Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
.

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ 08 พ.ย. 2549

การค้าสินค้าเกษตร
 
วันนี้ ผมจะมาคุยกับพวกเราเรื่องการค้าสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าที่ไทยมีความสามารถในการผลิตและส่งออก และเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของระบบเศรษฐกิจไทยมาโดยตลอดนะครับ

 
การค้าสินค้าเกษตรเป็นเรื่องอ่อนไหวสำหรับทุกประเทศรัฐบาลของแต่ละประเทศมักจะปกป้องภาคเกษตรหรือให้การอุดหนุนเกษตรกรของตน ผลที่เกิดขึ้นตามมาคือความบิดเบือนทางการค้าสินค้า ทำให้ราคาและ/หรือปริมาณการผลิตสูงหรือต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เช่นการอุดหนุนภายในประเทศส่งผลให้ราคาสินค้าในประเทศแพงขึ้น กระตุ้นให้การผลิตในประเทศเพิ่มมากขึ้น ส่วนที่เหลือจากการบริโภคมักจะระบายสู่ตลาดโลกในราคาที่ต่ำเกินจริง ทั้งหมดนี้ล้วนแต่ไม่เป็นธรรมกับประเทศผู้ผลิตที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา

 
การเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย (ปี 2529-2537) เป็นครั้งแรกที่สมาชิก GATT เจรจาเรื่องการค้าสินค้าเกษตรเป็นการเฉพาะในระดับพหุภาคี ส่งผลเป็น "ความตกลงเกษตร" อันเป็นส่วนหนึ่งของความตกลง WTO มีวัตถุประสงค์ที่จะปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรของโลกให้เสรีและเป็นธรรมมากขึ้นในระยะยาว โดยระบุพันธกรณี/กฎเกณฑ์การค้าสินค้าเกษตร และกำหนดให้สมาชิกมีข้อผูกพันในประเด็นสำคัญ 3 ประการ ได้แก่เรื่องการเปิดตลาด (การลดอากรและเปลี่ยนโควตาให้เป็นอากร/โควตาภาษี) การลดการอุดหนุนเพื่อการส่งออกทุกรูปแบบ และการลดการสนับสนุนภายในประเทศที่มีผลบิดเบือนการค้า ทั้งนี้ประเทศพัฒนาแล้วผูกพันลดอากรและการอุดหนุนในอัตราที่สูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา และประเทศพัฒนาน้อยที่สุดยังไม่จำเป็นต้องผูกพันก็ได้

 
การเจรจาการค้ารอบโดฮาของ WTO เรื่องการค้าสินค้าเกษตรได้สานต่อความพยายามที่จะปฏิรูปการค้าเกษตรของโลก โดยมีเป้าหมายมุ่งให้สมาชิกผูกพันการเปิดเสรีเพิ่มมากขึ้นในทั้งสามประเด็นข้างต้น ทั้งนี้ ให้การประติบัติที่พิเศษและแตกต่างต่อประเทศกำลังพัฒนา (S&D) และคำนึงถึงข้อห่วงกังวลที่ไม่เกี่ยวกับการค้าด้วย แต่ล่าสุดสมาชิกได้ระงับการเจรจารอบโดฮาไปอย่างไม่มีกำหนด เพราะสมาชิก 149 ประเทศยังมีท่าทีแตกต่างกันมากเรื่องการค้าสินค้าเกษตรจนไม่สามารถตกลงกันได้แม้แต่ในเรื่องกรอบ/รูปแบบการเปิดเสรีหรือ "modalities" (พูดง่ายๆ คือจะลดอากร/การอุดหนุนมาก-น้อยแค่ไหน อย่างไร และเมื่อไร) ทั้งนี้ ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ต้องการให้สหภาพยุโรปเปิดตลาดมากขึ้น และต้องการให้สหรัฐฯ ลดการสนับสนุนภายในมากขึ้น

 
ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วก็อ้างว่าจะยอมได้ก็ต่อเมื่อประเทศกำลังพัฒนาต้องเปิดตลาดสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยสหรัฐฯ อ้างผลการศึกษาของ World Bank ที่ว่าผลประโยชน์จากการเปิดเสรีมากกว่าร้อยละ 90 จะมาจากการเปิดตลาด

