฏิบัติงานของสถาบันฯ ด้วย
สถาบันยุทธศาสตร์การค้าปฏิบัติภารกิจโดยเป็นอิสระ
โดยการมอบอำนาจจากหอการค้าไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
อิสระในการให้ได้มาซึ่งยุทธศาสตร์การค้า
และทางเลือก และการรวบรวมจัดระบบข้อสนเทศการค้า
ความรับผิดชอบ
และตรวจสอบได้ |
|
สถาบันยุทธศาสตร์การค้าโดยคณะกรรมการสถาบันฯ
รับผิดชอบในผลงานศึกษาวิจัย และยุทธศาสตร์การค้าที่ดำเนินการโดยสถาบันฯ
การดำเนินงานของสถาบันฯ เป็นไปโดยเปิดเผย
และโปร่งใส โดยเฉพาะในการเก็บรวบรวมข้อสนเทศ
และวิธีวิทยาในการกำหนดยุทธศาสตร์การค้า
สถาบันต้องรายงานผลการศึกษาวิจัย
และผลการดำเนินงานทุกปีต่อหอการค้าไทย
นอกจากสถาบันยุทธศาสตร์การค้าจะมีส่วนร่วมมือโดยใกล้ชิดกับหอการค้าไทย
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในการกำหนดหัวข้อยุทธศาสตร์การค้าและทางเลือกแล้ว
สถาบันฯ ยังเปิดโอกาสให้นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
และสถาบันทางวิชาการอื่น ๆ
ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสถาบัน
โดยเฉพาะการศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ทางการค้าและทางเลือก
สถาบันยุทธศาสตร์การค้ามีการบริหารและดำเนินงานด้านการเงิน
การบัญชี ทรัพย์สิน งบประมาณ และเงินทุน เป็นอิสระ
โดยมีระเบียบว่าด้วยการเงินและการบัญชี ของสถาบันฯ
โดยเฉพาะ ภายใต้การกำกับ และรับผิดชอบของคณะกรรมการสถาบัน
รายรับของสถาบันฯ มีที่มาจาก 3 แหล่งหลักคือ
งบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
รายได้จากการดำเนินงานของสถาบันฯ
และดอกผลจากเงินหรือทรัพย์สินของสถาบันฯ
นอกจากนั้นคณะกรรมการสถาบันฯ
อาจพิจารณาให้มีรายได้จากแหล่งอื่น ๆ
เข้ามาสมทบอีกด้วย
|