Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
.

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)
 

ไทยเปิดเจรจาขอชดเชยภาษีอียู ไก่ยังไม่ทันจบ"ทูน่า"มาอีกแล้ว

 
       กระทรวงพาณิชย์เปิดเจรจารอบใหม่ ขอชดเชยกรณีสหภาพยุโรปให้สิทธิพิเศษแก่กลุ่มประเทศ ACP ในสินค้าทูน่ากระป๋องเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 0 หลังข้อตกลงให้สิทธิพิเศษที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2546 จะหมดอายุลงปลายปีนี้ ด้านสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปยื่นข้อเสนอขอให้ลดภาษีในโควตาลงเหลือร้อยละ 0 เท่ากับที่ให้กับกลุ่ม ACP ถ้าไม่ได้จะขอคงระบบโควตาภาษีเดิม แต่ขออัตราขยายตัวเพิ่มจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 ต่อปีแทน

    
สหภาพยุโรป (EU) เตรียมที่จะทบทวนการให้สิทธิภาษีนำเข้า 0% สำหรับสินค้าทูน่ากระป๋อง 3 พิกัด (16041411-6041418 และ 16042070) ที่ผลิตจากกลุ่มประเทศ ACP (African Caribbean Pacific) และกลุ่มประเทศ Andean ซึ่งเป็นอาณานิคมเดิมภายใต้กรอบ Cotonou Agree ment ซึ่งกำลังจะหมดอายุลงในเดือนธันวาคม 2550 นี้ ส่งผลให้ไทยในฐานะประเทศผู้ส่งออกสินค้าทูน่าจะต้องเตรียมการที่จะเปิดเจรจาเพื่อขอชดเชยกับสหภาพยุโรปชนิดนี้ไปยังอียู จะต้อง เตรียมทบทวนโควตาชดเชยกรณีดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปด้วยเช่นเดียวกัน

      ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานเข้ามาว่า นับจากปี 2546 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้รับ สิทธิชดเชยการส่งออกสินค้าทูน่ากระป๋องไปยังสหภาพยุโรปในโควตาเริ่มต้นที่ปีละ 25,000 ตัน บวกกับอัตราขยายตัวอีกร้อยละ 3 ต่อปี มีอัตราภาษีในโควตาร้อยละ 12 ส่วนภาษีนอกโควตาจะถูกเรียกเก็บอยู่ที่ร้อยละ 24 โดยโควตาภาษีที่สหภาพยุโรปให้กับสินค้าทูน่ากระป๋องจากประเทศไทยครั้งนี้ก็เพื่อที่จะชดเชยการลดภาษีทูน่ากระป๋องลงเหลือ 0% ที่อียูให้กับกลุ่มประเทศ ACP นั่นเอง

     "ในระดับเจ้าหน้าที่ได้มีการประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (EU Commis sion) ในกรณีนี้ไปแล้ว 2 ครั้ง แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป ทางฝ่ายไทยต้องกลับมารวบรวมข้อมูลจากภาคเอกชนไทยเพื่อประเมินถึงผลกระทบจากการต่ออายุโครงการให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่กลุ่มประเทศ ACP ซึ่งเป็นคู่แข่งในการส่งออกสินค้าทูน่ากระป๋องของไทยไปยังอียู พร้อมกับเรียกร้องให้อียูชดเชยโควตาภาษีทูน่ากระป๋องให้กับไทยเพิ่มขึ้น" แหล่งข่าวกล่าว

    ทางด้านนายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ อุปนายกและประธานกลุ่มผู้ผลิตปลาทูน่า สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แต่ละปีสหภาพยุโรปต้องนำเข้าสินค้าทูน่ากระป๋องใน 3 พิกัด ประมาณ 70 ล้านหีบ ในจำนวนนี้เป็นการนำเข้าทูน่าจากไทย 6-7 ล้านหีบ หรือไทยมีส่วนแบ่งทางการตลาดคิดเป็นร้อยละ 9 ขณะที่สเปนซึ่งเป็นผู้ผลิตทูน่าอันดับหนึ่งในสหภาพยุโรป มีการจำหน่ายทูน่าในตลาดอียูประมาณ 30-40 ล้านหีบ "มากกว่า" ทูน่าที่ผลิตจากไทย แต่ในภาพรวมแล้ว การจำหน่ายทูน่ากระป๋องในตลาดโลก ประเทศไทยยังครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 อยู่

