ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล |
| |
|
ได้ไม่คุ้มเสียต่อรองขอเปิดตลาดข้าว เอกชนหนุนรัฐไม่ลงนามFTAกับเกาหลี |
|
|
ภาคเอกชนไม่สนลงนาม
FTA
อาเซียน-เกาหลีต่อท้ายขบวน
ชี้ไม่เห็นประโยชน์จนกว่าเกาหลีจะยอมลดภาษีนำเข้าข้าว หรือ
สินค้าอื่นที่สำคัญทดแทนกันได้ให้กับฝ่ายไทย แนะไทยควรสานต่อ
FTA
อาเซียน-ญี่ปุ่นดีกว่า ด้าน
"เกริกไกร" หารือทูตเกาหลียืนยันท่าทีเดิม
ย้ำไทยไม่ได้ปิดประตูเจรจา
เตรียมสานต่อการเจรจาภาคบริการ-ลงทุน
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการ
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"
ถึงท่าทีของภาคเอกชนในกรณีที่ประเทศไทยซึ่งเป็นสมาชิกอาเซียนเพียงประเทศเดียวที่ตัดสินใจชะลอการลงนามเปิดเขตการค้าเสรี
(FTA) อาเซียน-เกาหลี ว่า
จะไม่กระทบต่อการค้าระหว่างไทยกับเกาหลี
เนื่องจากตลาดเกาหลีถือเป็นตลาดใหม่ที่ยังมีการขยายตัวได้
แต่ไม่ใช่ตลาดหลักในการส่งออกสินค้าไทย
ฉะนั้นไทยควรจะยืนยันท่าทีการเจรจาการค้าเสรีในกรอบอาเซียน-เกาหลี
เพื่อให้ได้รับประโยชน์ในการเปิดตลาดสินค้าเกษตรมากที่สุดซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออก
จะเป็นการดีกว่าที่จะเร่งลงนาม FTA
โดยที่ยังไม่ได้ข้อแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมกับไทย
แต่อย่างไรก็ตามในระยะยาวไทยจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากการค้าที่อาจจะเกิดขึ้นจากการนำเข้าสินค้าจากเกาหลีผ่านประเทศอาเซียน
9 ประเทศที่ได้ลงนามลดภาษีในกรอบ FTA
อาเซียน-เกาหลี ไปแล้ว
"ผมมองว่าตลาดเกาหลีไม่ใช่ตลาดหลักสำหรับสินค้าไทย
แต่การลดภาษีให้กับอาเซียน 9
ประเทศอาจจะส่งผลกระทบต่อไทยบ้าง
ทำให้เสียแต้มต่อในการส่งออกสินค้าไปยังเกาหลี
ขณะเดียวกันสินค้าจากเกาหลีซึ่งจะส่งผ่านประเทศอาเซียนเข้ามาก็อาจจะมีจำนวนมากขึ้น
ซึ่งไทยจะตรวจสอบได้ยาก เพราะ ระหว่างอาเซียนต้องยึดหลักกรอบความตกลง
AFTA นอกจากนี้ไทยควรสานต่อการเจรจา FTA
ในกรอบอื่นๆ เช่น อาเซียน-ญี่ปุ่น
เพราะญี่ปุ่นถือเป็นตลาดหลักและมีการลงทุนโดยตรงในไทยจำนวนมาก"
นายพรศิลป์กล่าว
ขณะที่นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ได้กล่าวภายหลังการพบหารือกับ Mr.Han Tae-kuy
เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 22
พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า
ประเด็นการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลีนั้น
ไทยยืนยันท่าทีให้เกาหลีทบทวนการเปิดตลาดสินค้าเกษตร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าข้าวซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย
เพื่อให้การเจรจาลุล่วงไปได้
"ไทยยังยินดีอย่างยิ่งหากจะมีการหารือกัน
เพื่อให้ได้ข้อสรุปตามท่าทีที่เคยเสนอไว้
ที่ผ่านมาไทยเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนเพียงประเทศเดียวที่ไม่ลงนาม
FTA กับเกาหลี
เนื่องจากประโยชน์ที่ฝ่ายไทยจะได้ไม่ได้รับการตอบสนอง
ถ้าหากเกาหลีให้สินค้าข้าวไม่ได้ ก็ควรให้สินค้าอื่นเป็นการตอบแทน
การไม่ลงนามไม่ได้หมายความว่าไทยจะปิดประตูตาย
ซึ่งเอกอัครราชทูตเกาหลีรับที่จะนำประเด็นดังกล่าวกลับไปเสนอรัฐบาลเกาหลีต่อไป"
นายเกริกไกรกล่าว
นายภาษิต พุ่มชูศรี นักวิชาการพาณิชย์ 9
ชช. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า
ในระหว่างที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปการเจรจาลดภาษีสินค้าภายใต้กรอบ
FTA อาเซียน-เกาหลีได้
ฝ่ายไทยยังสามารถเดินหน้าเจรจาในกรอบการค้าบริการและการลงทุนร่วมกับประเทศอาเซียนต่อไปได้
โดยทั้งสองฝ่ายมีกำหนดจะหารือกันในต้นปี 2550
ทั้งนี้คาดว่าเกาหลีจะรุกให้เปิดเสรีบริการด้านการเงิน
ส่วนประเทศสิงคโปร์จะเสนอให้เปิดเสรีธุรกิจการเงินและการค้า (trading)
ขณะที่ไทยคาดหวังจะผลักดันธุรกิจภัตตาคารไทยและธุรกิจภาพยนตร์
แต่ธุรกิจการเงินยังถือว่าเป็นกลุ่มบริการที่ไทยมีความอ่อนไหวสูง
อนึ่งมูลค่าการค้ารวมระหว่างไทย-เกาหลี ในปี 2548
มีมูลค่า 6,143 ล้านเหรียญสหรัฐ
หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 13
ส่วนการค้าในช่วง 9 เดือนแรก
(มกราคม-กันยายน) 2549 มีมูลค่า
5,667 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี
2548 ร้อยละ 25.5
โดยไทยส่งออกไปเกาหลีคิดเป็นมูลค่า 1,915.3
ล้านเหรียญ และนำเข้าจากเกาหลีคิดเป็นมูลค่า 3,751.8
ล้านเหรียญ ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าเกาหลีคิดเป็นมูลค่า
1,836.5 ล้านเหรียญ
สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปเกาหลี ได้แก่
แผงวงจรไฟฟ้า, ยางพารา,
คอมพิวเตอร์/ อุปกรณ์, น้ำมันดิบ,
ไม้/ผลิตภัณฑ์ไม้อัด,
เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์/ส่วนประกอบ และ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ทั้งนี้ใน
FTA อาเซียน-เกาหลี
ในกรอบความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าได้มีการลงนามไปแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม
2549 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1
มกราคม 2550
|
|
|
|
ที่มา
ประชาชาติ
วันที่ :
7 ธันวาคม 2549 |
|
|