Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
.

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)
 

'ทฤษฏี 2 สูงทางเลือก สุดท้ายทางรอดของประเทศ'

 
 

 

     นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัดแสดง ปากฐาพิเศษหัวข้อ'ทฤษฏี 2 สูงทางเลือก สุดท้ายทางรอดของประเทศ 'ในงานสัมมนาทางเลือกสุดท้าย ทางรอดประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2551 ณ โรงแรมดุสิตธานี

ทางเลือกสุดท้ายของประไทยในมุมมองของผมต้อง   วันนี้เป็นอีกครั้งที่จะพูดถึงเกษตร ก่อนหน้านี้  น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พูดแล้วผมขอลงลึกในรายละเอียด หลังเลขาธิการ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติบอกว่า ยุคนี้เป็นยุคทองของสินค้าเกษตรใช่หรือไม่ขอขอยืนยันว่าใช่ครับ

ผมและผู้มีเกียรติ  ที่นั่งในนี้ ไม่มีใคร ที่ไม่เป็นเกษตรมาก่อน พวกเราเป็นลูกหลานเกษตรกร ทุกคน เพราะโลกนี้มาจากเกษตร และลองคิดดูสิว่า ผู้ที่มีบุญคุณคืออชาวนาที่ปลูกข้าวให้เราบริโภค ยากจนได้อย่างไร

เรื่องนี้ผมมีคำถามตลอดเวลาและวันนี้อยากจะหาคำตอบ

ไม่ต้องห่วงเรื่องราคาข้าวตกต่ำ

มีหลายคนห่วงเรื่องราคาข้าวจะลง เมื่อสูงแล้วราคาจะลง ซึ่งเรื่องจริง หากราคาข้าวจะลง ราคาน้ำมันจะลงก่อน และที่ถูกอาหารมนุษย์จะถูกกว่าอาหารเครื่องจักรได้อย่างไร เพราะหากเป็นอย่างนี้ผู้บริหารประเทศมีปัญหา จึงอยากฝากเรื่องนี้ถึงผู้บริหารประเทศ

ผมอยากยกย่องข้าราชการ ที่วันนี้แม้เกษตรกรจะยากจนแต่ประเทศไทยพัฒนาประเทศไปได้ไม่น้อยกว่าประเทศฟิลิปปินส์ , อินโดนีเวีย ,เขมร , ลาว ผมถือว่า ยังดีกว่าหากรัฐบาลเข้าใจว่า สินค้าเกษตรกร คือทรัพย์สมบติของชาติ หรือพืชที่ปลูกบนดิน เป็นน้ำมนบนดิน

ผมอยากชี้ให้เห็นว่า พวกเรามีหน้าที่ตอบแทนบุญคุณ ชาวนาที่เลี้ยงเราเติบโต โดยเฉพาะชาวนาปลูกขาว หากไม่มีน้ำมัน อยู่ได้แต่หากไม่มีข้าวอยู่ได้อย่างไร

มีบางท่าน หวังดีต่อชาวนา ห่วงว่า ถ้าวันนี้ราคาแพงทุกคนหันไปปลูกข้าว มากขึ้น เหมือนในประวัติศาสตร์ ห่วงว่าข้าวจะขายไม่ได้ ผมขอโอกาสนี้กราบเรียน ให้ข้อมูลสั้นๆ ว่า ทำไมข้าว จะไม่ลงราคายกเว้นราคาน้ำมัน ลง หรือยกเว้น ผู้บริหาร ๆ ผิดพลาด

ข้าวเปลือกทั้งประเทศ ตัวเลขจากทางการ ผลผลิตไร่ละ 448 กิโลกรัม  รัฐบาลบอกว่าข้าวเกวียน ละ 14,000 บาท   แต่ประกาศ แล้วไม่ได้ทำอะไร  เห็นชัดว่าผู้บริหาร ไม่สนใ จพูดอย่างทำอย่าง ได้

เกษตร ขายข้าวได้กิโลกรัมละสิบสี่บาท  เท่ากับมีรายได้  3, 750  บาท มากกว่าเมื่อก่อนที่ได้ประมาณหนึ่งพันบาท  

ชาวนา  หน้าสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน     ยากลำบากามาก  ต้องแบกของสุดลูกลูกตา ไมมีถนนเข้าไป 

