Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
.

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)
 

พืชพลังงานของไทย: ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนพลังงานทดแทนในอนาคต

 
 

 

     ในปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้สนับสนุนและให้ความสำคัญในการพัฒนาพลังงานทดแทนกันมากขึ้นเพื่อช่วยลดสัดส่วนการพึ่งพิงน้ำมันปิโตรเลียมที่มีแนวโน้มว่าราคาจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้พลังงานทดแทนที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างมากในขณะนี้คือ เชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio Fuel) ซึ่งผลิตได้จากผลิตผลทางการเกษตรต่างๆ เชื้อเพลิงชีวภาพที่จะกล่าวถึงในที่นี้ประกอบด้วย 2 ประเภทหลัก คือ เอทานอล และไบโอดีเซล ทั้งนี้เอทานอลส่วนใหญ่ผลิตจากอ้อยและมันสำปะหลัง ส่วนไบโอดีเซลใช้วัตถุดิบจากปาล์มน้ำมันเป็นหลัก  นอกจากนี้ยังมีพืชประเภทอื่นๆ ที่สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานชีวภาพได้ อาทิ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ข้าว ข้าวฟ่าง ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวสาลี สบู่ดำ  และเรพซีด (Rapeseed) เป็นต้น

 

            ประเด็นที่น่าสนใจคือ ผลกระทบจากแรงกดดันของสถานการณ์ราคาน้ำมันดังกล่าวที่เกิดขึ้น เริ่มส่งผลทำให้กลายเป็นปัญหาที่สำคัญของโลกขณะนี้ กล่าวคือ การผลิตพืชเกษตรแต่เดิมผลิตเพื่อใช้บริโภคเป็นอาหารทั้งเพื่อเป็นอาหารของคนโดยตรง นำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์และเป็นวัตถุดิบเพื่อป้อนอุตสาหกรรมการเกษตรต่างๆ แต่ปัจจุบันพื้นที่ทำการเกษตรกลับถูกนำไปปลูกพืชพลังงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากกระแสความต้องการนำพืชพลังงานมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพมีมากขึ้น ส่งผลให้ทั่วโลกต่างหวาดวิตกเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ด้านอาหารที่กำลังเกิดขึ้นและกลายเป็นหัวข้อสำคัญซึ่งถกเถียงกันในเวทีโลก และต่างเร่งหาทางออกร่วมกันก่อนที่วิกฤตด้านอาหารและวิกฤตด้านพลังงานจะส่งผลร้ายแรงต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ของภาครัฐในการส่งเสริมอุตสาหกรรมเอทานอลและไบโอดีเซลของไทย รวมถึงพิจารณาปัญหาอุปสรรคของธุรกิจและเสนอประเด็นสำคัญซึ่งควรเร่งดำเนินการ โดยพิจารณาปัจจัยหลัก 4 ด้านประกอบด้วย ด้านวัตถุดิบ ด้านการผลิต ด้านตลาด และด้านนโยบายของภาครัฐ ทั้งนี้ประเด็นสำคัญที่ควรเร่งดำเนินการวางกรอบนโยบายที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถบริหารจัดการการผลิตการใช้เอทานอลและไบโอดีเซลอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยพิจารณาครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Value Chain) ทั้งด้านวัตถุดิบ การผลิต การตลาดและการวิจัยพัฒนา โดยอาศัยการประสานกันของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคม รวมทั้งความร่วมมือกันระหว่างโรงงานผู้ผลิต ผู้ค้าน้ำมัน ผู้ผลิตรถยนต์ สถาบันการเงินต่างๆ ตลอดจนผู้บริโภค ในการช่วยผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานทดแทนของไทยให้เป็นไปอย่างยั่งยืนเพื่อรองรับความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศในอนาค

 

 

 
 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2074 

           28 พฤษภาคม 2551

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

ย้อนกลับปหน้ารวมบทความ:

 
     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

       หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์     ติดต่อสถาบัน      

 

สำหรับเจ้าหน้าที่


สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 04-Jun-2008.