ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล |
| |
|
โพลล์ระบุสมาชิกหอการค้าต้องการเห็นเสถียรภาพทางการเมือง |
|
|
ผลสำรวจสมาชิกหอการค้าทั่วประเทศต้องการเห็นเสถียรภาพทางการเมืองมีความมั่นคงยิ่งขึ้น
รวมถึงความสมานฉันท์และมีความสงบ
จะทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจหันกลับเข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น
ฟันธงเศรษฐกิจไทยปีหน้ายังเติบโตต่อเนื่อง เพราะปัจจัยลบอย่างราคาน้ำมัน
ความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ย แม้จะยังมีอยู่แต่จะบรรเทาลง
นายธนวรรธน์ พลวิชัย
ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นทางด้านเศรษฐกิจของสมาชิกหอการค้าไทยทั่วประเทศจำนวน
243 ตัวอย่าง แบ่งเป็นภาคเกษตร ภาคการค้า ภาคบริการ
และภาคการผลิต โดยปัจจัยเสี่ยงที่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจมากที่สุด คือ
ราคาน้ำมัน รองลงมาได้แก่ สถานการณ์ทางการเมือง อัตราดอกเบี้ย
อัตราแลกเปลี่ยน ตามลำดับ
แต่จากการสำรวจผู้ตอบแบบสอบถามกลับต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองอย่างเร่งด่วนที่สุด
ทุกคนอยากเห็นการเมืองมีเสถียรภาพ
มีความสมานฉันท์ และมีความสงบ หากสถานการ์การเมืองไม่หยุดนิ่งและขาดเสถียรภาพ
จะทำให้เกิดความไม่มั่นใจและชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ในที่สุด
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ ยังประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2550
ว่า จะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 4.5-5
บนพื้นฐานจากผลสำรวจเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4
ของปีนี้ที่เศรษฐกิจจะยังไม่ฟื้นตัวไปจนถึงไตรมาส 2
ของปีหน้าจึงจะเริ่มกลับมาดีขึ้นในไตรมาส 3
แต่หากการเมืองไม่มั่นคงและไม่มีเสถียรภาพ
ความเชื่อมั่นของนักลงทุนรวมถึงทิศทางเศรษฐกิจในแต่ละไตรมาสก็จะลดลงได้
นายธนวรรธน์ กล่าว
ส่วนปัญหารองลงมาที่สมาชิกหอการค้าติดตาม คือ
ปัญหาราคาน้ำมัน ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย
ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เชื่อว่าไม่น่าเป็นห่วงเพราะจากแนวโน้มราคาน้ำมันเริ่มลดลงแล้ว
ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในปีหน้ายังมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน
ส่วนความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนแม้จะมีบางช่วง
ภาคเอกชนก็สามารถปรับตัวรับสถานการณ์ได้
แต่หากการเมืองไม่นิ่งและสั่นคลอนต่อเนื่องก็จะทำให้ความเชื่อมั่นในปีหน้าลดลงได้
ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องกลับไปพิจารณา
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
กล่าวถึงผลสำรวจความคิดเห็นของสมาชิกหอการค้าเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล
เกี่ยวกับนโยบายการปฏิรูปการปกครองและการบริหารพบว่า
สมาชิกหอการค้าเห็นด้วยกับมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ
สนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฉบับถาวร
และส่งเสริมบทบาทขอองค์กรภาคเอกชนและภาคประชาชน
ขณะที่นโยบายด้านสังคมเห็นด้วยกับแนวทางส่งเสริมความรักความสามัคคี
และความสมานฉันท์ของคนในชาติ
การจัดทำแผนปฏิรูปสังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสมานฉันท์และการเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้
ส่วนนโยบายด้านเศรษฐกิจเห็นด้วยกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจโดยยึดหลักคุณธรรมและความสุจริต
ส่งเสริมการทำเกษตรกรรมแบบทฤษฎีใหม่ และพัฒนาการท่องเที่ยวให้มีเอกลักษณ์
พร้อมเพิ่มการรักษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว
|
|
|
|
ที่มา
: โดย
ผู้จัดการออนไลน์
วันอาทิตย์ที่
12
พฤศจิกายน พ.ศ.
2549. |
|
|