ส่วนข้าวหอมมะล กิโลกรัม  20 บาท  ปลูกได้ 400 กิโลกรัม ต่อไร่  ได้รายได้  4,500 บาท   หากรัฐบาลงทุนทำเรื่องชลประทานปีหนึ่งปลูกข้าวได้ สองครั้งครึ่งหรือ  สามครั้งหากได้สองครั้งครึ่งจะได้ประมาณ 16,760หนึ่งหมื่นหกพันเจ็ดร้อยหกสิบลสาร

ส่วนยางพารา ราคากิโลกรัมละ  90 บาท จะได้ผลตอบแทน 24,300 บาทต่อไร่   

มันสำปะหลัง ผลผลิตต่อไร่ 3,500 กิโลกรัม ได้ผลตอบแทน 5, 000 บาทต่อไร่ ยังสูงกว่าข้าวหอมมะลิที่ได้ผลตอบแทน 4,500 บาทต่อไร่

 ส่วนอ้อยได้ผลผลิตต่อไร่ 10,000 กิโลกรัม  ราคากิโลกรัมละ 0.80 บาท  ได้ผลตอบแทน  1,342 บาท  

ปาล์ม ได้ผลผลิต่อไร่ 2,700 กิโลกรัม ได้ผลตอบแทนสุทธิ 8,175 บาท

 เหตุที่ผมเชื่อว่าราคาข้าวไม่มีวันลงเพราะพื้นที่ข้าวเหมาะกับปลูกปาล์ม มันสำปะหลัง ราคาล้วนแล้วแต่แพงกว่าข้าวทั้งนั้น แต่พื้นที่ปลูกมัน ข้าวโพด จะมาปลูกข้าวไม่ขึ้น

จากตรงนี้จะเห็นว่า การที่ข้าวจะถูกลงมีอีกทฤษฎี คือในโลกนี้มีการบริโภคข้าว ประมาณ 400 กว่าล้านตัน ประเทศส่งออกทำได้แค่  5 หรือ 6%  ไทยส่งออกประมาณ 9 ล้านตันเท่านั้น และผู้บรบริโภคเพิ่มขึ้นทุกปีแต่ผลผลิตๆ ไม่ทัน

  ในสงครามเวียดนาม ประเทศเวียดนามไม่ได้ปลูกข้าว วันนี้เป็นเบอร์2 ของโลกแต่ข้าวยังขาดแคลน

ทำอย่างไร ไม่ให้ข้าวถูก รัฐบาลต้องเข้ามาแนะนำ  ชี้แนะ  ต้องจับเป็นกลุ่มไปเจรจากับผู้ซื้อข้าว ไมใช่ให้คนส่วนใหญ่ไปเจรจากับคนส่วนน้อย ตรงนี้อยากฝากให้รัฐบาลช่วยดูว่าจะผนึกกันอย่างไรให้ไปขายแพงซื้อแพง

ในส่วนนักธุรกิจคิดว่า ซื้อถูกขาย ถูกง่าย ไม่เสี่ยงแต่หากซื้อแพง ขายแพง ยาก 

วันนี้ผู้ที่ทำธุรกิจข้าว ต้องตอบแทน บุญคุณที่ชาวนายากลำบากและเลี้ยงพวกเราเติบโต ตอ้งช่วยกันซื้อแพงขายแพง

มีบางทานถามว่า หากผู้ซื้อไม่ซื้อทำอย่าไร ผมขอกราบเรียนว่า ยิ่งข้าวจะแพง  400 ล้านกว่าตัน หากทุกประเทศกลัวแพงเก็บ10 % ประมาณ 40 ล้านตัน    มากกว่า ประเทศผู้ส่งออกรวมกัน อย่างไรก็ตามในส่วนไทยหากปีหนึ่งปลูกได้สองครั้งปีหนึ่ง ควรเก็บหนึ่ง อย่างไทยเก็บไว้ประมาณสี่เดือนอย่าขายหมดเพราะหากประชาชน กลัวว่าข้าวไม่มี  จะไม่มีข้าวขายให้ประชาชน

หากเราเก็บไว้ 5 ล้านตัน  แต่หากวิกฤตจริงๆ แล้วข้าวลงราคาเก็บจะมากขึ้น  ผมคิดว่า ขายน้อยดีกว่า ขายมาก แต่ราคาถูกเพราะที่เหลือเท่ากับเราได้ฟรี ไม่มีต้นทุน

แทนจะขายน 9 ล้านตัน สมมุติได้เงินประมาณแสนล้านแต่ขายแค่ 4 ล้านตัน ได้เงิน  แสนตัน แล้วยังมี 5 ล้านตันเหลือในสต็๋อกอีก

