Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
.

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)
 

ผู้ส่งออกผวาถูกบังคับให้ทำกุ้งต้มเปื่อย ออสซี่เล่นงานกุ้งไทยหาว่ามีโรคระบาด

 
 


ออสเตรเลียเดินเกม เตรียมกีดกันการนำเข้ากุ้งจากประเทศไทย ด้วยการเผยแพร่รายงานประเมินความเสี่ยงจากการนำเข้ากุ้งที่อาจติดโรคระบาด 5 ชนิด ประโคมข่าวทางโทรทัศน์ครึกโครม ด้านผู้ส่งออกกุ้งไทยหวั่น สุดท้ายจะเหมือนกับกรณี "ไก่ต้มเปื่อย" ส่วนกรมประมงยืนยัน ยังไม่มีการห้ามนำเข้า แต่พร้อมที่จะเปิดเวทีการประชุมคณะกรรมการการค้าไทย-ออสเตรเลีย ทำความเข้าใจ

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานเข้ามาว่า รัฐบาลออสเตรเลีย โดย Biosecurity Australia ได้เผยแพร่รายงาน (Biosecurity Australia Policy Memorandum 2006/35 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2549 เรื่องการประเมินความเสี่ยงในกุ้งและผลิตภัณฑ์จากกุ้ง (Revised Draft Import Risk Analysis Report for Prawns and Prawn Products) เพื่อให้หน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการนำเข้ากุ้งที่ติดโรค 5 ชนิดคือ

โรคจุดขาว (White Sport Syndrome Virus หรือ WSSV), โรคหัวเหลือง (Yellowhead Virus หรือ YHV), โรคแคระแกร็น (Infectious Hypodermal and Haematopoietic Necrosis Virus หรือ IHHNV), โรคทอร่าซินโดรม (Taura Syndrome Virus หรือ TSV) และ โรค Necrotising Hepatopancreatitis Bacterium หรือ NHPB)

โดยให้หน่วยงาน/ผู้เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นถึงรายงานฉบับดังกล่าวได้จนกระทั่งถึงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550 และทันทีที่รายงานฉบับนี้แพร่หลายออกไป ก็เกิดความเคลื่อนไหวในการต่อต้านการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ รวมถึงกุ้งที่ส่งออกจากประเทศไทย ในทำนองที่ว่า กุ้งนำเข้าเป็นกุ้งที่เสี่ยงต่อการติดโรคร้ายแรง มีฐานการต่อต้านการนำเข้ากุ้งอยู่ที่รัฐควีนส์แลนด์ ซึ่งมีอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงกุ้งที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลียอยู่ด้วย

และเมื่อรายงานข่าวได้แพร่มาถึงประเทศไทย ก็ได้เกิดความ "ตื่นตระหนก" ขึ้นในหมู่ผู้เลี้ยงและผู้ส่งออกกุ้ง (ห้องเย็น) ทันที

ทางชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี โดยนายเอกพจน์ ยอดพินิจ ในฐานะตัวแทนชมรมผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศได้ออกข่าว "ออสเตรเลียช็อกโลก ประกาศห้ามนำเข้ากุ้งจากทุกประเทศรวมทั้งไทย" ในวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมานี้ โดยนายเอกพจน์กล่าวว่า รัฐบาลออสเตรเลียได้ประกาศห้ามนำเข้าสินค้ากุ้งโดยปัจจุบันทันด่วนแล้ว และไม่ยอมฟัง เหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น

ส่งผลให้ข่าวที่ออกมาสร้างความแตกตื่นไป ในวงกว้าง โดยยังไม่มีการตรวจสอบให้ดีว่า ออสเตรเลียห้ามนำเข้ากุ้งแล้วจริงหรือไม่ ? พร้อมกับเตรียมยื่นหนังสือคัดค้านไปยังสถานเอก อัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยทันที

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สอบถามไปยังนายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง กล่าวถึงกรณีนี้ว่า การห้ามนำเข้ากุ้งเพราะกลัวความเสี่ยงที่จะติดโรคนั้น เป็นเพียงข่าวที่นำเสนอโดยโทรทัศน์ท้องถิ่นเท่านั้น ไม่ใช่นโยบายของรัฐบาลออสเตรเลีย ขณะที่ตัวนายกสมาคมผู้นำเข้ากุ้งออสเตรเลียที่เข้ามาดูงานในประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ก็ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าวเลย และนายกสมาคมฯได้โทรศัพท์กลับไปสอบถามที่ ออสเตรเลีย และได้แจ้งยืนยันกับตนว่า ไม่ใช่นโยบายของรัฐบาล ปัจจุบันสินค้ากุ้งจากไทยยังสามารถนำเข้าประเทศออสเตรเลียได้ตามปกติ

ที่ผ่านมาผู้ส่งออกกุ้งของไทยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของออสเตรเลียทุกอย่าง ตั้งแต่การตรวจโรคและอื่นๆ กรมประมง ตรวจสอบรับรองได้ว่า กุ้งไทยที่ส่งออกไปออสเตรเลียปลอดโรคเกือบ 100% เพราะตรวจเช็กอย่างละเอียดทุกขั้นตอน ที่ผ่านมากรมประมงเปิดให้บริการตรวจสอบคุณภาพกุ้งจำนวนมาก โดยการตรวจสอบบางรายการมีค่าใช้จ่ายต้นทุนสูง 400-500 บาท/ ตัวอย่าง เมื่อสินค้าไปถึงปลายทาง ออสเตรเลียก็มีการสุ่มตรวจสอบซ้ำอีกรอบ ดังนั้นข้อกล่าวหาว่ากุ้งไทยมีความเสี่ยงเรื่องโรคระบาด จึงเป็น "สิ่งที่ยอมรับไม่ได้" ประเทศอื่นๆก็ไม่ได้ตรวจสอบการส่งออกที่เข้มงวดอย่างนี้มีเพียงประเทศไทยเพียงแห่งเดียวที่ทำ

