Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
.

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2154   05 ต.ค.  - 07 ต.ค. 2549

 

เขตการค้าเสรีอียู-อาเซียน บททดสอบความเป็นหนึ่งเดียว ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
แทบจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความล้มเหลวในการพยายามสรุปผลการเจรจาตั้งเขตการค้าเสรีโลกรอบโดฮาขององค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งแรงกระเพื่อมไปยังทุกประเทศทั่วโลก กระตุ้นให้หลายประเทศหันหน้าจับคู่เจรจากันเองอย่างกว้างขวาง ทั้งแบบทวิภาคี ระดับประเทศต่อประเทศ ไปจนถึงระดับภูมิภาคต่อภูมิภาค

 
เช่นเดียวกับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ที่ก้าวไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมาอาเซียนมีการเจรจาไปแล้วทั้งกับจีนและเกาหลีใต้ ส่วนที่กำลังเจรจากันอยู่ได้แก่ญี่ปุ่น อินเดีย และกลุ่มเซอร์ (ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) ส่วนที่กำลังจะมีตามมาในอนาคต คือ การเปิดเจรจากับสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญอันดับหนึ่งที่ผลักดันการค้าบนเวทีโลก

 
โดยการเปิดเจรจาการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับอียูนั้น ความคืบหน้าล่าสุดคือ เพิ่งเสร็จสิ้นการศึกษาความเป็นไปได้ในขั้นต้น และทั้งสองฝ่ายมีแผนเปิดฉากการเจรจาให้ได้ในราวเดือนมีนาคม 2550 ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการและอนาคตในการจัดเจรจาการค้าเสรีอียู-อาเซียน ทางศูนย์ยุโรปศึกษา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดงานอบรมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "เขตการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปและอาเซียน" ขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

 


 
+ + ยึดกรอบอาเซียน-จีนเปิดโต๊ะคุยอียู

 
ในเรื่องท่าทีของอาเซียนต่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอียู-อาเซียน นายสุภาค โปร่งธุระ เจ้าหน้าที่การทูต 7 กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า เนื่องจากยังไม่มีการเปิดเจรจาการตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างทั้งสองฝ่าย จึงยังไม่มีกรอบเจรจาออกมาเป็นทางการ คงมีแต่การพิจารณาความเป็นไปได้จากรายงานจากกลุ่มศึกษาวิชั่น กรุ๊ป ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะที่จัดทำออกมาในเดือนพ.ค. 2549 โดยระบุความสำคัญว่า 90% ของการจัดเก็บภาษีการค้าควรดึงมาเข้ากระบวนการลดภาษีระหว่างกัน เนื้อหาที่คาดเดาได้คือ อียูน่าจะพิจารณาร่วมกับกรอบความร่วมมือด้านการค้าระหว่างอาเซียนกับอียู (TREATI) ที่มีอยู่ผสมกับกรอบด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน และที่สำคัญคือ เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนอาเซียน อาจเป็นไปได้ที่จะนำกรอบการเจรจาที่ทำไว้กับจีนมาประยุกต์คุยกับคู่เจรจา

 
ความท้าทายสำหรับอาเซียนคือ อียูพร้อมกว่าทุกประเทศในอาเซียนในทุกด้าน ดังนั้น อาเซียนต้องเตรียมตั้งรับโดยเสริมขีดความสามารถให้พร้อมสำหรับการเจรจา เพราะอียูไม่ได้เจรจาเพียงแค่อาเซียน แต่เจรจาไปทั่วโลก หากอาเซียนไม่ต้องการตกขอบก็ต้องเร่งพัฒนาตัวเองให้ทัน

 


 
+ + สร้างฉันทามติคือความท้าทายของอาเซียน

 
ขณะเดียวกัน การจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างอียูและอาเซียนย่อมมีทั้งโอกาสและอุปสรรคที่เป็นความท้าทายในอนาคตอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งน.ส. เก็จพิรุณ เกาะสุวรรณ์ นักวิชาการพาณิชย์ 8 ว กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ด้านประโยชน์นั้นจะช่วยเสริมโอกาสให้อาเซียนเข้าถึงตลาดเดียวที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ภายใต้กฎ ข้อบังคับการค้ามาตรฐานเดียว หากในอนาคตอาเซียนสามารถขยับฐานะจัดตั้งประชาคมอาเซียนเป็นตลาดเดียว จะยิ่งเพิ่มประโยชน์ในการทำการค้าร่วมกันได้มาก ทั้งยังเพิ่มโอกาสการแข่งขันทัดเทียมกับประเทศอื่น ในแง่การรับสิทธิประโยชน์ทางการค้า เมื่อเทียบกับคู่เจรจารายอื่นของอียู และยกระดับอาเซียนให้เป็นศูนย์กลางการลงทุนแข่งกับจีน หรือยุโรปตะวันออก

 
ไม่เพียงเท่านั้น ผู้บริโภคยังจะได้รับสวัสดิภาพที่ดีกว่าเดิมด้านทางเลือกสินค้าและบริการ ที่จะมีมากขึ้น ขณะที่ราคาถูกลง ส่วนภาครัฐแม้รายได้จากการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมสินค้าจะลดลงภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี แต่ราคาที่ลดลงย่อมช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคภายในตลาดให้สูงขึ้นทดแทนกัน

 
อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคที่สำคัญคือ การสร้างฉันทามติ ที่เป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ เพราะที่ผ่านมาแต่ละชาติใช้วิธีประนีประนอมหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ทำให้ได้ข้อสรุปร่วมกันยาก สร้างความยุ่งยากในการค้าขาย ดังเห็นจากการที่อาเซียนไม่สามารถคุยกับประเทศคู่ค้าแบบภูมิภาคได้ ต้องแยกคุยรายประเทศเนื่องจากไม่สามารถหาจุดร่วมในการลงลึกในรายละเอียด ดังจะเห็นได้จากกรณีการเจรจากับจีนและญี่ปุ่น

 
นอกจากนี้อาเซียนแต่ละประเทศยังมีประเด็นสินค้าอ่อนไหว โดยแต่ละชาติต่างมีประโยชน์ในสินค้าต่างชนิดกัน และมีประโยชน์ในบริการต่างชนิดกัน จึงควรหารือเพื่อจัดทำรายการสินค้ากลางที่ลดภาษีได้เหมือนกันหมด

 
ยังเป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า ในอาเซียนมีการผลิตสินค้าเหมือนๆกัน เช่น สินค้าเกษตรจำพวกผัก ผลไม้ แต่ศักยภาพการผลิตอาจไม่เท่ากัน หากตั้งเขตการค้าเสรี อาจต้องแข่งขันกันเองทั้งเพื่อแย่งตลาดและการลงทุน ดังนั้น อาจจะถึงเวลาแล้วที่อาเซียนและแม้กระทั่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียนต้องตระหนักว่าจะวางตัวเองอย่างไรบนเวทีโลก หาจุดเด่นที่ตนสามารถทำได้ดีที่สุดและมุ่งไปในทางนั้นเพื่อสร้างจุดขายที่แข็งแกร่งแทนที่จะต้องมาแข่งกันเองในทุกๆตลาด
 

 

อ่านข่าวทั้งหมด:

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 28-Feb-2008.