ต้องจับมือกับเวียดนาม ,จีน ,อินเดีย , พูดคุยกันว่า จะขายข้าวราคาเท่าไหร่ เราเป็นผู้กำหนดราคาขายไม่ใช่ให้ผู้ซื้อมากำหนด  ผมเชื่อมั่นว่าทำได้ 

หากจับมือกันขายแพงและขายน้อยที่เหลือแปรสภาพไปทำอย่างอื่นเหมือนนมผง ในยุโรปเมื่อมีราคาราคาถูก รัฐบาลอียูซื้อแพง นำมาย้อมสีแล้วขายมาทางเอเชีย ราคาไม่ลดลง ทำให้ผู้ผลิตนมได้ราคาคงที่ ทรัพย์สมบัติของชาติไม่หดตัวลง

ผมขอฝากว่า ในโลก ประเทศที่เจริญแล้ว ไม่แทรกแซงสินค้าเกษตรให้ถูกลง มีแต่ เอาเงินไปแทรกแซงให้สูงขึ้น

หากแทรกแซงให้ถูกลง สิ่งที่เกิดขึ้นคือเกษตรกรไม่มีเงินไปจับจ่าย เมื่อไม่มีเงินไปจับจ่าย ธุรกิจอุตสาหกรรม บริการ ทุกอย่าง ไม่หมุนสุดท้ายโรงงานต้องปิด แม่ค้าหาบเร่ มีปัญหา

หากคนส่วนใหญ่มีเงินไปจับจ่ายสิ่งที่จะเกิดขึ้นธุรกิจทุกอย่างเกิดขึ้น รวมทั้งไปจับจ่ายอย่างอื่นที่ผลิตในไทย รัฐบาลจะได้ภาษีทวีคุณ หากรัฐบาลทำให้สินค้าเกษตราสูงขึ้นผมเชื่อว่าทุกสินค้ากระเตื้องหมดจะทำให้ภาค ท่องที่ยว บริการ ได้ประโยชน์  ทำให้เกษตรกรมีรายได้แน่นอนซึ่งหากเป็นแบบนี้เกษตรกรจะยิ่งรวย

อย่าเชื่อผม ทุกท่านลองศึกษา ดูอเมริกา เกษตรกรจาก 100 เปอร์เซ็น แต่วันนี้เหลือ 1 เปอร์เซ็น แล้วทำไมประเทศเขามั่งคั่งรั่งรวย

ผมจะพูดอีกสูงหนึ่ง อีกสูงหนึ่ง มันอยู่ตรงนี้ ปัญหาคือเงินเฟ้อ ผมจะอธิบายอาจจะผิดก็ได้ นะครับเมื่อสินค้าเกษตรสูง มันคือทรัพย์สมบัติของเรา ประเทศที่มีน้ำมัน ๆ ยิ่งสูงเขายิ่งรวย รัฐบาลก็มีเงินจากภาษี จากการขายน้ำมัน ทำไม  เราไม่ใช้น้ำมันบนดิน

สองสูงคือต้องให้ เงินเดือนสูงเท่ากับน้ำมันบนดิน จะต้องไม่ต่ำกว่าน้ำมันที่ใช้เลี้ยงเครื่องจักร ถ้าทำอย่างนี้ไม่ใช่เงินเฟ้อ

เรามีทรัพย์สมบัติของเรา ๆ มีเงินเดือน สิ่งที่น่ากลัวคือ มีเงินแต่ไม่มีของให้ซื้อ อย่างนั้น เรียกเงินเฟ้อ แต่มันหมดสมัยแล้ว

การให้เงินเดือนสูงและสินคาเกษตรปรับขึ้นตามความเป็นจริง ฐานเงินเดือนปรับตาม ถึงจุดหนึ่งจะมีความสมดุล ถ้าปรับสินค้าแต่เงินเดือนไม่ปรับตาม นั่นอันตราย

อเมริกา จึงได้ลดภาษี เพราะกลัวคนไม่จับจ่ายใช้สอย และรัฐจะได้ภาษีน้อยลง แต่ลดภาษี มีคนจับจ่ายใช้สอย รัฐจะได้รายได้ มากขึ้น

