จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2153 01
ต.ค. - 04 ต.ค. 2549..
รัฐคลอดแผนพลังงานหมนุเวียน
ตั้งเป้าผลิตไฟ1,673MWในปี54
กระทรวงพลังงาน คลอดแผนพลังงานทดแทนด้านไฟฟ้า
ต้องจัดหาเพิ่มอีก 1,673 เมกะวัตต์ เพื่อให้เป็นไปตามเป้า 6 %
ภายในปี 2554 พุ่งเป้าผลิตจากชีวมวลมากสุดถึง 1,000 เมกะวัตต์
โดยใช้มาตรการราคารับซื้อที่จูงใจเป็นตัวล่อให้เกิดการลงทุน
ยันส่งผลกระทบต่อค่าเอฟทีไม่เกิน 4 สตางค์ต่อหน่วย
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน
เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า
ขณะนี้ทางกระทรวงพลังงานได้กำหนดยุทธศาสตร์พลังงานทดแทนของประเทศ
ในส่วนของการผลิตไฟฟ้าแล้ว
โดยกำหนดเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ได้ 6 %
ของการผลิตไฟฟ้ารวมของประเทศให้ได้ในปี 2554
หรือคิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้ง 3,238 เมกะวัตต์(MW)
โดยในจำนวนนี้เป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
1,673 เมกะวัตต์ และอีก 1,566 เมกะวัตต์
จะเป็นการผลิตไฟฟ้าที่มาจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)
จำนวน 140 เมกะวัตต์
ตามนโยบายอาร์พีเอสที่มีการนำมาใช้เฉพาะโรงไฟฟ้า 4 แห่ง ของกฟผ.ที่จะต้องผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนวียนร้อย
5 % จากำลังการผลิต 2,800 เมกะวัตต์
และเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
จำนวน 50 เมกะวัตต์ จากพลังงานลม 35 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าขยะ
80 เมกะวัตต์ จากพลังงานน้ำ 260 เมกะวัตต์
จากโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้เศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาเป็นเชื้อเพลิงอีก
1,000 เมกะวัตต์
สำหรับการดำเนินงานให้ได้มาซึ่งจำนวนเมกะวัตต์ที่กำหนดไว้นั้น
ทางกระทรวงพลังงานจะกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าที่จูงใจของแต่ละเทคโนโลยีขึ้นมา
ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทบทวนตัวเลขอยู่ว่าจะรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแต่ละชนิดในอัตราที่เท่าใด
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อค่าเอฟทีมากเกินไป
ซึ่งคาดว่าจะออกมาในอีกไม่ช้านี้
หากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่และมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)
ในครั้งต่อไปจะมีการเสนอราคารับซื้อไฟฟ้าได้
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า
ทั้งนี้ หากราคารับซื้อไฟฟ้าประกาศออกมาใช้ได้เมื่อใด
ทางผู้ประกอบการที่มีความพร้อมก็สามารถไปเจรจาการซื้อขายไฟฟ้ากับกฟผ.ได้ทันที่
โดยไม่จำเป็นต้องมาให้ทางกระทรวงพลังงานพิจารณา
ซึ่งการประกาศรับซื้อไฟฟ้านี้ จะดำเนินในลักษณะ 2 ปีครั้ง
เพื่อที่จะนำมาทบทวนการดำเนินงาน
หากประกาศไปแล้วอัตราราคาไม่จูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุน
ก็จำเป็นต้องนำมาทบทวนกันใหม่
หรือหากมีการเสนอผลิตไฟฟ้าเข้ามามากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
จุหยุดการรับซื้อ จะเป็นในลักษณะใครมาก่อนได้สร้างก่อน
แต่บ้างเทคโนโลยีไม่มีผู้สนใจเข้ามา อย่างเช่น พลังงานลม
ที่ไม่แน่นใจว่าจะได้ตามเป้าที่กำหนดหรือไม่
ก็จะต้องมาทบทวนกันใหม่ว่ามีปัญหาอุปสรรคอะไร
ส่วนผลตอบแทนราคารับซื้อไฟฟ้าคาดว่าจะอยู่ประมาณ
11-15 % แล้วแต่เทคโนโลยีของพลังงานชนิดนั้นๆ
โดยราคารับซื้อไฟฟ้านั้น
จะมีการบวกต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย
เนื่องจากเป็นโรงไฟฟ้าที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมเหมือนกับโรงไฟฟ้าที่ใช้ฟอสซิสเป็นเชื้อเพลิง
อย่างเช่น ค่าไฟฟ้าที่รับซื้อทั่วไปอยู่ในราคา 2.80
บาทต่อหน่วย แต่เมื่อบวกต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วยแล้ว
60 สตางค์ต่อหน่วย กฟผ.จะรับซื้อในราคา 3.40
บาทต่อหน่วยเป็นต้น
ซึ่งประมาณการณ์ว่าจะส่งผลกระทบต่อราคาค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นไม่เกิน
2-4 สตางค์ต่อหน่วย ถือว่าไม่มาก
เพราะเป็นการสนับสนุนในระยะสั้น
อ่านข่าวทั้งหมด: |