ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล |
| |
|
หมู่บ้าน/นิคมเศรษฐกิจพอเพียง |
|
|
ภารกิจเร่งด่วนของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
ในปี 2550 ก็คือ การจัดตั้ง
"หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง"
เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ 5
จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา,
ชัยนาท, ลพบุรี, อุทัยธานี
และสุพรรณบุรี ขณะนี้ได้ประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดไปแล้ว โดย ส.ป.ก.
จะตั้งหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยน้ำท่วมนำเงินชดเชยที่ได้รับจากรัฐบาลมาพัฒนาแนวคิดและปรับปรุงอาชีพในระบบเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นรูปธรรม
และในเดือนธันวาคมนี้ ส.ป.ก.จะเชิญ
ปราชญ์ชาวบ้านทั่วประเทศมาเสวนากันในศูนย์เรียนรู้ชุมชน จำนวน 700
แห่ง เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาแนวคิดและรูปแบบการ
เกษตรในระบบเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกัน
เนื่องจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังขยายตัวไม่เพียงพอ ดังนั้น
ส.ป.ก.จะมุ่งพัฒนาองค์ความรู้ ด้วยการจัดสร้างศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ในพื้นที่ 1,200 ตำบล
เพื่อรองรับการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรจำนวน
800,000 ราย
เพื่อนำไปปรับปรุงพื้นที่การทำกินของตัวเองในเขต ส.ป.ก.จำนวน 13
ล้านไร่
ขณะเดียวกันก็วางแผนเร่งรัดให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายใต้ระบบ "นิคมเศรษฐกิจพอเพียง"
ในพื้นที่ 300,000 ไร่ใน 36
จังหวัด ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ภาคกลาง 5 จังหวัด
ซึ่ง ส.ป.ก.ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,
ที่ดินเอกชนที่ ส.ป.ก.จัดซื้อจำนวน 500,000
ไร่ โดยมีเกษตรกรเช่าอยู่จำนวน 40,000
ราย และพื้นที่ภายใต้โครงการพระราชดำริ
ที่ยังไม่มีระบบบริหารจัดการต่อเนื่อง เช่น โครงการแม่อาว จ.ลำพูน,
โครงการพัฒนาพื้นที่ดินทราย ดินพรุ จ.นราธิวาส
นอกจากนี้ ส.ป.ก.จะร่วมมือกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯทำงานเชิง
บูรณการร่วมกัน เพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรในระบบเศรษฐกิจพอเพียง เช่น
ส.ป.ก.ได้ร่วมมือกับกรมการข้าว จัดตั้งธนาคารพันธุ์ข้าว จำนวน 80
แห่งในพื้นที่ ส.ป.ก.
โดยจะเริ่มต้นโครงการที่อยุธยาก่อนเป็นแห่งแรก
และจะขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ส่วน กรมประมง จะจัดทำโครงการฟู้ดแบงก์
ในพื้นที่ปฏิรูป เป็นต้น
ส่วน
การประเมินผลนิคมเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะใช้วิธีการวัด 2
วิธีคือ 1)
วัดผลจากการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
เกษตรกรในแต่ละจังหวัดจะได้รับการจัดสรรที่ดินแตกต่างกัน เช่น เกษตรกรใน
จ.ศรีสะเกษได้รับการจัดสรรที่ดินรายละ 2.5 ไร่
หรือที่ จ.กาฬสินธุ์ได้รับรายละ 2 ไร่ โดย ส.ป.ก.
จะพิจารณาประสิทธิภาพการใช้ที่ดินของเกษตรกรเป็นหลัก
หากพบว่าเกษตรกรที่ถือครองที่ดินน้อย (หลักเกณฑ์เดิมจัดสรรที่ดินรายละ
15 ไร่)
แต่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นก็เท่ากับยืนยันผลสำเร็จของนโยบายนิคมเศรษฐกิจพอเพียงได้
2) พิจารณาจากฐานรายได้ของเกษตรกร
โดยทั่วไปเกษตรกรที่ยากจนมีระดับฐานรายได้อยู่ที่ประมาณ 4,500
บาท/เดือน หากพบว่าเกษตรกรที่อยู่อาศัยในนิคม 2
ปีมีฐาน
รายได้ต่ำกว่าระดับรายได้ของเกษตรกรผู้ยากจนก็ถือว่า
นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงไปไม่รอด
หน้า 7
|
|
|
|
ที่มา
: ประชาชาติ
วันที่
13
พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
. |
|
|