Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
.

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ 06 พ.ย. 2549

เศรษฐกิจปี50ไปโลด +ธปท.-คลัง-สภาพัฒน์ประสานเสียง คาดจีดีพีโต 5%/'อุ๋ย'ดัน

เอกชนเป็นพระเอกกระตุ้นศก.

 
ดัชนีความเชื่อมันไทยฟื้นต่างประเทศ-เอกชนไทย ปรับมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยหลังปฏิรูปการเมือง ฟันธงปี 2550 ไปโลด "อุ๋ย-โฆสิต" ดันภาคเอกชนเป็นเฟืองจักรหลักกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่สัญญาณภาคส่งออกปีหน้ามีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง ลุ้นหลังแถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภานิติบัญญัตินักธุรกิจเตรียมปรับแผนการลงทุน ขณะที่แบงก์ชาติ-คลัง-สภาพัฒน์ฯประสานเสียงปรับขึ้นประมาณการจีดีพีโตถึง 5 %
 

หลังการปฏิรูปการเมืองภายใต้การเข้ามาบริหารประเทศของรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งได้แถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติไปแล้ว เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลจะชูเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางหลักในการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจ แต่จากการประมวลตัวเลขประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย (จีดีพี) ปี 2550 น่าจะขยายตัวได้ที่ 5.00 % ด้วยองค์ประกอบ 4-5 ปัจจัยหลัก คือ 1. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ดีขึ้น 2. แนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง 3. ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลง 4. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลง และ 5. งบประมาณปี 2550 ที่นำมาใช้ได้เร็วขึ้นกว่าเดิม โดยจัดงบประมาณขาดดุล 1 แสนล้านบาท

 

****แบงก์ชาติ –คลัง –สภาพัฒน์ฯมองศก.ดีขึ้น
 
เมื่อเร็วๆนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี 2550 จากประมาณการเดิม 4.00-5.30 % เป็น 4.50-5.50 %

ดร.ธาริษา วัฒนเกส รักษาการผู้ว่าการธปท. ปาฐกถาพิเศษ "มองเศรษฐกิจไทยปี 2550" เมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมาว่า ในปี 2550 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ในระดับ 4.50-5.50 % ซึ่งเป็นแรงส่งต่อเนื่องให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงปี 2550 อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อทั้งเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงอย่างเห็นได้ชัด
 
อย่างไรก็ตาม ภายใต้ประมาณการเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น ยังมีประเด็นความเสี่ยงที่ธปท.ให้ความสำคัญและติดตามใกล้ชิดใน 3 ด้าน คือ ราคาน้ำมันโลก ความชัดเจนของการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ และการปรับตัวของความเชื่อมั่นของนักลงทุนไทย
 
"ประเด็นสำคัญที่เป็นหัวใจของการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในระยะต่อไป อยู่ที่การขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งขึ้นกับความชัดเจนของโครงการลงทุนพื้นฐานขนาดใหญ่ภาครัฐ รวมทั้งขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของนักลงทุนไทยและต่างชาติ โดยในช่วงที่ผ่านมา ภาคเอนไทยเริ่มมีความเชื่อมั่นดีขึ้น เห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจ"
 
สอดรับกับม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่กล่าวในการสัมมนา "กลยุทธ์บริษัทจดทะเบียนยุครัฐบาลปรับเปลี่ยน"ในวันเดียวกันว่า การบริหารงานด้านนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้จะยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งนักลงทุนภายในประเทศมีความเข้าใจแล้ว แต่ยังคงต้องชี้แจงให้นักลงทุนต่างประเทศเข้าใจให้มากขึ้นด้วย และยืนยันว่าการทำงานของรัฐบาลชุดนี้จะไม่มีการเข้าไปแทรกแซงหรือออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเฉพาะด้านอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่ควรทำคือ การดูแลให้มีการฟื้นฟูทรัพยากรเพียงพอกับอัตราการใช้ และอัตราการเติบโตของประเทศที่ต้องการ เช่น ถ้าจะให้จีดีพีโตถึง 8% ทุกปี มันไม่ทันกัน เอาแค่ 5% ถ้าทำได้ก็โอเค

"ระบบเศรษฐกิจเสรีต้องเป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้ภาคเอกชนมีบทบาทนำ ไม่มีประโยชน์ที่รัฐบาลจะมีบทบาทนำ" รองนายกฯและรมว.คลังกล่าว
 
ขณะที่ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวให้ความเห็นถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2550 ว่ามีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยเสี่ยง โดยปัจจัยบวก คือ ราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยและความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ผ่อนคลายลง ซึ่งจะมีผลให้การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนขับเคลื่อนไปได้ แต่ก็ยังไม่สามารถวางใจได้เพราะมีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 3 และจะมีผลกระทบต่อภาคการส่งออก รวมทั้งค่าเงินบาทและเงินหยวนที่แข็งค่าขึ้น สศช.จึงยังยืนประมาณการจีดีพีในปี 2550 ไว้ที่ 4.00-5.00 %ตามเดิมไว้ก่อน
 
