Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
.

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)
 

แปซิฟิคออกข้าวโพดพันธุ์ใหม่ ไฮบริกซ์3-9หวังชดเชยน้ำท่วม

 
  .
         แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์โอด ถูกภัยพิบัติน้ำท่วมทำลายทั้งตัวเกษตรกรผู้ปลูก กับแหล่งปลูกเมล็ดพันธุ์ของบริษัท ส่งผลยอดขายของบริษัทใน กลุ่มพืชไร่หายไปถึงร้อยละ 50 ปีหน้าเอาใหม่เตรียมเปิดตัว เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน/ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ เพื่อกระตุ้นยอดขายชดเชยกับส่วนที่ เสียไป

     
นายพาโชค พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัญหาน้ำท่วมได้สร้างความเสียหายต่อพื้นที่ทางการเกษตรเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดนครสวรรค์-สระบุรี-ลพบุรี-เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกทานตะวันและข้าวฟ่างที่สำคัญของประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรเสียโอกาสที่จะปลูกทานตะวันและข้าวฟ่างหลังฤดูเก็บเกี่ยว และกระทบไปถึงโอกาสทางการตลาดจากากรทำรายได้จากการขายเมล็ดพันธุ์ในกลุ่มพืชไร่ถึงร้อยละ 50

     นอกจากนี้ ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ยังได้ส่งผลกระทบต่อแปลงปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวโพดฝักอ่อน ของบริษัทด้วย ส่งผลให้บริษัทมีผลผลิตเมล็ดพันธุ์ "ต่ำกว่า" เป้าหมายที่วางไว้ในช่วงต้นปีถึงร้อยละ 30-40 ดังนั้นบริษัทจึงได้ปรับแผนการปลูกเมล็ดพันธุ์ใหม่ ด้วยการเร่งขยายการปลูกชดเชยในช่วงฤดูแล้งปีหน้าแทน

    "ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบทำให้บริษัทมีต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 20-30 แต่จะกระทบจนถึงขั้นที่ว่า บริษัทจะปรับราคาจำหน่ายเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้นหรือไม่นั้น คงจะต้องพิจารณาจากสัดส่วนความคุ้มทุนของเกษตรกร และภาวะการแข่งขันของตลาดเมล็ดพันธุ์ในปีหน้าด้วย" นายพาโชคกล่าว

     สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทแปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ ในปัจจุบันปรากฏ บริษัทมีส่วนแบ่งในตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน ประมาณร้อยละ 55 และคาดว่า ในปีหน้าจะปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 โดยบริษัทวางแผนจะเปิดตัวเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานอีก 3 พันธุ์คือ "ไฮบริกซ์ 3 ไฮบริกซ์ 9 และไฮบริกซ์ 49" เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและตลาดผักสด จากปัจจุบันตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานมีอัตราเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าปีละ 20-30%

    เนื่องจากเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับใช้แปรรูปเป็นข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องส่งออกไปขายในตลาดโลก ซึ่งมีอัตราเติบโตเพิ่มสูงทุกปี คาดว่าในปีนี้จะมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานทั่วประเทศประมาณ 500,000-600,000 ไร่ และในอนาคต กลุ่มผู้ส่งออกข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง ได้วางเป้าหมายที่จะขยายพื้นที่การปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 800,000 ไร่ แต่มีข้อจำกัดในการขยายพื้นที่ปลูกแห่งใหม่ ดังนั้นในปี 2550 จึงวางแผนเพิ่มปริมาณผลผลิตให้เพิ่มสูงขึ้น ด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดหวานในนาข้าวช่วงแล้งแทน

    ส่วนเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จะมีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 9 ของมูลค่าตลาดรวม โดยพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีเกษตรกรบางส่วนหันไปปลูกมันสำปะหลัง-อ้อย เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีราคาผลผลิตที่จูงใจจากกระแสพลังงานทดแทน ทั้งเอทานอล/ไบโอดีเซล ส่งผลให้ปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์ลดลงไปด้วย ทำให้ตลาดค้าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น

   อย่างไรก็ตาม ในปี 2550 บริษัทวางเป้าหมายที่จะเพิ่มยอดจำหน่าย เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเปิดตลาดส่งออกไปยังประเทศปากีสถาน, บังกลาเทศ, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, อินเดีย และประเทศแถบอเมริกาใต้ คาดว่าภายใน 2-3 ปีข้างหน้า ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ของบริษัทจะสามารถขยายตัวในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว

    นายพาโชคกล่าวว่า เนื่องจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ โดยแต่ละปีมีความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศสูงถึง 4.7 ล้านตันและมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นตามอัตราเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ดังนั้นในปีนี้บริษัทจึงได้เปิดตัวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใหม่จำนวน 2 พันธุ์ใหม่ คือ แปซิฟิค 999 กับ แปซิฟิค 224

   โดยชนิดแรกมีลักษณะเด่นคือ ฝักขนาดใหญ่ การติดเมล็ดเต็มถึงปลายฝัก เมล็ดสีส้มเข้ม ให้ผลผลิตสูงและสามารถต้านทานโรคราสนิมได้ดี มีความชื้นประมาณไม่เกิน 35% ส่วนพันธุ์แปซิฟิค 224 ลักษณะเด่นคือ ฝักใหญ่ ทนแล้ง ให้ผลผลิตสูง และเมล็ดสีส้มเข้ม ให้ผลผลิตได้สูงกว่า 2,000 กิโลกรัม/ไร่ โดยบริษัทจะมุ่งจำหน่ายและจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกและปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดให้แก่ เกษตรกร ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในพื้นที่ภาคกลาง เหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  ที่ผ่านมา บริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนาและวิจัยปรับปรุงเมล็ดพันธุ์อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งผลิตเมล็ดพันธุ์ให้มีคุณภาพสูง เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกรและภาคอุตสาหกรรมเป็นเป้าหมายสำคัญ แต่กลับประสบปัญหาถูก "ขโมย" เมล็ดพันธุ์/ต้นพ่อแม่พันธุ์พืช โดยเมล็ดพันธุ์ที่ถูกขโมยจะถูกนำไปขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร และจำหน่ายในชื่อการค้าใหม่ คาดว่าในแต่ละปีมีบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์จำนวนมากที่ประสบปัญหาถูกขโมยเมล็ดพันธุ์ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่าปีละ 1,000 ล้านบาท


หน้า 10
 
 
 

ที่มา :ประชาชาติ

วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 .

 
 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 28-Feb-2008.