Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
.

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

อีโคคาร์…เซกเมนท์ใหม่ของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย

 
 
         ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล
(อีโคคาร์)  ด้วยการกำหนดภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ดังกล่าวในอัตราเพียงร้อยละ 17   โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2552  ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงเวลาที่รถอีโคคาร์มีการผลิตออกสู่ตลาด  ทั้งนี้ได้มีการกำหนดเงื่อนไขด้านคุณสมบัติของรถยนต์ประหยัดพลังงาน ไว้ดังนี้
         
          1) มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 1,300 ลูกบาศก์เซนติเมตร สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน หรือ
              มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 1,400 ลูกบาศก์เซนติเมตร สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
         
          2)   มีอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไม่เกิน 5 ลิตร/100 กิโลเมตร หรือ 20 กิโลเมตรต่อลิตร
   
          3)   มีมาตรฐานมลพิษอยู่ในระดับยูโร  ซึ่งรวมทั้งมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากท่อไอเสียต้องไม่เกิน 120 กรัม/กิโลเมตร  มีมาตรฐานความปลอดภัยในด้านการชนตามข้อกำหนดของของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งองค์การสหประชาชาติสำหรับภาคพื้นยุโรป หรือ UNECE (United Nations Economic Commission for Europe)  
                   
   ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่าการอนุมัติแผนส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล(อีโคคาร์)ด้วยการให้สิ่งจูงใจด้านภาษีสรรพสามิตในอัตราเพียงร้อยละ17 เทียบกับอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งทั่วไปที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างร้อยละ 30-50 บนเงื่อนไขการกำหนดสเปกของรถอีโคคาร์ดังกล่าว   จึงเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศสร้างเซกเมนท์ (Segment) รถยนต์ประเภทใหม่ในตลาดอย่างชัดเจน เพราะปัจจุบันอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยแทบไม่มีการผลิตรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ต่ำกว่า 1,400 ซีซี. หรือได้มาตรฐานการปล่อยมลพิษตลอดจน มาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงครบถ้วนตามสเปกของอีโคคาร์เลย  อย่างไรก็ตามตลาดรถยนต์ในประเทศจะตอบรับรถยนต์เซกเมนท์ใหม่นี้มากน้อยเพียงใดนั้น  ขึ้นกับปัจจัยหลักๆ  อาทิ
1. ปัจจัยด้านราคารถยนต์ : จากการที่รถอีโคคาร์ถูกกำหนดให้เสียภาษีสรรพสามิตรถยนต์ในอัตราเพียงร้อยละ17   เปรียบเทียบกับอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กทั่วไปที่ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 30  และรถยนต์นั่งขนาดเล็กที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ชนิด E 20 ที่จะเสียภาษีสรรพสามิตในอัตราร้อยละ 25 นั้น จะมีผลทำให้ต้นทุนและราคาจำหน่ายรถยนต์อีโคคาร์อยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำโดยเปรียบเทียบ อันเป็นการสนับสนุนให้บริษัทรถยนต์ต่างๆสนใจที่จะผลิตรถยนต์อีโคคาร์ อีกทั้งเป็นการจูงใจให้ผู้บริโภคหันมานิยมรถยนต์ประเภทนี้   คาดว่าราคารถอีโคคาร์น่าจะอยู่ที่ประมาณคันละ 4 แสนบาท ซึ่งน่าจะทำให้อีโคคาร์สามารถสร้างเซกเมนท์ของตัวเองได้ในระดับหนึ่ง
        
2. ปัจจัยด้านราคาน้ำมัน : จากแนวโน้มระยะยาวที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกและภายในประเทศจะยังคงมีความผันผวนและอยู่ในระดับสูง จะส่งผลให้ผู้บริโภคหันมานิยมใช้รถยนต์ที่มีคุณสมบัติในการประหยัดน้ำมันกันมากขึ้น ซึ่งน่าจะทำให้รถยนต์อีโคคาร์สามารถแจ้งเกิดในตลาดรถยนต์เมืองไทยได้       
 
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่าการมีรถอีโคคาร์เป็นเซกเมนท์ใหม่ในตลาดรถยนต์ของไทย น่าจะส่งผลดีในด้านต่างๆ
ดังนี้         
 
ผลดีต่อผู้บริโภค
การกำเนิดรถอีโคคาร์ในตลาดรถยนต์ไทยจะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น   ยิ่งไปกว่านั้นจากการที่ภาครัฐได้กำหนดเงื่อนไขคุณภาพมาตรฐานไว้สำหรับรถอีโคคาร์ในระดับที่สูงมาก จะทำให้ผู้บริโภคทุกระดับมีโอกาสใช้ยานยนต์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งการประหยัดเชื้อเพลิง การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสูง แต่มีราคาที่ประหยัด      
ผลดีต่ออุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน
การกำเนิดรถอีโคคาร์จะทำให้มีการขยายกำลังการผลิตรถยนต์ในไทยเพิ่มมากขึ้นทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง 
 
ผลดีต่อสังคมและส่วนรวม
การที่รัฐกำหนดเงื่อนไขมาตรฐานระดับสูงไว้สำหรับรถอีโคคาร์เป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐในการประหยัดพลังงาน   การควบคุมมลพิษและดูแลสิ่งแวดล้อม  อันจะเป็นประโยชน์ต่อต่อสังคมและสวัสดิภาพของประชาชนส่วนรวม
อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ก็เห็นว่าการมีรถอีโคคาร์เป็นเซกเมนท์ใหม่ในตลาดรถยนต์ไทย อาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากความนิยมในรถอีโคคาร์ส่งผลกระตุ้นให้ผู้ที่ยังไม่มีรถยนต์เป็นของตนเอง หันมาซื้อรถยนต์ส่วนตัวที่มีราคาถูกลงกันมากขึ้นๆ รวมทั้งจูงใจให้ผู้บริโภคที่มีรถยนต์อยู่แล้ว ซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้นในลักษณะเป็นรถยนต์คันที่ 2  ซึ่งก็อาจจะไม่ช่วยให้มีการประหยัดพลังงานได้เท่าที่คาดหวังไว้ดังนั้น รัฐจึงควรเร่งดำเนินการแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการส่วนขยายรถไฟฟ้ามวลชนให้ครอบคลุมกรุงเทพฯ และพื้นที่ใกล้เคียงโดยเร่งด่วน ตลอดจนพัฒนาระบบเครือข่ายคมนาคมขนส่งซึ่งรวมไปถึงการปรับปรุงบริการรถโดยสารสาธารณะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชน 
 
 
 

ย้อนกลับ:

 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2001 

           วันที่ 15 มิถุนายน 2550

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 28-Feb-2008.