ทำไมเราไม่ดูมาตรการต่างๆ ของโลกว่า ทำไมเขาลด ทำไมรัฐบาลประเทศญีปุ่น ซึ่งจนที่สุดในโลก พูดอย่างนี้อาจตกใจเพราะเขามีหนี้มากที่สุด แต่หนี้รัฐบาลเป็นหนี้ของประชาชน เพราะเขาฉลาดให้สินค้าและเงินเดือนสูง แต่หากลบกลบแล้วมีรายได้มากกว่าคนอเมริกา

อเมริการายได้ต่อหัว น้อยกว่า  สินค้าถูกว่า

ทำไมญีปุ่นทำ2 สูงเพราะเมื่อราคาสินค้าแพง รัฐบาล ก็เอาสินค้าไปขาย ได้กำไรกลับมาลงทุน เมื่อประชาชนมีเงินเดือน ให้ของแพงไม่เป็นไรเพราะมีเงินในกระเป๋า แต่คนสงสารเงิน เห็นเงินมีค่า จึงไม่อยากใช้ รัฐก็กู้เงินจากประชาชนด้วยดอกเบี้ยต่ำให้รัฐตระหนักว่า เงินมาจากกู้จากประชาชน เวลาจะใช้อะไร ต้องมีประสิทธิภาพจึงบอกว่า รัฐบาลญีปุ่นฉลาดบางอย่างเราต้องเรียนรู้จากเขา 

เรื่ององค์การการค้าโลกที่คุยไม่จบเพราะทุกประเทศปกป้องราคาสินค้าเกษตร  ราาสินค้าเกษตร ไม่ลง อย่างกรณีญีปุ่นไทยไปขายข้าวราคาสิบบาทไม่ได้ แต่คนญี่ปุ่น กินข้าวกิโลกรัมละสองร้อยบาท เพราะเขาต้องการปกป้องทรัพย์สินของประเทศ แต่ชาวนาไทย ยากจน ต้องขายที่ ไม่เหมือนชาวนาญีปุ่นไปเที่ยวทั่วโลกได้

สองสูง มีแต่ดีเพราะหากได้เงินเดือนสูงและข้าวแพง คนจะประหยัดเอาเงินเ  ร่างกายสุขภาพก็ดี ด้ว ยแต่หากข้าวถูก คนไม่ประหยัด

อย่างรองนายกฯพูดน้ำมันต้องปล่อยให้ลอยตัว แต่ทำไมสินค้าเกษตรไม่ปล่อยให้ลอยตัว อย่างนม รัฐบาลควบคุมมา 12 ปีเพิ่งจะปล่อยให้ลอยตัว ให้ขึ้นราคา

ดังนั้นทุกอย่างต้องให้สมดลุลสองสูงดีกว่าสองต่ำ เพราะประชาชนมีทางเลือก อย่างเช่น จะไปอุดหนุนไก่ไข่ ให้คนกินไก่ไข่หากปล่อยให้ราคาสูงตามธรรมชาติ แล้วขึ้นเงินเดือนให้กินไข่ ได้สองฟอง ผมเชื่อว่าหลายท่านจะประหยัด

หรือรัฐบาลจะไปช่วยเวลาน้ำท่วม อย่าไปช่วยเป็นของให้ประกาศช่วยเป็นเงิน1,000 หรือ2,000 บาท หากซื้อของไปช่วยจะรู้ได้อย่าง่ไร ว่า ชาวบ้านต้องการอะไร แล้วรั่วไหล หรือเปล่า หากให้เงิน ผมเชื่อว่าสตางค์เดียวก็ไม่รั่วไหล

ส่วนข้าวธงฟ้า ทำไปทำไม  แทนจะเอาเงินไปอุดหนุน เอาเงินส่วนนี้ไปขึ้นเงินดือนให้ผู้มีรายได้น้อย

อยากฝากรองนายกฯว่า หากขึ้นเงินต้องคิดถึงข้าราชการที่เกษียณไปแล้วด้วย ต้องยกย่อง ข้าราชการที่ช่วยพยุงประเทศให้เจริญ

ไทยโชคดี มีน้ำมันบนดินจึงอยากฝากท่านรองนายก ฯว่าเราน่าจะปล่อยให้เกษตรตัดต่อยีนส์ให้ก้าวไปอีกก้าวหนึ่ง ไม่ใช่ใช้วิธีแบบเก่า อย่างอเมริกา ตัดต่อยีนส์มานาน แล้ว