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 13 ธันวาคมนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการการค้าไทย-ออสเตรเลีย ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจาก กรมประมง, สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร (มกอช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างการประชุม ฝ่ายไทยจะเสนอมาตรการป้องกันสิทธิสินค้ากุ้งไทยในตลาดออสเตรเลีย เนื่องจากใน Revised Draft Import Risk Analysis Report for Prawns and Prawn Products ได้เปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมทั้งไทย แสดงความคิดเห็นโต้แย้งได้จนถึงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550

รัฐบาลไทยจะพยายามเจรจาต่อรองกับออสเตรเลีย เพื่อรักษาตลาดกุ้งไทยไม่ให้ถูก "แบน" ทั้งนี้กฎระเบียบใหม่ของออสเตรเลียดังกล่าวจะไม่ครอบคลุมถึงการนำเข้ากุ้งปรุงสุก จากประเทศไทย ซึ่งเป็นสินค้ากลุ่มใหญ่ที่ไทยส่งเข้าไปจำหน่ายในออสเตรเลีย ที่ผ่านมาแม้รัฐบาลออสเตรเลียไม่ได้แบนนำเข้าสินค้ากุ้งจากไทย แต่หลักเกณฑ์การนำเข้ากุ้งของออสเตรเลียมีหลายข้อที่ปฏิบัติไม่ได้ และเข้าข่ายกีดกันทางการค้า มีวัตถุประสงค์ที่จะตอบโต้สินค้ากุ้งไทยที่มีราคาถูกกว่า

โดยหลักเกณฑ์การนำเข้าที่ออสเตรเลียจะนำมาใช้ มีลักษณะเดียวกับมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) ของสหรัฐอเมริกา แต่ปฏิบัติได้ยากกว่า ขอยืนยันว่า ไทยจะพยายามปกป้องสิทธิในการส่งออกกุ้งไทยให้ถึงที่สุด หากไม่ได้รับความเป็นธรรม จะยื่นหนังสือร้องเรียนถึงองค์การการค้าโลก (WTO) ต่อไป

ขณะที่นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้รับทราบเรื่องดังกล่าวจาก สมาคมผู้นำเข้ากุ้งของออสเตรเลีย เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีหนังสือยืนยันจากรัฐบาลออสเตรเลียมา อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ที่ผ่านมาทางประเทศออสเตรเลียได้พยายามสร้างเงื่อนไขต่างๆ ในการกีดกันทางการค้ากับกุ้งของไทยมาประมาณ 1 ปี กว่าแล้ว

เนื่องจากชาวประมงผู้เลี้ยงกุ้งของประเทศออสเตรเลียได้รับผลกระทบจากกุ้งไทยที่ส่งเข้าไปขายมีราคาถูกกว่ากุ้งของออสเตรเลีย ดังกล่าวทางชาวประมงออสเตรเลียจึงไปยื่นเรื่องต่อรัฐบาลออสเตรเลีย และอ้างว่า หากมีการนำเข้ากุ้งจากประเทศไทยอาจทำให้โรคจากกุ้งของไทยมาติดกุ้งของออสเตรเลียได้

ดังนั้นหน่วยงานที่ควบคุมโรคของออสเตรเลียจึงได้ติดต่อมาเมื่อประมาณ 1 ปีกว่ามาแล้ว ขอให้กรมประมง ออกใบรับรองการปลอดเชื้อโรค 5 ชนิดในกุ้ง ซึ่งทางกรมประมงและผู้ส่งออกก็ปฏิบัติตามสิ่งที่รัฐบาลออสเตรเลียเรียกร้อง

ส่วนนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า ตนยังไม่ทราบนโยบายเรื่องนี้ชัดเจน คงต้องขอเวลาเช็กข้อมูลก่อน แต่หากเป็นจริงคงยอมรับไม่ได้ เพราะ หากยอมให้ประเทศออสเตรเลียทำได้ อีกหน่อยประเทศอื่นๆ ที่ต้องการกีดกันกุ้งไทยจะทำในลักษณะเดียวกันอีก

ล่าสุดมีรายงานเข้ามาว่า ผู้เลี้ยงกุ้งไทย เกิดความกังวลว่า รัฐบาลออสเตรเลียอ้างจะใช้รายงานความเสี่ยงฉบับนี้มา "บังคับ" ให้กุ้งไทยที่จะส่งเข้าไปจำหน่ายในออสเตรเลีย จะต้องเป็นกุ้งต้มสุก ที่ผ่านความร้อนอย่างมาก เหมือนกับกรณีไก่ต้มสุก ที่ต้มจนกลายเป็นไก่เปื่อย เป็นปัญหามาจนทุกวันนี้

หน้า 6

 


 

 
   

ที่มา   ประชาชาติ

วันที่ : 11 ธันวาคม 2549

 
 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 28-Feb-2008.