Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
.

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ 08 พ.ย. 2549

การค้าสินค้าอุตสาหกรรม
 
       วันนี้จะขอคุยต่อเรื่องการค้าสินค้า ซึ่งมักจะเป็นเรื่องแรกที่เราคิดถึงเกี่ยวกับ WTO และ FTA ครั้งที่แล้วคุยกันเรื่องสินค้าเกษตรไปแล้ว ทีนี้เรามาต่อกันเรื่องสินค้าอุตสาหกรรมบ้างนะครับ
 

      การเจรจาเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการลดภาษีศุลกากรสินค้านำเข้า เป็นเรื่องที่พวกเราน่าจะคุ้นเคยกันอยู่แล้ว ตั้งแต่ไทยเข้าเป็นภาคีสมาชิกของ GATT เมื่อปี 2525 เข้าร่วมการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย (ปี 2529-2537) เข้าเป็นสมาชิกก่อตั้งของ WTO ตั้งแต่ปี 2538 และเข้าร่วมการเจรจาการค้ารอบโดฮา (ปี 2544-ปัจจุบัน) นอกจากนี้ ไทยยังเป็นสมาชิกก่อตั้งของเขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA ตั้งแต่ปี 2535

       ภายใต้ WTO สมาชิกแต่ละประเทศผูกพันที่จะไม่เก็บภาษีศุลกากรสูงไปกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในตารางข้อผูกพันของตน (bound rates) โดยในกรณีของประเทศพัฒนาแล้วอัตราที่ผูกพันมักจะเท่ากับอัตราที่เก็บจริง (applied rates) แต่ประเทศกำลังพัฒนามักจะผูกพันไว้สูงกว่าอัตราที่เก็บจริง (ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถขึ้นอัตราศุลกากรได้จากอัตราที่เก็บจริงตราบเท่าที่ไม่เก็บสูงไปกว่าอัตราที่ผูกพัน) และส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้ผูกพันสินค้าทุกรายการ ทั้งนี้ ในการเจรจาการค้ารอบโดฮาเรื่องการเปิดตลาดสินค้าที่ไม่ใช่เกษตร (Non-Agricultural Market Access หรือ NAMA) ไทยผลักดันอย่างเต็มที่ทั้งเรื่องสูตรการลดภาษี การเจรจารายสาขาที่ไทยมีศักยภาพ (อาทิ อัญมณี/เครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าประมง) และขอให้ประเทศกำลังพัฒนาผูกพันสินค้าทุกรายการ เพื่อให้สมาชิกเปิดตลาดเพิ่มขึ้นและมีผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง ไทยจะสามารถขายสินค้าในตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น
 

        แต่อย่างที่คุยกันครั้งที่แล้วนะครับว่า การเจรจารอบโดฮาคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะสรุปผลกันได้ ดังนั้น FTA จึงอาจเป็นทางเลือกเชิงรุกของไทยที่เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้แต้มต่อจากสิทธิประโยชน์ทางการค้าก่อนหรือมากกว่าคนอื่น หากเรามีความพร้อมและเจรจาอย่างเข้าใจ

          FTA กำหนดกรอบเวลาที่จะเร่งลดอัตราภาษีสินค้านำเข้าให้เหลือร้อยละ 0 ซึ่งเป็นการเปิดตลาดที่มากกว่าอัตราที่ผูกพันภายใต้ WTO ทั้งนี้ หากไทยเจรจากับประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่จะมีอัตราศุลกากรโดยเฉลี่ยต่ำอยู่แล้ว เพราะผ่านการเจรจาภายใต้ GATT มาแล้วหลายรอบ แต่ยังคงมีสินค้าบางรายการที่ยังปกป้องและเก็บภาษีศุลกากรในอัตราที่สูง (tariff peaks/high tariffs) เช่น สิ่งทอ รองเท้า อาหารทะเลกระป๋อง เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสินค้าที่ไทยมีความสามารถในการแข่งขัน ไทยก็จะมุ่งให้เขาลดภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าดังกล่าว แต่หากไทยเจรจากับประเทศกำลังพัฒนา ส่วนใหญ่ยังมีอัตราศุลกากรสูงอยู่ ซึ่งนอกจากเราจะมุ่งลดภาษีศุลกากรดังกล่าว FTA ยังช่วยแก้ไขปัญหาอัตราศุลกากรแบบขั้นบันได และทำให้ประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องผูกพันสินค้าส่วนใหญ่ (ยังจำหลักการที่ว่า FTA ต้องครอบคลุม "substantially all the trade" ภายใต้ GATT ข้อ XXIV ได้นะครับ)

        FTA ยังอาจช่วยเอกชนไทยที่ประสบปัญหาเรื่องอุปสรรคหรือมาตรการการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เช่น มาตรฐานหรือข้อกำหนดทางเทคนิค โดยคู่ภาคีของ FTA สามารถยอมรับความเท่าเทียมกัน (Equivalence) หรือยอมรับมาตรฐานร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangement หรือ MRA) ซึ่งอาจรวมถึงการยอมรับผลการทดสอบหรือผลการประเมินความสอดคล้อง (Conformity Assessment) ของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น กรณีผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายใต้ JTEPA ฝ่ายญี่ปุ่นยอมรับว่าสินค้าที่ผ่านการทดสอบในไทยแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทำอีกครั้งที่ญี่ปุ่น หากห้อง lab ของไทยได้รับการรับรองจากหน่วยงานของญี่ปุ่นว่ามีขีดความสามารถในการทดสอบสินค้าตามมาตรฐานที่กำหนด

       ประเด็นสุดท้ายที่ผมเห็นว่าทุกฝ่ายน่าจะศึกษาและให้ความสำคัญ คือเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า เพราะสินค้าของท่านจะได้สิทธิประโยชน์ตาม FTA จำเป็นต้องพิสูจน์ได้ว่ามีแหล่งกำเนิดในประเทศ (มีส่วนประกอบภายในประเทศที่สูงพอหรือผ่านกระบวนการผลิตภายในประเทศที่มากพอจนสินค้าเปลี่ยนหมวดพิกัดศุลกากรมาเป็นสินค้าของประเทศเราได้ ซึ่งขึ้นกับการตกลงกัน

 

 

 

อ่านข่าวทั้งหมด:

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 28-Feb-2008.