ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล |
| |
|
สศช.มั่นใจเศรษฐกิจปีนี้โต5% ส่งออกช่วยกู้หน้าไตรมาส3คืนชีพ |
|
|
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 4.7%
โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการส่งออกที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง
และราคาน้ำมันในตลาดโลกอ่อนตัวลงมา แต่ด้านการลงทุนภาคเอกชน
การใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการใช้จ่ายภาครัฐชะลอตัวอยู่ ขณะที่ 9 เดือน
เศรษฐกิจขยายตัว 5.3% เนื่องจากครึ่งแรกของปีการส่งออกขยายตัวได้สูง
ช่วยชดเชยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวน้อยกว่าปีที่ผ่านมาได้
ทั้งนี้คาดว่าทั้งปี 49 เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ 5%
เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดือน ก.ย. ที่คาดว่าจะขยายตัว 4.5.%
จากปัจจัยเรื่องราคา น้ำมันในตลาดโลก
อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และภาคการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดี
ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปีจะเกินดุล 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น
0.2% ของจีดีพี ขณะที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ 1.8%
สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 50 จะขยายตัว 4-5%
โดยมีแรงขับเคลื่อนจากความต้องการในประเทศ
เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มทรงตัว
อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง ทำให้กำลังซื้อ
และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเริ่มทรงตัว
และอาจปรับลดลงได้ หากราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อไม่ปรับขึ้นอีกปลายปีนี้
ซึ่งจะช่วยให้การลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวได้
ส่วนการท่องเที่ยวน่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตาทั้งปัจจัยภาย นอกประเทศ
ได้แก่เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
ปัญหาที่สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง
ซึ่งจะไปกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนลง
และราคาน้ำมันในตลาดโลกมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้เร็ว
"มีโอกาส 85% ที่เศรษฐกิจจะขยายตัว 4-5% แบ่งเป็นโอกาสที่จะอยู่ในระดับ
4-4.5% อยู่ 17% และโอกาสขยายตัว 4.5-5% อยู่ 68% ถ้าภาครัฐดำเนินการ
ได้แก่ ดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพ
ฟื้นฟูอาชีพให้กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม,
ติดตามสถานการณ์และส่งเสริมการส่งออกอย่างใกล้ชิด, ส่งเสริมการท่องเที่ยว,
ดำเนินมาตรการประหยัดพลังงาน และผลักดันการใช้จ่ายงบประมาณปี 50
ให้เบิกจ่ายได้ไม่ต่ำกว่า 85% โดยเฉพาะงบลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
และการแก้ไขปัญหาสังคม"
ส่วนปัจจัยในประเทศที่ต้องจับตา ได้แก่ การลงทุนภาคเอกชน
ที่อาจไม่ขยายตัวอย่างที่คาดไว้
เพราะผู้ประกอบการที่เตรียมขยายกำลังการผลิตรองรับการส่งออก
อาจชะลอแผนไปก่อนหลังจากแนวโน้มการส่งออกขยายตัวชะลอลง
นอกจากนี้ราคาสินค้าเกษตรที่ชะลอตัวจะกระทบกับรายได้ภาคเกษตร
ส่วนค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น
จะส่งผลให้การส่งออกต้องเผชิญการแข่งขันกับต่างประเทศมากขึ้น
โดยการส่งออกจะขยายตัวได้ 9% หากคิดจากค่าเงินบาทปีหน้าที่น่าจะอยู่ในระดับ
36-37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ. |
|
|
|
ที่มา
เดลินิวส์
วันที่ :
5 ธันวาคม 2549 |
|
|