     สำหรับการเตรียมการเจรจาเพื่อขอชดเชยจากการต่ออายุการให้สิทธิพิเศษในการส่งออกทูน่าจากกลุ่มประเทศ ACP ทางภาคเอกชนได้หารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์มาเป็นระยะเวลากว่า 2 เดือนแล้ว โดยเป้าหมายสูงสุดที่ภาคเอกชน ต้องการก็คือ ขอให้สหภาพยุโรปเปิดตลาดทูน่า กระป๋องให้กับไทย ด้วยการลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันระหว่าง ไทยกับกลุ่ม ACP หากไม่สำเร็จก็ขอให้สหภาพยุโรปคงระบบโควตาภาษีเดิมที่ให้กับไทย แต่ขอให้ขยายอัตราเติบโตจากร้อยละ 3 ต่อปี ไปเป็นร้อยละ 5 ต่อปีแทน

    "ระบบโควตาภาษีทำให้ไทยเสียเปรียบในการส่งออกทูน่ากระป๋องในตลาดสหภาพยุโรป เพราะ เป็นที่ทราบกันดีว่าสเปน ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงที่สุดในอียู และเป็นผู้เข้าไปลงทุนสร้างฐานการผลิตทูน่าในกลุ่ม ACP ด้วย จึงไม่น่าแปลกใจว่าสเปนจะต้องเป็นผู้ผลักดันให้มีการต่ออายุการให้สิทธิพิเศษกับประเทศ ACP ต่อไป

   ในขณะเดียวกันก็จะเป็นการกีดกันการนำเข้าทูน่ากระป๋องจากไทยไปในตัว เนื่องจากอัตราภาษีนอกโควตาที่ร้อยละ 24 นั้น ถือว่าสูงที่สุดที่สหภาพยุโรปใช้เก็บจากประเทศที่สาม" นายชนินทร์กล่าว

    ส่วนประเด็นที่จะมีการขอให้สหภาพยุโรป "ชดเชย" ด้วยการลดภาษีแทนการเพิ่มโควตาหรือไม่นั้น "ในรอบนี้คงจะไม่มี" ยกเว้นหากมีการเจรจาจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ในกรอบอาเซียน-สหภาพยุโรป มีความเป็นไปได้ที่จะนำทูน่ากระป๋องเข้าบรรจุไว้ในบัญชีลดภาษีระหว่างกัน แต่กว่าการเจรจา FTA จะสำเร็จ ข้อตกลงให้สิทธิพิเศษฉบับนี้คงจะหมดอายุลงเสียก่อน

    ทั้งนี้กรมศุลกากรได้รายงานการส่งออกทูน่ากระป๋องพิกัด 160414 ไปยังสหภาพยุโรปในช่วง 9 เดือน (มกราคม-กันยายน) 2549 มีปริมาณรวม 118,572 ตัน มูลค่า 5,785,227,929 บาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 1.23, ปี 2548 ปริมาณรวม 66,721 ตัน มูลค่า 6,626,905,292 บาท หรือขยายตัวร้อยละ 1.16, ปี 2547 ปริมาณรวม 41,593 ตัน มูลค่า 3,949,661,644 บาท หรือขยายตัวร้อยละ 0.71 และปี 2546 ปริมาณรวม 53,193 ตัน มูลค่า 4,444,040,571 บาท หรือขยายตัวร้อยละ 0.91 ขณะที่การส่งออกทูน่ากระป๋องไทยไปยังสหภาพยุโรปก่อนที่จะมีการนำระบบโควตาภาษีมาใช้ ปรากฏในปี 2545 มีการส่งออกปริมาณ 47,683 ตัน มูลค่า 4,100,584,618 บาท หรือขยายตัวร้อยละ 0.94

     ส่วนการส่งออกทูน่าพิกัด 160420 นั้น ในช่วง 9 เดือนแรก มีปริมาณรวม 13,452 ตัน มูลค่า 1,033,533,871 บาท หรือขยายตัวร้อยละ 0.22, ปี 2548 มีปริมาณรวม 17,613 ตัน มูลค่า 1,331,457,359 บาท หรือขยายตัวร้อยละ 0.23, ปี 2547 มีปริมาณรวม 17,751 ตัน มูลค่า 1,293,104,092 บาท หรือขยายตัวร้อยละ 0.23, ปี 2546 มีปริมาณรวม 16,173 ตัน มูลค่า 1,216,975,544 บาท หรือขยายตัวร้อยละ 0.25 และปี 2545 (ก่อนที่จะกำหนดโควตาภาษี) มีปริมาณรวม 15,836 ตัน มูลค่า 1,198,097,704 บาท หรือขยายตัวร้อยละ 0.27


หน้า 8

 

 
 

ที่มา :ประชาชาติ

วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 .

 
 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 28-Feb-2008.