Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
.

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

ตลาดส่งออกของชำร่วยเซรามิกไทย : ต้องเร่งสร้างเอกลักษณ์...พร้อมรุกตลาดใหม่

 

 

 

 

 

 

     ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่าภาวะตลาดส่งออกสินค้าของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งของไทยในปี 2550 น่าจะมีแนวโน้มที่สดใสเมื่อเทียบจากปีก่อนด้วยระดับการเติบโตประมาณร้อยละ 5-10  ทั้งนี้ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากผู้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้เพื่อการส่งออกของไทยได้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าด้วยการนำเทคนิคด้านการออกแบบมาใช้ในการพัฒนาสินค้าให้มีรูปลักษณ์ สีสัน และลวดลายที่มีความทันสมัยตรงกับความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น พร้อมทั้งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องจักรให้ทันสมัยขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตทั้งด้านปริมาณและคุณภาพของสินค้า     จนสามารถสร้างความแตกต่างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของจีนได้  โดยมีตลาดสหภาพยุโรป และตลาดใหม่ๆอย่างเอเชีย อาเซียน และแอฟริกาเป็นตลาดที่มีบทบาทเพิ่มมากขึ้น

    ขณะที่แนวโน้มตลาดส่งออกของชำร่วยและเครื่องประดับเซรามิกในปี 2551 นั้น คาดว่าน่าจะขยายตัวได้ในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2550 แต่ยังคงมีแรงกดดันจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ทั้งปัญหาราคาน้ำมันที่คาดว่าจะทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท และแนวโน้มภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยอย่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น  รวมถึงจำนวนคู่แข่งทั้งผู้ประกอบการคนไทยด้วยกันเอง ผู้ประกอบการในตลาดคู่ค้า  และคู่แข่งต่างชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนามาตรฐานคุณภาพของสินค้าของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งเซรามิกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการนำเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยเข้ามาใช้เพื่อยกระดับในค้าให้สูงขึ้นโดยด่วน  ขณะเดียวกันควรเน้นกลยุทธ์ในการสร้างตราสินค้าเพื่อให้เป็นที่รู้จักและจดจำในกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย โดยอาศัยการออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งในส่วนของสีสัน รูปแบบรูปทรงที่แตกต่างจากรูปทรงทั่วไปที่อาจจะอิงความเป็นธรรมชาติเช่นรูปหยดน้ำ ใบไม้ หิน ดอกไม้  หรือนำสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาตกแต่งสร้างสรรค์สินค้า ภายใต้เงื่อนไขเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละตลาดเป็นสำคัญ  และควรมีการกำหนดราคาในระดับที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับวัตถุดิบที่ใช้และความยากง่ายในการผลิตด้วย  เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมากขึ้น   นอกจากนี้ควรต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารต้นทุนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย เพื่อเปิดโอกาสในการสร้างกำไรต่อหน่วยเพิ่มขึ้น รวมถึงควรเร่งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้ารายเดิม และแสวงหาคู่ค้ารายใหม่เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งหาโอกาสเข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศบ้างเพื่อรับรู้ถึงความต้องการแท้จริงของผู้บริโภคและพัฒนาการของคู่แข่ง   ทั้งนี้เพื่อสร้างโอกาสในการขยายตลาดส่งออกในวงกว้างยิ่งขึ้น อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จในอุตสาหกรรมของชำร่วยและเครื่องประดับตกแต่งของผู้ประกอบการไทยในระยะยาว   ขณะที่ภาครัฐก็น่าจะเข้ามาเป็นกำลังสนับสนุนสำคัญด้วยการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและการผลิตสินค้ากลุ่มนี้จากต่างประเทศมาให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ผลิตคนไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาไปสู่การผลิตที่ได้รูปแบบที่ตรงกับความต้องการของตลาดต่างประเทศแต่ละแห่งอย่างแท้จริงมากยิ่งขึ้น

ย้อนกลับ:

 
 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2046 

           วันที่ 28 กันยายน 2550

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 28-Feb-2008.