ผมประเมินสถานการณ์ คาดว่าคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าสมาชิก WTO จะตกลงกันได้และมีผลในทางปฏิบัติ ซึ่งอาจทำให้ประเทศอย่างไทยที่มีความสามารถในการแข่งขันพลาดโอกาสที่จะขยายตลาดเกษตร ไม่ว่าจะเป็นตลาดประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศกำลังพัฒนาก็ตาม

 
FTA จึงเป็นทางเลือกเชิงรุกประการหนึ่งที่ไทยสามารถแสวงประโยชน์ได้ก่อน ผลักดันให้ประเทศคู่เจรจาเปิดตลาดสินค้าส่งออกของไทยให้เร็วกว่าหรือมากกว่าที่ผูกพันหรือจะผูกพันภายใต้ WTO โดยการลดหรือขจัดอากรนำเข้าให้เหลือร้อยละ 0 รวมทั้งหาทางขจัดอุปสรรคหรือมาตรการการค้าที่ไม่ใช่ภาษีอย่างได้ผลมากขึ้น ผมเห็นว่าเวลา 3-5 ปีที่ไทยจะได้สิทธิประโยชน์ทางการค้าก่อนหรือมากกว่าคนอื่นภายใต้ FTA น่าจะเป็นโอกาสที่จะช่วยยกระดับการพัฒนาประเทศได้ แต่เป็นที่เข้าใจว่าไทยจะได้ประโยชน์จาก FTA แต่ละฉบับมาก-น้อยแค่ไหนต้องดูภาพรวมทั้งฉบับด้วยนะครับ ส่วนเรื่องการสนับสนุนภายในประเทศและการอุดหนุนเพื่อการส่งออก ไทยก็คงต้องผลักดันต่อไปในระดับพหุภาคี เพราะประเทศพัฒนาแล้วจะลดการอุดหนุนได้คงต่อรอง/ตกลงผลประโยชน์กันเองก่อนระหว่างขาใหญ่ต่างๆ ใน WTO และคงยากที่จะมีผลในทางปฏิบัติในระดับทวิภาคีนะครับ

 
วันนี้ ผมจะมาคุยกับพวกเราเรื่องการค้าสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าที่ไทยมีความสามารถในการผลิตและส่งออก และเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของระบบเศรษฐกิจไทยมาโดยตลอดนะครับ

 
การค้าสินค้าเกษตรเป็นเรื่องอ่อนไหวสำหรับทุกประเทศรัฐบาลของแต่ละประเทศมักจะปกป้องภาคเกษตรหรือให้การอุดหนุนเกษตรกรของตน ผลที่เกิดขึ้นตามมาคือความบิดเบือนทางการค้าสินค้า ทำให้ราคาและ/หรือปริมาณการผลิตสูงหรือต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เช่นการอุดหนุนภายในประเทศส่งผลให้ราคาสินค้าในประเทศแพงขึ้น กระตุ้นให้การผลิตในประเทศเพิ่มมากขึ้น ส่วนที่เหลือจากการบริโภคมักจะระบายสู่ตลาดโลกในราคาที่ต่ำเกินจริง ทั้งหมดนี้ล้วนแต่ไม่เป็นธรรมกับประเทศผู้ผลิตที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา

 
การเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย (ปี 2529-2537) เป็นครั้งแรกที่สมาชิก GATT เจรจาเรื่องการค้าสินค้าเกษตรเป็นการเฉพาะในระดับพหุภาคี ส่งผลเป็น "ความตกลงเกษตร" อันเป็นส่วนหนึ่งของความตกลง WTO มีวัตถุประสงค์ที่จะปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรของโลกให้เสรีและเป็นธรรมมากขึ้นในระยะยาว โดยระบุพันธกรณี/กฎเกณฑ์การค้าสินค้าเกษตร และกำหนดให้สมาชิกมีข้อผูกพันในประเด็นสำคัญ 3 ประการ ได้แก่เรื่องการเปิดตลาด (การลดอากรและเปลี่ยนโควตาให้เป็นอากร/โควตาภาษี) การลดการอุดหนุนเพื่อการส่งออกทุกรูปแบบ และการลดการสนับสนุนภายในประเทศที่มีผลบิดเบือนการค้า ทั้งนี้ประเทศพัฒนาแล้วผูกพันลดอากรและการอุดหนุนในอัตราที่สูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา และประเทศพัฒนาน้อยที่สุดยังไม่จำเป็นต้องผูกพันก็ได้

