ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล |
| |
|
"สุเมธ"อัดไทยบริโภคฟุ่มเฟือย-หวั่นหายนะ
หอการค้าชง"สุรยุทธ์"-ปัดฝุ่นร่นเวลาประเทศขึ้น
1
ช.ม. |
|
|
เมื่อวันที่ 11
พ.ย. นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง"ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"
ในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 24 ที่
จ.นครราชสีมา ว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเกิดจากการบริโภคอย่างฟุ่มเฟือยและเกินความพอดี
เหมือนลูกโป่งที่หากอัดลมเกินพอดีก็จะแตก
และจากการศึกษาพบการใช้ทรัพยากรโดยการบริโภคของไทยมีการใช้ 3
ส่วนแต่มีการสร้างเสริมทดแทนได้เพียงแค่ 1
ส่วน เท่านั้นทำให้เกิดปัญหาการบริโภคเกินต้นทุนธรรมชาติ
ขณะที่ภาคธุรกิจก็รักความสำเร็จในอุตสาหกรรรมมากกว่าการรักษ์โลกทำให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
จนต้องแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติจากนอกบ้านแทน โดยคาดว่าในอีก 10
ปีข้างหน้าจะเกิดสงครามแย่งน้ำเกิดขึ้น
และหากใช้อย่างฟุ่มเฟือยต่อไปอีกก็จะนำไปสู่ความหายนะในที่สุด
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะสร้างความสมดุลและมั่นคงอย่างยั่งยืน
โดยยึดหลักพอประมาณหรือความสำรวจทุนของตัวเองและความพร้อม
นายสมภพ อมาตยกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย
เปิดเผยถึงผลการสัมมนากลุ่มย่อย
ในหัวข้อแนวทางความร่วมมือของภาคเอกชนในการดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง
ว่า
สมาชิกหอการค้าทั่วประเทศเห็นชอบร่วมกันว่าแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้
ทำให้คุณภาพพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของประชาชนดีขึ้น ทำให้คนขยันหมั่นเพียร
ลดการฟุ้งเฟ้อ
และที่ประชุมเห็นชอบว่าหอการค้าไทยจะจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจขึ้นมา
เพื่อทำในการผลักดันและนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ให้ได้เป็นรูปธรรมแก่หอการค้าทั่วประเทศ
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล
กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย
เปิดเผยถึงผลการสัมมนากลุ่มย่อยในหัวข้อการขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันของประเทศว่า
มีการหารือใน 4 ประเด็น
โดยที่ประชุมมีข้อเสนอแนะในแต่ละเรื่องดังต่อไปนี้ 1.การค้า
ต้องการให้รัฐบาลสร้างมาตรฐานสินค้าและบริการ
เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพจากต่างประเทศ
รวมทั้งจะต้องผลักดันให้มีการบังคับใช้อย่างเต็มที่ ด้านการค้าเสรี
รัฐควรเดินหน้าต่อรวมทั้งต้องเร่งศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาคธุรกิจไทยจากการเร่งเปิดเสรีของประเทศคู่แข่งของไทยกับคู่ค้าสำคัญ
เช่น สหรัฐ และญี่ปุ่น ภายใน 2-3 สัปดาห์
2.ด้านพลังงาน ควรส่งเสริมการประหยัดพลังงาน
การใช้พลังงานทดแทน ด้วยการสนับสนุนเอกชนจากต่างชาติ
หรือทำการร่วมทุนกับเอกชนไทยในการเข้าไปลงทุนสร้างแหล่งวัตถุดิบพลังงานทดแทนในประเทศเพื่อนบ้าน
รวมทั้งเสนอขอให้รัฐบาลขยับเวลาประเทศไทยให้เร็วขึ้น 1
ชั่วโมงในช่วงฤดูร้อน จะทำให้เช้าเร็วขึ้น
ซึ่งจะช่วยทำให้ประเทศประหยัดพลังงานได้มากขึ้น 3.ด้านแรงงาน
รัฐต้องผลักดันพ.ร.บ.เกี่ยวกับแรงงาน 3
ฉบับออกมาใช้โดยเร็ว และ 4.ด้านโลจิสติกส์
ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาให้บริการโลจิสติกส์ในประเทศไทย
รวมทั้งร่วมลงทุนนำร่องโครงการโลจิสติกส์ในระบบรถไฟของไทยให้ได้ 1
เส้นทาง ภายในปี 2549
รวมทั้งจัดทำแผนแม่บทโลจิสติกส์ร่วมกับเอกชน
นายดุสิต นนทะนาคร กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย
กล่าวว่า วันที่ 12 พ.ย. นายประมนต์ สุธีวงศ์
ประธานหอการค้าไทยได้นำผลสรุปและข้อเสนอแนะของการสัมมนาทั้ง 3
กลุ่มย่อย เสนอแก่พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
ซึ่งเดินทางมางานสัมมนาด้วย
|
|
|
|
ที่มา
: ข่าวสด
วันอาทิตย์ที่
12
พฤศจิกายน พ.ศ.
2549. |
|
|