Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
.

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

อัญมณีและเครื่องประดับไทย : เร่งใช้ประโยชน์จากข้อตกลงJTEPA...เพิ่มมูลค่าส่งออก

   

      เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 ประเทศไทยได้มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในช่วงเดือนตุลาคม ปี 2550  โดยความตกลงดังกล่าวครอบคลุมการเปิดเสรีด้านการค้าทั้งสินค้า การค้าบริการ การลงทุน  รวมถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ  ซึ่งสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยก็เป็นหนึ่งในรายการสินค้าที่จะได้รับการลดภาษีจากญี่ปุ่นเหลือร้อยละ 0 จากเดิมที่จัดเก็บอยู่ระหว่างร้อยละ 2.7-10.0   ด้วย    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่าปัจจัยดังกล่าวน่าจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในปี 2550 ในการขยายมูลค่าส่งออกในตลาดญี่ปุ่นที่มีมูลค่านำเข้าสินค้ากลุ่มดังกล่าวจากตลาดโลกไม่ต่ำกว่าปีละ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯได้บ้างระดับหนึ่ง ภายหลังจากที่ในปี 2549 ที่ผ่านมา การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยไปยังตลาดญี่ปุ่นคิดเป็นมูลค่า 6,243.5 ล้านบาท ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.9 ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลมาจากค่าเงินบาทของไทยที่แข็งกว่าค่าเงินสกุลอื่นๆของคู่แข่งโดยเปรียบเทียบ   โดยคาดว่าผลจากข้อตกลงดังกล่าวจะมีส่วนทำให้สินค้าไทยราคาถูกลงในสายตาของผู้นำเข้าญี่ปุ่น และมีแนวโน้มให้ผู้ประกอบการของไทยมีโอกาสร่วมดำเนินธุรกิจกับนักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่สนใจทำการค้ากับไทยเพิ่มขึ้น    

       ที่จะมีผลให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเรียนรู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคจากผู้ร่วมทุนชาวญี่ปุ่นตามมา อันจะนำไปสู่ความสามารถในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของสินค้ากลุ่มนี้ของไทยในตลาดญี่ปุ่นสูงขึ้นได้ ประกอบกับปัจจุบันเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 2550 ก็มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยจากรายงานล่าสุดของธนาคารกลางญี่ปุ่น พบว่าในไตรมาสแรกปี 2550 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวถึงร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน อันเป็นผลมาจากการขยายตัวของการบริโภคและการส่งออก  และชาวญี่ปุ่นเองก็มีประเพณีนิยมในการให้ของขวัญแก่กันและกัน  ซึ่งเครื่องประดับและอัญมณีมักจะเป็นสินค้าลำดับต้นๆ ที่คนญี่ปุ่นนิยมเลือกซื้อเป็นของขวัญมอบให้แก่กัน   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงคาดว่า ในปี 2550 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยไปตลาดญี่ปุ่นน่าจะปรับเพิ่มขึ้นได้ประมาณร้อยละ 5-10 หรือคิดเป็นมูลค่าการส่งออกประมาณ 6,500-7,000  ล้านบาท

 
   
 
 

ย้อนกลับ:

 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2002 

           วันที่ 15 มิถุนายน 2550

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 28-Feb-2008.