ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล |
| |
|
อียูส่อเมินเพิ่มโควต้านำเข้าทูน่า อ้างไทยส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง |
|
|
นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
เปิดเผยถึงกรณีสหภาพยุโรป (อียู)
อยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนการให้โควต้าชดเชยสินค้าทูน่ากระป๋องกับไทย
ซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 1 มกราคม ปี 2551 ว่า
ได้มีการเจรจาเพื่อขอชดเชยโควต้าไปแล้ว 2 รอบ
โดยฝ่ายไทยต้องการให้อียูเพิ่มโควต้านำเข้าปลาทูน่ากระป๋อง
แต่อียูมีท่าทีค่อนข้างเพิกเฉยเนื่องจากสถิติการส่งออกทูน่ากระป๋องของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีอยู่แล้ว
ขณะที่สถิติการส่งออกของประเทศ ACP (African Caribbean Pacific) และ ANDEAN
เข้าไปยังอียูมีปริมาณลดลง
"คงเป็นไปได้ยากที่ไทยจะได้โควต้าชดเชยเพิ่มจากอียู
เพราะสถิติการส่งออกสินค้าทูน่ากระป๋องที่ผ่านมาของไทยไปตลาดอียูมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี
ทำให้มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น
อียูจึงไม่เห็นว่าไทยจะได้รับผลกระทบจากกรณีที่อียูให้สิทธิพิเศษลดภาษีสินค้าปลาทูน่ากระป๋องให้กับทางประเทศกลุ่ม
ACP และต้องชดเชยให้ไทยตามที่ขอในการทบทวนโควต้ารอบใหม่" นางสาวชุติมากล่าว
อย่างไรก็ตาม
ทางกรมก็ได้เตรียมความพร้อมกรณีที่อียูไม่ให้โควต้าชดเชยเพิ่มแก่ไทยไว้แล้ว
โดยจะผลักดันสินค้าปลาทูน่ากระป๋องเข้าสู่บัญชีลดภาษีภายใต้กรอบเขตการค้าเสรี
(เอฟทีเอ) อาเซียน-อียู ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการเจรจา
ทำให้ไม่ทันกับระยะเวลาสิ้นสุดการให้โควต้ารอบนี้
สำหรับการให้โควต้าชดเชยสินค้าปลาทูน่ากระป๋องเป็นไปตามข้อตกลงโคโตนู (Cotonou)
เพื่อเป็นการชดเชยกรณีที่อียูลดภาษีสินค้าปลาทูน่ากระป๋องเหลือ 0%
ให้กับกลุ่มประเทศ ACP เมื่อปี 2546
ทำให้ไทยในฐานะผู้ส่งออกปลาทูน่ารายใหญ่ไปตลาดอียูได้รับผลกระทบ
จนต้องมีการเจรจาชดเชยให้โควต้าปลาทูน่ากระป๋องแก่ไทย โดยคำนวณในปริมาณ 2.5
หมื่นตัน ในปีแรกที่ให้สิทธิ คือปี 2546 และจะเพิ่มปริมาณโควต้าปีละ 3%
ของอัตราขยายตัวการส่งออกขึ้นทุกปี ซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2551 นี้ ในอัตราภาษี
12.5% ในโควต้า และนอกโควต้า 24% หากอียูจะต่อสิทธิลดภาษีให้กับกลุ่ม ACP
จะต้องให้การชดเชยกับไทยต่อไป
หน้า 17
|
|
|
|
ที่มา
:มติชน
วันที่
20
พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
. |
|
|