Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

งานเสวนาระดมสมอง

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
.

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

 

 

แนวโน้มเศรษฐกิจโลก ๒๕๕๐ : ผลกระทบส่งออกไทย

 
 

การที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาชะลอตัวลง โดยล่าสุดมีอัตรา GDP เพิ่มขึ้นเพียง 1.6% ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราเติบโตรายไตรมาสน้อยที่สุดในรอบกว่า 3 ปี ทำให้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนแรงต่อเนื่องในปี 2550 โดยคาดว่าจะมีอัตราเติบโตราว 2.9% เทียบกับอัตราขยายตัวประมาณ 3.4% ในปี 2549 ขณะเดียวกันเศรษฐกิจของประเทศแกนนำอื่นๆ ได้แก่ สหภาพยุโรป (EU) และญี่ปุ่น ส่อเค้าชะลอตัวเช่นกันในปีหน้าเช่นกัน คาดว่าจะกดดันให้เศรษฐกิจโลกโดยรวมชะลอลงอยู่ในระดับ 4.9% ในปี 2550 เทียบกับอัตราขยายตัว 5.1% ในปี 2549

การที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ กลุ่ม EU และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลักของไทย มีแนวโน้มชะลอลงในปี 2550 คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสินค้าส่งออกสำคัญของไทย ดังนี้

 
 

กลุ่มที่ 1 : สินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมากได้แก่ สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ตลาด EU และตลาดญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนรวมกันมากกว่า 50 % ของมูลค่าส่งออกสินค้าแต่ละรายการ ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ หากสหรัฐฯ EU และญี่ปุ่น ชะลอการนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากไทย ก็มีแนวโน้มว่าจะกระทบต่อการส่งออกโดยรวมของไทยค่อนข้างมาก

กลุ่มที่ 2 : สินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบปานกลางได้แก่ สินค้าที่พึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ EU และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยประมาณ 30-40% ของมูลค่าส่งออกสินค้าแต่ละรายการ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์-อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา เหล็ก-เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ คาดว่าสินค้าส่งออกกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบปานกลางจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ EU และญี่ปุ่น เนื่องจากไทยสามารถชดเชยการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังตลาดส่งออกแห่งอื่นๆ เช่น ตลาดอาเซียน จีน ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย เป็นต้น

กลุ่มที่ 3 : สินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย ได้แก่ สินค้าที่พึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ตลาด EU และตลาดญี่ปุ่น ไม่มากนัก คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10-25% ของมูลค่าส่งออกสินค้าแต่ละรายการ ได้แก่ รถยนต์-อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และข้าว เนื่องจากไทยกระจายการส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปยังตลาดส่งออกแห่งอื่นๆ มากกว่าตลาดหลักทั้งสาม โดยมีตลาดอาเซียนและตลาดจีนเป็นแกนนำ จึงคาดว่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อยในกรณีที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ EU และญี่ปุ่นชะลอลงในปีหน้า

 
 

การที่เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำอย่างสหรัฐฯ กลุ่ม EU และญี่ปุ่น มีแนวโน้มชะลอตัวในปี 2550 และอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องพยายามกระจายตลาดส่งออก เพื่อประกันความเสี่ยงและลดผลกระทบต่อด้านลบจากตลาดหลักของไทยอ่อนกำลังลง ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่าทางการไทยควรส่งเสริมการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ ซึ่งจัดเป็นตลาดรองของไทย ประกอบด้วยประเทศเอเชียตะวันออก ตะวันออกกลาง ทวีปออสเตรเลีย เอเชียใต้ ทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาใต้ ยุโรปตะวันออก เป็นต้น ประเทศคู่ค้าของไทยกลุ่มนี้ นับเป็นตลาดส่งออกที่มีศักยภาพและมีบทบาทสำคัญขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการส่งออกของไทยไปยังตลาดใหม่เหล่านี้ขยายตัวในอัตราค่อนข้างสูงประมาณ 24% ในช่วง 9 เดือนแรก 2549

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงในปี 2550 แต่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกโดยรวมของประเทศไทยไม่รุนแรงนัก เพราะเมื่อพิจารณาจากรายการสินค้าส่งออกสำคัญ 20 อันดับแรกของไทยไปตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ กลุ่ม EU และญี่ปุ่น มีสัดส่วนรวมกันประมาณ 38% ของมูลค่าส่งออกสินค้า 20 รายการแรกทั้งหมดของไทย คิดเป็นมูลค่า 23,202 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วง 9 เดือนแรก 2549 ขณะที่ตลาดส่งออกอื่นๆ ครองสัดส่วนประมาณ 62% คิดเป็นมูลค่า 38,101 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงเดียวกัน ทำให้คาดว่าตลาดส่งออกอื่นๆ จะมีส่วนช่วยประคับประคองการส่งออกของไทย แต่ทางการและผู้ประกอบการไทยคงต้องเร่งรัดทำตลาดและเจาะกลุ่มลุกค้าในตลาดรองเหล่านี้อย่างเข้มข้น ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจากการแข่งขันทางการค้าที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงจากประเทศคู่แข่งหน้าใหม่ของไทย

 
   

ที่มา : วารสารกระแสทรรศน์

           ฉบับที่ 1913  วันที่ 31 ตุลาคม 2549

           บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

 

 
     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า

 แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน     สำหรับเจ้าหน้าที่


สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 04-Aug-2008.