ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล |
| |
|
"พาณิชย์"
ลดเป้าส่งออกปี"50
เหลือ
12.5%
กระทบบาทแข็ง |
|
|
กระทรวงพาณิชย์ได้ประมาณการการค้าระหว่างประเทศของไทยในปี 2550
ว่า การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 10-12
จากเป้าหมายการส่งออกที่กำหนดไว้ร้อยละ 12.5
คิดเป็นมูลค่าประมาณ 145,220
ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการนำเข้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 10
คิดเป็นมูลค่าประมาณ 132,000
ล้านเหรียญ เท่ากับไทยมีโอกาสได้ดุลการค้ามูลค่า 13,000-15,000
ล้านเหรียญ
ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า
ประมาณการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์จะสูงกว่าหน่วยงานอื่นๆ
ที่เคยประมาณการไว้ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร้อยละ 6-9,
สำนักงานเศรษฐกิจฯร้อยละ 9,
สำนักงานเศรษฐกิจการคลังร้อยละ 9.2-11.2
และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยร้อยละ 10
สำหรับปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการส่งออกของไทย ได้แก่
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก "ชะลอตัว" ลงจากร้อยละ 5.1
เหลือร้อยละ 4.9
ทำให้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของไทยโดยเฉพาะตลาดหลักๆ
มีการปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน อาทิ สหรัฐขยายตัวร้อยละ 2.9,
ญี่ปุ่น-สหภาพยุโรปขยายตัวประมาณร้อยละ 3,
จีนขยายตัวร้อยละ 10,
อินเดียขยายตัวร้อยละ 7.3
ส่วนอัตราการขยายตัวของการการค้าโลกคาดว่าจะปรับตัวลดลงเหลือร้อยละ
7.6 จากเดิมร้อยละ 8.9
ส่วนปัจจัยจากอัตราแลกเปลี่ยนนั้น สาเหตุของการแข็งค่าเกิดจาก 1)เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง
ได้รับความเชื่อถือจากต่างชาติ 2)มีการเก็งกำไรค่าเงินบาทมากขึ้น
เป็นภาวะตรงกันข้ามกับช่วงฟองสบู่แตก ที่ค่าบาทอ่อน แต่ตอนนี้บาทแข็ง
3)เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อน จากปัญหาภายใน เช่น
การขาดดุลงบประมาณ
ฉะนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้มีการออกมาตรการช่วยเหลือเบื้องต้น เช่น
ขยายเวลาถือครองบาทจาก 7 วัน เป็น 15
วัน เพื่อจำกัดซัพพลายบาท
รวมถึงการแทรกแซงอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับระบบ
"อัตราแลกเปลี่ยนมันแข็งค่าเกินไป
แต่ไม่ใช่สิ่งที่น่าตกใจ เราต้องมาดูว่าจะทำอย่างไร
กระทรวงพาณิชย์พยายามผลักดันให้กำหนดมาตรการทางภาษี เช่น ลดภาษี
หรือชดเชยภาษี เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระผู้ประกอบการ เช่น
หากมีการลงทุนใช้เทคโนโลยีการผลิต การวิจัยและพัฒนา น่าจะนำมาหักลดภาษีได้
2.5 เท่า จากเดิม 2 เท่า
นอกจากนี้ผู้ส่งออกต้องประกันความเสี่ยง แสวงหาตลาดใหม่
รวมถึงเปลี่ยนส่งออกโดยใช้เงินสกุลอื่นแทนเหรียญสหรัฐ
ส่วนในระยะยาวที่สำคัญจะต้องเสริมศักยภาพในการผลิต
โดยใช้เทคโนโลยีแทนการใช้อาศัยแรงงาน
ศึกษาแนวทางการลงทุนในต่างประเทศเช่นเดียวกับที่ประเทศญี่ปุ่นเคยทำเมื่อประสบปัญหาค่าเงินเยนในอดีต
การกระจายแหล่งส่งออก เป็นต้น" นายเกริกไกร จีระแพทย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าว
ล่าสุด
กรมส่งเสริมการส่งออกได้ศึกษาผลกระทบจากการปรับแข็งค่าเงินบาทต่อภาคอุตสาหกรรม
พบว่าอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างมากคือ
อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (local content)
ร้อยละ 70-80 เช่น อุตสาหกรรมกุ้ง,
ผักและผลไม้แปรรูป ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7
ของการส่งออก
ขณะที่อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศลำดับรองลงมา
รวมถึงอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในการนำเข้าเป็นหลัก
มีสัดส่วนการส่งออกสูงกว่า
ขณะที่ นายราเชนทร์
พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า การส่งออกในปี 2550
ในตลาดเดิมคาดว่าจะมีการขยายตัวใกล้เคียงกับปีนี้
ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 57 ทั้งในตลาดสหภาพยุโรป-สหรัฐ-ญี่ปุ่น
ส่วนตลาดใหม่ก็เช่นเดียวกัน
หน้า 8
|
|
|
|
ที่มา
ประชาชาติ
วันที่ :
11 ธันวาคม 2549 |
|
|