 
การเจรจาการค้ารอบโดฮาของ WTO เรื่องการค้าสินค้าเกษตรได้สานต่อความพยายามที่จะปฏิรูปการค้าเกษตรของโลก โดยมีเป้าหมายมุ่งให้สมาชิกผูกพันการเปิดเสรีเพิ่มมากขึ้นในทั้งสามประเด็นข้างต้น ทั้งนี้ ให้การประติบัติที่พิเศษและแตกต่างต่อประเทศกำลังพัฒนา (S&D) และคำนึงถึงข้อห่วงกังวลที่ไม่เกี่ยวกับการค้าด้วย แต่ล่าสุดสมาชิกได้ระงับการเจรจารอบโดฮาไปอย่างไม่มีกำหนด เพราะสมาชิก 149 ประเทศยังมีท่าทีแตกต่างกันมากเรื่องการค้าสินค้าเกษตรจนไม่สามารถตกลงกันได้แม้แต่ในเรื่องกรอบ/รูปแบบการเปิดเสรีหรือ "modalities" (พูดง่ายๆ คือจะลดอากร/การอุดหนุนมาก-น้อยแค่ไหน อย่างไร และเมื่อไร) ทั้งนี้ ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ต้องการให้สหภาพยุโรปเปิดตลาดมากขึ้น และต้องการให้สหรัฐฯ ลดการสนับสนุนภายในมากขึ้น

 
ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วก็อ้างว่าจะยอมได้ก็ต่อเมื่อประเทศกำลังพัฒนาต้องเปิดตลาดสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยสหรัฐฯ อ้างผลการศึกษาของ World Bank ที่ว่าผลประโยชน์จากการเปิดเสรีมากกว่าร้อยละ 90 จะมาจากการเปิดตลาด

 
ผมประเมินสถานการณ์ คาดว่าคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าสมาชิก WTO จะตกลงกันได้และมีผลในทางปฏิบัติ ซึ่งอาจทำให้ประเทศอย่างไทยที่มีความสามารถในการแข่งขันพลาดโอกาสที่จะขยายตลาดเกษตร ไม่ว่าจะเป็นตลาดประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศกำลังพัฒนาก็ตาม

 
FTA จึงเป็นทางเลือกเชิงรุกประการหนึ่งที่ไทยสามารถแสวงประโยชน์ได้ก่อน ผลักดันให้ประเทศคู่เจรจาเปิดตลาดสินค้าส่งออกของไทยให้เร็วกว่าหรือมากกว่าที่ผูกพันหรือจะผูกพันภายใต้ WTO โดยการลดหรือขจัดอากรนำเข้าให้เหลือร้อยละ 0 รวมทั้งหาทางขจัดอุปสรรคหรือมาตรการการค้าที่ไม่ใช่ภาษีอย่างได้ผลมากขึ้น ผมเห็นว่าเวลา 3-5 ปีที่ไทยจะได้สิทธิประโยชน์ทางการค้าก่อนหรือมากกว่าคนอื่นภายใต้ FTA น่าจะเป็นโอกาสที่จะช่วยยกระดับการพัฒนาประเทศได้ แต่เป็นที่เข้าใจว่าไทยจะได้ประโยชน์จาก FTA แต่ละฉบับมาก-น้อยแค่ไหนต้องดูภาพรวมทั้งฉบับด้วยนะครับ ส่วนเรื่องการสนับสนุนภายในประเทศและการอุดหนุนเพื่อการส่งออก ไทยก็คงต้องผลักดันต่อไปในระดับพหุภาคี เพราะประเทศพัฒนาแล้วจะลดการอุดหนุนได้คงต่อรอง/ตกลงผลประโยชน์กันเองก่อนระหว่างขาใหญ่ต่างๆ ใน WTO และคงยากที่จะมีผลในทางปฏิบัติในระดับทวิภาคีนะครับ

 

อ่านข่าวทั้งหมด:

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 28-Feb-2008.