ผมอยากเล่าเรื่องตัดต่อยีนส์ให้ฟัง เรื่อง ตัดต่อยีนส์ฝ้ายกลัวว่า จะทำให้ฝีเสื้อในโลกตายหมดเพราะผีเสื้อไปกินฝ้าย ทีแรกผมเชื่อ แต่พอคิดอีกทีตัดต่อยีนส์ถูกต้องเพราะผีเสื้อ ต้องบินมากินฝ้ายจึงจะตายแต่หากใช้ยาพ่น ผีเสื้อก็ตายหมด

 บางที่ทฤษฏีไม่รู้จริง ที่ยังไม่รู้อีกเรื่องคือทุกประเทศปลูกฝ้ายไม่ได้ ดั้งนั้นผีเสื้อจะตายหมดทั้งโลกไม่ได้

สองต่ำ

ผมขอพูดเรือ่งสองต่ำว่า ทำไมไม่ดี อยากให้ลองดูว่า ประเทศไหนใช้ 2 ต่ำ แล้วประเทศมั่นคงไม่มี ประเทศ สังคมนิยม ใช้2 ต่ำสุดท้าย ก็ต้องเปลี่ยนยักษ์ใหญ่ รัสเซีย เซีย  ต้องเปลี่ยน มาใช้2 สูง

อย่างคนจีนเมื่อก่อนขี้เกียจทั้งประเทศเพราะทำ มาก น้อย ได้เงินเท่ากัน สุดท้าย ได้เงินเท่ากัน เมื่อเติ้ง เสี่ยว ผิง มาปรับเปลี่ยนใหม่ สุดท้ายมีข้าว เหลือและข้าวไม่พอส่งออก    

 ถ้า2 สูงประชาชนมีทางเลือกรัฐบาล มีภาษี และเมื่อ ใช้ 2 สูงเทคโนโลยีเกิด และสุดด้าย สินค้าเกษตรจะต่ำลงมาด้วย

ผมขอยกตัวอย่าง เรื่องไก่ สมัยก่อน  แพงกว่าหมูเท่าตัว และสมัยก่อน ตอนผมเด็กๆ ไปกินไก่ ชายทะเลจันทร์เพ็ญต้องเป็นเศรษฐี วันนี้ถูกว่า หมูประมาณสามสิบเปอร์เซ็นเพราะรัฐบาลไม่คุมราคา หากปล่อยตามกลไกตลาดเมื่อ มีกำไร ผู้ลงทุนกล้าลงทุนธนาคารกล้าปล่อยกู้เพราะมีเจ้าภาพรับคามเสี่ยงไปแล้ว

ดังนั้นสินค้าทั่วไป รัฐบาลไม่ควรไปควรกำหนดราคา แต่รัฐบาลในโลกนี้ต้องไปแทรกแซงไม่ให้ราคาถูกลงเพราะถูกลงเมื่อไหร่ ทรัพย์สิมบัติหดตัว ปัญหา จะเกิดเพราะเงินจะมากกว่าของ ตรงนี้แหละเงินเฟ้อ แต่หาก ปรับโครงสร้างสินค้าและเงินเดือนให้เท่ากันไม่เฟ้อ

หากน้ำมันควบคุมไม่ได้ต้องปรับน้ำมันบนดินของเราให้เพิ่มตามราคาน้ำมัน  ต้องหาวิธีรุกอย่ารับ ให้มองวิกฤติเป็นโอกาส อย่างน้อยเราฝึกฝนทำวัคซีนตัวเองให้เข้มแข็งเผื่อว่ามีวิกฤตจะได้ไม่มีปัญหา

ให้คิดว่า เมื่อมืดต้องมีสว่าง  ที่สุดต้องมีมืด ตอนที่กำลังสนุกมีกำไรดีต้องคิดว่า เมื่อวิกฤตมาต้องทำอย่างไร

ผมใช้เรื่องนี้เป็นหลักในการทำงานมาตลอด

เรื่องข้าว ผมมองว่า เป็นโอกาสทอง ยกเว้นว่า น้ำมันจะลงราคา แต่เราถือโอกาสนี้ทำกำไรและนำมาพัฒนา

 ผมดีใจที่รองนายกฯบอกว่า จะลงทุนสามแสนล้านบาท ทำเรื่องชลประทาน ผมมองว่าคุ้มชาวนาไม่มีความเสี่ยง

สำหรับ2 ต่ำนอกจาก รัฐบาลไม่มีภาษี เงินเดือนข้าราชการขึ้นไม่ได้ อุตสหากรรมผลิตแล้วขายสินค้าไม่ได้