เลขาฯสศช. กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติซึ่งมีความชัดเจนว่ารัฐบาลจะจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนอย่างไร โดยเฉพาะการดูแลเศรษฐกิจรากแก้วซึ่งเป็นเศรษฐกิจพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ เอสเอ็มอี และการดูแลภาคสังคม ก็น่าจะทำให้ความเชื่อมั่นและภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2550 ดีขึ้นหากปัจจัยภายนอกเช่น เศรษฐกิจสหรัฐ ฯ และราคาน้ำมันไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากกว่านี้
 
"หากมองเศรษฐกิจในปีหน้า จะเห็นว่าปัจจัยลบที่เคยมีในปีนี้คลายตัวดีขึ้น แต่ก็ไม่แน่ใจปัจจัยภายนอก สศช. จึงยังคงประมาณการไว้ที่ 4.00-5.00 %"
 
****ต่างชาติปรับมุมมองต่อศก.ไทย
 
จากที่ "ฐานเศรษฐกิจ" ประมวลข้อมูลการทบทวนการจัดอันดับเครดิตของประเทศไทยในมุมมองของต่างประเทศนั้น บริษัท Standard & Poor’s หรือ S&P’s ได้ยกเลิกมุมมองระดับเครดิตของประเทศที่มีการเฝ้าระวังระดับเครดิตที่เป็นลบออก (CreditWatch with Negative Implications) โดยมีแนวโน้มระดับเครดิตที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดยระบุถึงการยืนยันระดับเครดิตของประเทศไทยในครั้งนี้ แสดงถึงมุมมองของ S&P’s ที่ยังเห็นว่าสถานะของเครดิตไทยยังคงมีความแข็งแกร่ง แม้ว่าจะผ่านการรัฐประหารก็ตาม
 
นอกจากนี้ ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทยยังคงมีความแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับประเทศที่ได้รับการจัดอันดับในระดับเดียวกัน โดยจะไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในระยะสั้นถึงระยะปานกลาง S&P’s คาดว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยใน 3 ปีข้างหน้าจะยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยที่ประมาณร้อยละ 5 ต่อปี โดยคาดหมายว่าประเทศไทยจะสามารถกลับคืนเข้าสู่ระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพได้ภายในปี 2550 รวมถึงการที่สามารถจัดให้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมาบริหารประเทศได้ ซึ่งมีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศในระยะยาว และเป็นเงื่อนไขที่สำคัญต่อการลงทุนของภาคเอกชนและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
 
S&P’s อาจปรับมุมมองของระดับเครดิตที่เป็นบวก หากรัฐบาลชุดใหม่สามารถดำเนินมาตรการที่ส่งเสริมการปรับโครงสร้างเพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ในทางตรงกันข้าม หากมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นในระหว่าง หรือภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น ก็อาจส่งผลกระทบต่อระดับเครดิตของไทยได้เช่นกัน
 
****เอกชนคาดจีดีพีปี50ดีกว่าปี49
 
ก่อนหน้านี้ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้ปรับประมาณการจีดีพีปี 2550 จาก 3.50-4.50 % เป็น 4.00-5.00 % บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) ปรับจาก 4.00 % เป็น 4.40 % ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เตรียมปรับประมาณการจีดีพีจากที่ประมาณการไว้ที่ 3.00-4.00 % ซึ่งคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.00-5.00 %
 
นายประสาร ไตรรัตน์ วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2550 ยังเติบโตได้ต่อเนื่องจากปี 2549 โดยน่าจะเติบโตได้ที่ 4-4.5 % จากปัจจัยราคาน้ำมันที่ชะลอตัวลงทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก ส่งผลดีต่อการอุปโภคบริโภคในประเทศ นอกจากนี้ในส่วนของภาครัฐยังมีความชัดเจนขึ้นในเรื่องของการเบิกจ่ายงบประมาณ ซึ่งจะช่วยชดเชยภาคการส่งออกที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงอยู่ที่ 12-15 %
 
"สิ่งที่ต้องระวัง คือ ปัจจัยทางการเมืองซึ่งเกี่ยวข้องกับการลงทุนระยะยาว โดยเฉพาะหลังหนึ่งปีไปแล้ว จุดอ่อนไหวทั้งกติกาทางการเมือง ปัจจัยภายใต้ที่มีลักษณะว่าจะปะทุขึ้นได้ " ดร.ประสารกล่าว
 
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ให้ความเห็นว่า ขณะนี้ทางส.อ.ท. อยู่ระหว่างพิจารณาตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีหน้าว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งคาดว่าจะเติบโตอยู่ที่ 4.00-4.50 % เนื่องจากจะมีงบประมาณจากภาครัฐออกมาใช้สอย และในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าโครงการเมกะโปรเจ็กต์จะสามารถเดินหน้าได้ ซึ่งไม่เหมือนกับปีนี้ที่เศรษฐกิจตก เพราะไม่มีรัฐบาลเข้ามาบริหารงาน
 
