ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล |
| |
|
ปกป้องอุตฯภายในจากสินค้านำเข้า
เร่งเสนอครม.ออกกฎหมายเซฟการ์ด |
|
|
"เกริกไกร"
เตรียมเสนอ ครม.ผ่านร่าง
พ.ร.บ.การปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. ...
หลังลากยาวมาตั้งแต่ยุครัฐบาลทักษิณ เพื่อใช้บังคับแทน
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการกำหนดมาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น
พ.ศ 2542
ที่ยังมีข้อจำกัดและขาดความคล่องตัวอยู่
หวังใช้ป้องกันการทะลักเข้ามาของสินค้าตามข้อตกลง
FTA/WTO
ที่ไทยมีพันธกรณีต้องลดภาษีให้กับประเทศสมาชิก
ผู้สื่อข่าว
"ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า กระทรวงพาณิชย์ เตรียมนำร่าง
พ.ร.บ.การปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. ...
หรือที่รู้จักกันดีว่า "กฎหมายเซฟการ์ด" เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
เพื่อขอความเห็นชอบโดยเร็วที่สุดในเดือนธันวาคมนี้
โดยร่างกฎหมายฉบับนี้จะประกอบไปด้วย 11
หมวด
51 มาตรา
ปรับปรุงเพิ่มเติมจากประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการกำหนดมาตรการปกป้องการ
นำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ.2542
สาเหตุที่ต้องมีการเร่งยกร่าง
พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ป้องกันความเสียหายและสร้างมาตรการเยียวยาผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในของไทยจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น
เนื่องจากประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีความตกลงทางด้านการค้าระหว่างประเทศทั้งระดับพหุภาคี-ทวิภาคีเป็นจำนวนมาก
อาทิ ความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก (WTO),
ความตกลงเปิดเขตการค้าเสรี
(FTA)
มีพันธกรณีที่จะต้องลดภาษีนำเข้าตามข้อตกลงเหล่านี้
ส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น
"เดิมไทยมีการประกาศใช้กฎกระทรวงว่าด้วยเซฟการ์ด
พ.ศ. 2542
ซึ่งถือว่าได้รับการยอมรับตามความตกลงระหว่างประเทศแล้ว
แต่ก็ยังมี ข้อจำกัดหลายเรื่อง เช่น อำนาจและขอบเขตที่จะกำหนดมาตรการปกป้อง
ทำให้ขาดความคล่องตัว จนเกิดปัญหาความล่าช้า
ผมเชื่อว่าหากกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้จะช่วยลดปัญหาดังกล่าว ได้"
หนึ่งในทีมร่างกฎหมายกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"
ทั้งนี้ร่าง
พ.ร.บ.การปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นได้จัดทำเสร็จสิ้นตั้งแต่สมัยนายสมคิด
จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แล้ว
แต่มีการเปลี่ยนรัฐบาลเสียก่อนจึงได้ "ชะลอไว้" พอมาถึงนายเกริกไกร
จีระแพทย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ก็มีนโยบายที่จะผลักดันให้กฎหมายฉบับนี้เสร็จสิ้นให้ได้ภายในระยะ
1 ปี
โดยหลังจากส่งเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.แล้ว ก็จะนำเข้าหารือกฤษฎีกา
และส่งต่อไปให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้การรับรองก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ร่าง
พ.ร.บ.การปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ. ...ที่ได้ปรับปรุงแล้ว
ยังคงมีสาระสำคัญใกล้เคียงกับ
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการกำหนดมาตรการการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น
พ.ศ.2542
โดยในส่วนของการบังคับใช้กฎหมายจะต้องตั้งคณะกรรมการพิจารณามาตรการปกป้องซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน
ร่วมกับกรรมการประกอบด้วยปลัดกระทรวงพาณิชย์,
ผู้แทนกระทรวงการคลัง-กระทรวงการต่างประเทศ-กรมการค้าภายใน-กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
และ ผู้ทรงคุณวุฒิอีก 7
คน
นอกจากนี้เกณฑ์การพิจารณาความเสียหาย อย่างร้ายแรงที่เกิดแก่อุตสาหกรรม
(มาตรา 16-17)
ก็ยังกำหนด "ปัจจัย" ที่จะใช้ในการพิจารณาเหมือนเดิม อาทิ
อัตราและปริมาณของการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น,
ส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้น,
การเปลี่ยนแปลงของระดับการขาย/ผลผลิต/ผลิตภาพ,
กำลังการผลิตที่ใช้จริง,
กำไร/ ขาดทุน และปัจจัยการจ้างงาน
เป็นต้น
สำหรับรายละเอียดของร่าง
พ.ร.บ.การปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น พ.ศ.
...ที่ได้ปรับปรุงประกอบด้วย 11
หมวด 51
มาตรา ได้แก่ หมวดที่
1
การพิจารณากำหนดมาตรการปกป้อง มาตราที่ 6-21
หมวดที่
2
การยุติการพิจารณากำหนดมาตรการปกป้อง มาตรา
22 หมวดที่
3
การกำหนดมาตรการปกป้อง ประกอบด้วย มาตรา
23-32 หมวดที่
4
ระยะเวลาในการพิจารณากำหนดมาตรการปกป้อง มาตรา
33 หมวดที่
5
ระยะเวลาการใช้มาตรการปกป้อง และการทบทวน ประกอบด้วย มาตรา
34-38
หมวดที่
6
การชดเชยผลกระทบจากการใช้มาตรการปกป้อง ประกอบด้วย มาตรา
40 หมวดที่
7
การประกาศเผยแพร่ผลการไต่สวน ประกอบด้วยมาตรา
41 หมวดที่
8
การอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาล ประกอบด้วยมาตรา
42 หมวดที่
9
มาตรการปกป้องตามความตกลงการค้าระหว่างประเทศ ประกอบด้วยมาตรา
43 หมวดที่
10
คณะกรรมการ หมายถึง คณะกรรมการพิจารณามาตรการปกป้อง และหมวดที่
11
บทเฉพาะกาล ประกอบด้วยมาตรา 51
หน้า
8
|
|
|
|
ที่มา
ประชาชาติ
วันที่ :
11 ธันวาคม 2549 |
|
|