ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล |
| |
|
ดัชนีเชื่อมั่นทรุดลงทุกรายการ |
|
|
|
|
ระบุหมดเวลาฮันนีมูนรับบาลขิงแก่
ชาวบ้านมึนนโยบายเศรษฐกิจไม่ชัด
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ประจำเดือน
พ.ย. ปรับตัวลดลงทุกรายการในรอบ 3 เดือน
และลดครั้งแรกของการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เนื่องจากผู้บริโภคเห็นว่า
นโยบายการ กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐยังไม่ชัดเจน
รวมทั้งกังวลค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว
จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและระบบเศรษฐกิจ และผลกระทบจากน้ำท่วม
ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจ
อยู่ที่ 77.2 ลดจาก ต.ค. อยู่ที่ 77.7
ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำอยู่ที่ 78.1 จาก 78.4
และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 94.2 จาก 94.4
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค อยู่ที่ 83.1 ต่ำกว่าระดับ 100
ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 29 ลดจาก 83.5
ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคยังไม่มั่นใจสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
และไม่มีสัญญาณว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันอยู่ระดับ 79.5 ต่ำกว่าระดับ
100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 35 จาก 79.8
และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตอยู่ระดับ 81.9 ต่ำกว่าระดับ 100
ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 28 จาก 82.3
ซึ่งรัฐบาลจะต้องเร่งฟื้นความเชื่อมั่นกลับคืนมาให้ได้ภายในไตรมาส 2
เพราะเศรษฐกิจไทยปีหน้าฝากความหวังไว้ที่ภาคส่งออกไม่ได้
เนื่องจากได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่า
แต่ปัจจัยที่จะมากระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัว คือการบริโภคและการลงทุน
ดังนั้นไตรมาส 1 รัฐต้องเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 50
เพื่อเดินหน้าโครงการขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจคท์) ให้เป็นรูปธรรม
แม้จะมีปัจจัยบวกจากระดับราคาน้ำ มันดีเซลลดลง
สถานการณ์การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่จากผลกระทบค่าเงินบาท
ผลกระทบน้ำท่วม และความไม่ชัดเจนของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
ส่งผลให้การบริโภคที่คาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งในช่วงต้นปีใหม่ต้องเลื่อนออกไปเป็นฟื้นปลายไตรมาส
1 แทน ทำให้คาดว่าช่วงเทศกาลปีใหม่ บรรยา กาศการซื้อสินค้าคงไม่คึกคัก
เพราะช่วงฮันนี มูนของรัฐบาลหมดลงไปแล้ว
ส่วนเศรษฐกิจไทยปีหน้าจะดีกว่าปีนี้เล็กน้อย โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ 4.7%
จากปีนี้ คาดว่า ขยายตัว 4.5% แต่ยังมีปัจจัยน่ากังวลด้านการเมือง
ซึ่งแม้คลื่นใต้น้ำจะนิ่งแล้ว แต่กลับมี ประเด็นที่รัฐมนตรีในรัฐบาล
ยังมีปัญหาที่เป็นประเด็นสังคมคาใจอยู่ เช่น กรณี อสมท หวยบนดิน
และการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ
ซึ่งอาจเป็นแรงกดดันให้การเมืองมีปัญหาได้ในอนาคต
สำหรับข้อเสนอที่เอกชนให้ลดดอกเบี้ยเพื่อแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่านั้น
ไม่เห็นด้วย เพราะอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด
เพราะการลดดอกเบี้ยอาจมองได้ว่า เศรษฐกิจมีปัญหาจนต้อง กระตุ้นเศรษฐกิจ
และทำให้มีเงินไหลเข้าตลาดหุ้น ซึ่งในที่สุดไม่ใช่การแก้ปัญหาอย่างตรงจุด
สิ่งสำคัญคือ ต้องดูการไหลเข้าออกของเงินว่าผิดปกติหรือไม่
หากเกิดการเก็งกำไร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ควรออกมาตรการเพื่อแก้ปัญหาที่สาเหตุ
แต่หากไม่พบสิ่งผิดปกติก็ควรจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด
หากมีเม็ดเงินไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โอกาสที่ค่าเงินบาทจะทะลุ 35
บาทต่อดอลลาร์ และอาจส่งผลให้ค่าเงินบาทปีหน้ามีโอกาสแข็งค่าถึง 34
บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ.
|
|
|
|
ที่มา
นสพ.โพสท์ทูเดย์
วันที่ :
14 ธันวาคม 2549 |
|
|