แต่ประเด็นที่ยังเป็นห่วงคือค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก ซึ่งขณะนี้สมาชิกของส.อ.ท.มีเสียงสะท้อนออกกันมามากว่าอยากให้รัฐบาลเข้าไปดูแล และอีกปัญหาหนึ่งคือผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม ที่ส่งผลให้พืชผักมีราคาสูงขึ้นทำให้กระทบต่อผู้บริโภค รวมถึงอุตสาหกรรมต่างๆ ทีได้รับผลกระทบด้วย
 
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า สำหรับปัจจัยราคาน้ำมันที่จะมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจนั้น มองว่าหลังจากนี้ไปจนถึงปีหน้าราคาน้ำมันจะเริ่มทรงตัว เนื่องจากยังมองไม่เห็นปัจจัยใดที่จะทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นได้ในเวลานี้ ซึ่งจะส่งดีที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำมันเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้อยาก เพราะหากมีเหตุการณ์อะไรขึ้นมา ก็จะส่งผลต่อราคาน้ำมันทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด
 
ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าศูนย์พยากรณ์ฯได้คาดการณ์เศรษฐกิจปีหน้ามีโอกาสขยายตัว 4.7% จากปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัว 4.5% ปัจจัยบวกที่จะทำให้เศรษฐกิจโต คือ ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มใกล้เคียงปี 2549 โดยทรงตัวที่ระดับ 58-63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ราคาน้ำมันในประเทศอยู่ที่ 24-27 บาท/ลิตร ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตที่สูงแต่ผู้บริโภคปรับตัวรับมือไหว ขณะที่อัตราดอกเบี้ยโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลงประมาณ 0.5-0.75 ทำให้ดอกเบี้ยในประเทศมีโอกาสลดลง 0.25-0.50% นอกจากนี้การกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน นักท่องเที่ยว จะเป็นปัจจัยดันเศรษฐกิจปีหน้าให้เติบโต
 
"เศรษฐกิจปีหน้าจะเติบโตจากการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นด้านการลงทุนและการท่องเที่ยว ส่วนด้านการส่งออกยังคงมีการเติบโต แต่เป็นการเติบโตในอัตราที่ลดลง เนื่องจากฐานตัวเลขส่งออกสูง โดยคาดว่าจะขยายตัว 10% มูลค่า 141,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2549 ที่ขยายตัว 15.8% มูลค่า 128,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดีหากเฉลี่ยมูลค่าส่งออกต่อเดือนปี 2550 จะอยู่ที่เดือนละ 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ปี 2549 เฉลี่ยเดือนละ 10,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปริมาณการส่งออกต่อเดือนที่เพิ่มขึ้นจะช่วยสร้างงานเพิ่มรายได้ให้กับคนในประเทศ "การส่งออกยังเติบโตแต่จะไม่ใช่พระเอกของจีดีพีเหมือนปีที่ผ่านมา" ดร.ธนวรรธน์กล่าว
 
****ดอกเบี้ยลดช่วยการลงทุน-บริโภค
 
ปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2550 ที่มีผลดีตั้งแต่ระดับประชาชนจนถึงเศรษฐกิจมหภาค คือ แนวโน้มการปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลและความเห็นของนักวิชาการและนักการเงินส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกันว่าในปี 2550 นั้น คณะกรรมการนโยบายการเงินมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์/พี 14 วัน) ลงประมาณ 0.50%-1 % โดยจะมีผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ปรับลดตามไปด้วย ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะมีผลถึงการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนในประเทศ
 
มีความเห็นจากนายธนาคารที่สอดรับกับประเด็นดังกล่าว โดยนายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า "อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่สูงขึ้นพอสมควรแล้ว คาดว่าจะเริ่มลดลงภายในต้นปี 2550 แต่คงไม่ลดลงเร็วมากนัก ทำให้สถาบันการเงินมีโอกาสใช้กลไกดังกล่าวในการดำเนินธุรกิจ "
 
เช่นเดียวกับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ที่ให้ความเห็นว่า "ปีหน้าจะเริ่มเห็นเฟดเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายประมาณตั้งแต่ต้นปีถึงกลางปี โดยเชื่อว่าดอกเบี้ยจะลดลงประมาณ 1 % หลังจากนั้นเมื่อเศรษฐกิจกระเตื้อง อัตราดอกเบี้ยก็จะปรับเพิ่มขึ้นประมาณกลางปี 2552 " สอดคล้องกับบทวิเคราะห์ของดีบีเอสกรุ๊ปที่เชื่อว่ากนง.จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในปี 2550 โดยภายในกลางปี 2550 อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะยืนอยู่ที่ระดับ 4.50 % จากปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ระดับ 5.00%

 

อ่านข่าวทั้งหมด:

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 28-Feb-2008.