ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล |
| |
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2157 15 ต.ค. - 18 ต.ค.
2549 |
เศรษฐกิจมะกันแตะเบรก +เสี่ยงก่อผลสืบเนื่องในระดับโลก/แคนาดา
เม็กซิโก จีน โอกาสกระทบหนักสุด |
|
แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐส่อเค้าเข้าสู่ภาวะขาลง
สะท้อนจากสัญญาณตลาดบ้านชะลอตัว
และความเชื่อมั่นของบรรดาซีอีโอตกฮวบ นักวิเคราะห์ประเมิน
หากสถานการณ์เลวร้ายถึงขั้นตกต่ำในปีหน้า
จะส่งผลกระทบหนักต่อแคนาดา เม็กซิโก และจีน
ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญ
นักวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในอนาคตอยู่ในภาวะค่อนข้างเสี่ยง
เนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยคาดว่า
หากสหรัฐมีอัตราการขยายตัวชะลอลงในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า
จะก่อผลกระทบได้ในระดับโลก
และหากสถานการณ์เลวร้ายจนถึงขั้นตกต่ำในช่วงต้นปี 2550
จะสร้างปัญหาให้ในหลายประเทศ
โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นคู่ค้าหลักของสหรัฐ
นายแอนดริว ทิลตัน นักเศรษฐศาสตร์จากโกลแมน ซากส์
กรุ๊ปในนิวยอร์ก ระบุว่า
ปรากฏการณ์การชะลอตัวจนถึงขั้นตกต่ำซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการของตลาดในสหรัฐตกลง
ย่อมกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมทั่วโลก
ทั้งในรูปการสูญเสียด้านรายได้และการจ้างงานที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการส่งออก
โดยเฉพาะแคนาดา และเม็กซิโก
ซึ่งส่งสินค้าออกไปยังสหรัฐคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 20%
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของทั้งสองประเทศ
จะได้รับผลกระทบหนักที่สุด
รวมถึงจีนที่จะรู้สึกถึงผลกระทบบ้าง
ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ ระบุว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี
2549 สหรัฐนำเข้าสินค้าจากจีนคิดเป็นมูลค่า 127,000
ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มีการส่งออกไปยังจีนคิดเป็นมูลค่าเพียง
26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้อัตราการขาดดุลของสหรัฐ
สูงขึ้นไปกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นายทิลตัน ระบุเพิ่มเติมว่า เศรษฐกิจสหรัฐ
ซึ่งคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตชะลอตัวเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2-2.5%
ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ และต่อเนื่องไปจนถึงปี 2550
อาจส่งผลกระทบต่อญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปบ้างแต่ก็น้อย
เนื่องจากขนาดเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศที่ค่อนข้างใหญ่
และสัดส่วนของสินค้าส่งออกไปยังสหรัฐที่ค่อนข้างต่ำ
จากรายงานด้านเศรษฐกิจในเบจ บุ๊ก ของธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด
ที่ใช้อ้างอิงสำหรับการประชุมเพื่อกำหนดนโยบาย ระบุว่า
เศรษฐกิจสหรัฐโดยรวมยังมีความไม่แน่นอน
ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากการชะลอตัวอย่างกว้างขวางในตลาดอสังหาริมทรัพย์
รวมถึงตลาดรถยนต์
ส่วนอุตสาหกรรมด้านอื่นยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อไปได้
นายเบน เบอร์นานคี ประธานเฟด คาดว่า
การชะลอตัวของเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกจะไม่ส่งผลกระทบจนถึงขั้นตกต่ำ
และคาดว่าการชะลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์จะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ราว
1% และอาจต่อเนื่องไปถึงปีหน้า
ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนประเมินว่า
เศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงไปอยู่ที่ประมาณ 2% ในไตรมาส 3
เทียบกับไตรมาส 2 ซึ่งมีอัตราขยายตัวอยู่ที่ 2.6%
แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ
ยังสะท้อนผ่านความไม่มั่นใจของบรรดาผู้บริหารของบริษัทเอกชน
ซึ่งจากการสำรวจความคิดเห็นของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ)
บริษัทราว 100 ตัวอย่างที่จัดทำโดยกลุ่มวิจัย คอนเฟอเรนซ์ บอร์ด
สะท้อนว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของกลุ่มตัวอย่างตกลงไปอยู่ที่ 44
จากไตรมาส 2 ที่อยู่ที่ 50 และ 57 ในไตรมาสแรก ซึ่งอัตราที่ต่ำกว่า
50 มีค่าเท่ากับการลดความเชื่อมั่น
และถือเป็นครั้งแรกที่ความเชื่อมั่นอยู่ในมุมมองลบนับตั้งแต่หลังเหตุการณ์วินาศกรรม
11 ก.ย. 2544
"การที่ซีอีโอมีความเชื่อมั่นลดลง
เป็นสัญญาณสะท้อนการชะลอตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา
และมีโอกาสที่จะเห็นสภาพเศรษฐกิจดำเนินต่อไปเช่นนี้จนถึงช่วงแรกของปี
2550" นายลิน แฟรนโก หัวหน้าศูนย์วิจัยผู้บริโภคของกลุ่มวิจัย
กล่าว
ทั้งดัชนีความคาดหวังด้านประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมที่ตนสังกัดยังลดลงไปอยู่ที่
45 ในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 52
และมีซีอีโอเพียง 16% ที่ระบุว่า เศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ดี
ตกลงจากไตรมาสก่อนที่มีสัดส่วนถึง 27% ขณะที่ในอนาคต มีอยู่ 16%
ที่คาดว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะปรับตัวดีขึ้น ตกลงจากไตรมาส 2
ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ 21% และมีอยู่ประมาณ 20%
ที่คาดว่าจะเห็นการปรับตัวในทางที่ดีขึ้นของอุตสาหกรรมตน
เทียบกับไตรมาสก่อนซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ 31%
|
|
อ่านข่าวทั้งหมด: |
|