เอกชนประเมินแนวโน้มส่งออกข้าวปีหน้า
ตลาดสดใส มีสิทธิทะลุ 10
ล้านตัน
โกยรายได้เข้าประเทศเฉียดแสนล้านบาท
นายชูเกียรติ
โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวว่า
ผลดีจากการที่รัฐบาลได้กำหนดราคาส่งออกข้าวหอมมะลิ สำหรับปี
2549/2550
ไว้ที่
8.7-9
พันบาทต่อตัน เมื่อเทียบกับราคา
9.7
พัน-1
หมื่นบาทต่อตัน
สำหรับผลผลิตในฤดูเก็บเกี่ยวที่ผ่านมา ส่วนราคาส่งออกข้าวขาวลดลงจาก
6.7-7.1
พันบาทต่อตัน เหลือ
6.1-6.5
พันบาทต่อตัน ทำให้ลด
ช่องว่างราคาส่งออกข้าวไทยกับเวียดนามได้
ซึ่งปกติราคาข้าวจะแตกต่างกันประมาณ 15
เหรียญสหรัฐต่อตัน
ก่อนหน้านี้ ราคาข้าวที่สูง
ประกอบกับเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
ทำให้ข้าวไทยมีราคาแพงกว่าข้าวของเวียดนามถึง
60
เหรียญสหรัฐ
ส่งผลให้ต้องลดเป้าหมายในการส่งออกข้าวประจำปี
2549
ลงเหลือเพียง
7.2
ล้านตัน
อย่างไรก็ดี
เนื่องจากเวียดนาม ประสบปัญหาขาดแคลนข้าวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
ส่งผลให้ไทยมีโอกาสที่จะส่งออกข้าวได้มากกว่า
7.5
ล้านตัน ภายในสิ้นปีนี้
นอกจากนี้ สมาคมฯ
ยังตั้งความหวังว่าความแห้งแล้งที่ประเทศผู้ผลิตข้าวต่างๆ ประสบอยู่
จะยังผลให้มีความต้องการข้าวมากขึ้นในตลาดข้าวโลกปีหน้าอย่างน้อย
2
ล้านตัน
ในจำนวนนี้ไทยอาจได้ส่งออกเพิ่มถึง 1
ล้านตัน
การส่งออกข้าวเพิ่มเติมดังกล่าว ร่วมกับแผนการถ่ายเทข้าวปริมาณ
3.1
ล้าน ตัน ในสต๊อกของรัฐบาลออกไป
จะส่งผลให้ปริมาณการส่งออกข้าวของไทยทะยานไปอยู่ที่
10
ล้านตัน ในปีหน้า
มากกว่าปีนี้ที่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ
7.5 ล้านตัน
ทำให้ยอดการส่งออกข้าวของไทยทะยานทำสถิติมากกว่า
10
ล้านตัน เป็นครั้งที่
2
หลังจากที่ก่อนหน้านี้สามารถส่งออกได้มากกว่า
10
ล้านตัน ในปี
2547
หากความต้องการทะยานเพิ่มขึ้นมากกว่า
9
ล้านตัน ในปีหน้า
และเงินบาทอ่อนค่าลงอีก ก็จะส่งผลให้รายได้จากการส่งออกข้าวพุ่งไปอยู่ที่
1
แสนล้านบาท ในปีหน้า
นายชูเกียรติ กล่าว
พร้อมระบุว่า อนาคตการส่งออกข้าวในปีหน้าดูสดใส
และถือเป็นโอกาสที่ดีที่รัฐบาลจะทำการลดปริมาณข้าวที่เก็บไว้ในสต๊อกของรัฐ
อย่างไรก็ตาม
ในส่วนตลาดส่งออกข้าวขาวจะปรับตัวลดลง
โดยจะส่งออกไปยังประเทศในตะวันออกกลางและฟิลิปปินส์ราว
2
ล้านตัน ไปยังอินโดนีเซีย
1.5 ล้านตัน และไนจีเรีย
1.8
ล้านตัน ส่วนข้าวหอมมะลิ มีแผนส่งออก
2.2
ล้านตัน สหรัฐและฮ่องกงเป็นตลาดหลัก
ด้วยปริมาณการส่งออกที่ 4
แสนตัน และ
3
แสนตัน ตามลำดับ
พร้อมกันนี้
จากการสำรวจนาข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นพื้นที่
เพาะปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
ผู้ส่งออกและเจ้าของโรงสีหลายรายระบุว่าไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะแห้งแล้งเลย
โดยได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่
10-11 ล้านตัน
เนื่องจากมีพายุไต้ฝุ่นช้างสารเป็นปัจจัยสนับสนุน
ช่วยให้ได้ผลผลิตในฤดูข้าวแตกรวง
ขณะที่พ่อค้าคนกลางรู้สึกโล่งใจจากผลผลิตในพื้นที่เพาะปลูกภาคอีสาน
สามารถชดเชยผลผลิตที่ลดลงในพื้นที่ภาคกลางที่มีน้ำท่วมขังได้
|