แต่ไทยยังโชคดีที่มี่ท่องเที่ยวเข้ามาช่วย มีแรงงานขายไปทั่วโลก แต่เรื่องขายแรงงานถูก หมดสมัยแล้วต้องทำอย่างไรให้คนไทย ขายบริการได้ราคาสูง

ดังนั้นรัฐบาลต้องวางแผนไม่ใช่กดแรงงาน ต่ำๆ เพื่อขายแรงงาน วันนี้ต้องยกระดับคนงานเป็นพนักงาน แต่งตัว อยู่ห้องแอร์ ไม่ใช่หลังสู้ฟ้าหน้าสูดิน 

ผมห่วงที่สุดเรื่องข้าราชการ ประจำ ซึ่งมีรีบทบาทกับประเทศมาก แต่ห่วงเรื่องกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ไม่มีใครไม่เคยทำผิด แต่ราชการผิดไม่ได้ แล้วต้องถูกฟ้อง ต้องแก้ หากเป็นอย่างนี้ ใครจะกล้ารับราชการ คนจะคิดว่า ทำมากผิดมาก  แล้วจะหาคนเก่งๆ มารับราชการได้อย่างไร

ผมเคยพูดว่า สมัย ก่อน ข้าราชการเงินเดือน1,200 บาท ซื้อทองได ้สามบาท แต่วันนี้ราคาทองขึ้นไปมาก จะเห็นได้ว่า เงินเดือนข้าราชการต่ำไป หากประสิทธิภาพต่ำ ต้องโทษผู้นำว่า ให้เงินเดือนต่ำแล้วทำให้ประสิทธิภาพต่ำ

กฎหมายต้องมองให้ทุกคนๆ เป็นคนดีก่อนแต่กฎหมายไทย มองคนเป็นผู้ร้าย

ผมเชื่อมั่น อีสานต้องเขียว หากปลูกยางเพราะฝนจะชุก ยางคือป่า ดังนั้นขอฝากรัฐบาลไว้ว่า เราต้องเตรียมที่ 25 ล้านไร่ทำชลประทาน และอีสานน่าจะปลูกยาง หรืออ้อย ซึ่งอ้อยผลผฃิตยังต่ำ น่าจะทุ่มเงินวิจัยเรื่องพันธุอ้อย

คนส่วนใหญ่ยังมองว่า เป็นไปไม่ได้ ยังไม่ได้ทำแล้วบอกว่า เป็นไปไม่ได้ แต่จริงๆ เกษตรกร ของไทย หากมีผู้นำที่ดีรับรับรองว่า เกษตรกรเราไม่แพ้ใคร และนยันว่าเกษตรกรไทย ไม่ขี้เกียจ และเชื่อฟัง ทำตามทุกอย่าง แต่เราขาดผู้นำ 

เรื่องที่มองว่า ซีพีผูกขาดเพราะทำก่อน ล่วงหน้า แต่ไม่ได้ หมายความว่า ทำก่อนล่วงหน้า ไม่มีใครทำ พอคนอื่นเห็นทำสำเร็จ คนอื่นทำ  เมื่อก่อนเราเป็นที่หนึ่ง ตอนหลังเราเป็นที่สองเพราะสหฟาร์มเข้ามา แล้วผูกขาดอย่างไร

ลองย้อนกลับไป ซีพีคิดว่า เราถอยไปหาข้างนอกดีกว่า ถอยจาก  10 เปอร์เซ็นไปหา 100 เปอร์เซ็นดีกว่า นโยบายของเราไม่ได้แกล้งให้คู่แข่งให้ล้มละลายแต่คิดว่า  หากมีการแแข่งขันจะไปหาตลาดอื่นไปสู้กับตลาดต่างประเทศ

นโยบายของซีพี ไปประเทศไหน  คิดเรื่องสามประโยชน์ ประเทศ ประชาชน และซีพี ต้องได้ประโยชน์ ซึ่งคาถาสามตัวนี้ดีมากเพราะไปประเทศไหนถูกยกย่องว่า มาช่วยประเทศนั้นฃ พัฒนา ในเรื่องสัตว์น้ำ สัตว์ปีก พืช

 

 

 

 

 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=34004&catid=5

   

 
 

ที่มา : มติชนออนไลน์  

           3 มิถุนายน 2551

         กลับปหน้ารวมบทความ:

 
     

 

 

 

 

       หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์     ติดต่อสถาบัน      

 

สำหรับเจ้าหน้าที่


สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 04-Jun-2008.