Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
.

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

ข้าวไทยปี’51 : การแข่งขันกลับมารุนแรง...จับตาเวียดนาม

 
 

    เวียดนามเป็นคู่แข่งขันสำคัญของข้าวไทยในตลาดโลก โดยปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวอันดับสองรองจากไทย การแข่งขันระหว่างข้าวไทยและเวียดนามในตลาดโลกนั้นเป็นอย่างรุนแรง โดยกลยุทธ์สำคัญของเวียดนามในการเจาะขยายตลาดข้าวคือราคาส่งออกข้าวที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับไทย สถานการณ์การแข่งขันรุนแรงขึ้นในช่วงปี 2548-2549 โดยจะเห็นได้จากการที่ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามต่ำกว่าไทยมากเป็นประวัติการณ์ กล่าวคือ ก่อนปี 2547ราคาข้าวส่งออกของเวียดนามต่ำกว่าไทยถึง 5-10 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตันสำหรับข้าว25% และ 20 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตันสำหรับข้าว5% แต่ในช่วงปี 2548-2549 ราคาข้าวเวียดนามในตลาดโลกต่ำกว่าไทยถึง 20 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตันสำหรับข้าว25% และ 30-40 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตันสำหรับข้าว5% ดังนั้นการส่งออกข้าวของไทยโดยเฉพาะข้าวขาวในปี 2548-2549 มีแนวโน้มลดลง

              สำหรับในปี 2550 สถานการณ์การส่งออกข้าวของไทยเริ่มฟื้นตัว ทั้งนี้เนื่องจากผลผลิตข้าวเวียดนามลดลงจากการเผชิญปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด ทำให้รัฐบาลเวียดนามส่งออกข้าวลดลง และประกาศงดส่งออกข้าวในช่วงไตรมาสที่ 3 ทั้งนี้เพื่อเวียดนามจะมีปริมาณข้าวเพียงพอบริโภคในประเทศและราคาข้าวในประเทศไม่พุ่งสูงขึ้นมากนัก ดังนั้นในปี 2550 การแข่งขันข้าวในตลาดโลกลดความรุนแรงลง และเป็นโอกาสของผู้ส่งออกข้าวไทยในการแย่งส่วนแบ่งตลาดข้าวกลับคืนมาได้บางส่วน โดยเฉพาะข้าวขาว โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 ส่วนต่างระหว่างราคาข้าว 25% ของไทยและเวียดนามเท่ากับ 6.33 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และข้าว5%เท่ากับ 18.67 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตันเท่านั้น

             อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2551 ข้าวเวียดนามจะกลับมาเป็นตัวแปรสำคัญที่จะกำหนดอนาคตการส่งออกข้าวของไทย ทั้งในด้านปริมาณการส่งออกและราคา ทำให้ผู้ส่งออกข้าวของไทยยังคงต้องจับตามองเวียดนามอย่างใกล้ชิด ทั้งในด้านปริมาณการผลิตข้าวในปี 2550/51 ที่ผลผลิตจะออกสู่ตลาดในช่วงปลายปี 2550 และนโยบายการส่งออกข้าวของรัฐบาลเวียดนาม

              สำหรับในระยะยาวแล้วสิ่งที่ต้องติดตามคือ การวิจัยและพัฒนาข้าวของเวียดนาม โดยเฉพาะการปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมและข้าวพันธุ์ดี รวมทั้งการปรับปรุงระบบไซโล การคัดแยกและจัดมาตรฐานข้าว ตลอดจนการขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ในอนาคตเวียดนามจะก้าวขึ้นมาแข่งขันกับไทยในการส่งออกข้าวคุณภาพดี โดยเฉพาะข้าว100% และข้าวหอม จากที่ในปัจจุบันเวียดนามเป็นคู่แข่งของไทยในการส่งออกข้าวคุณภาพปานกลางถึงต่ำ กล่าวคือ การส่งออกข้าวของเวียดนามในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นข้าวขาว5%ร้อยละ 36.2 ข้าวขาว25%ร้อยละ 36.0 และข้าวขาว15%ร้อยละ 22.5 ในขณะที่มีการส่งออกข้าวขาว100%เพียงร้อยละ 1.9 และข้าวหอมร้อยละ 0.5 เท่านั้น               

     ประเด็นที่น่าสนใจคือ ในช่วงระยะ 2-3 ปีข้างหน้าทั้งไทยและเวียดนามต่างมีนโยบายที่จะเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยเฉพาะการปรับปรุงพันธุ์ข้าว การปรับปรุงการขนส่งเพื่อรักษาคุณภาพข้าวและลดต้นทุนการขนส่ง ซึ่งจะส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกนั้นสามารถแข่งขันได้มากขึ้น ซึ่งภาคเอกชนของไทยนั้นต้องเร่งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาทั้งนี้เพื่อหาตลาดข้าวเฉพาะ จากเดิมที่ไทยมีเพียงข้าวหอมมะลิและข้าวอินทรีย์เป็นจุดขายสำคัญ ทั้งนี้การวิจัยและพัฒนายึดแนวตอบสนองความต้องการของตลาดที่ต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น การพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ข้าวเคลือบสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ข้าวโดยเฉพาะขนมขบเคี้ยวจากข้าว เป็นต้น

 
 
 

ย้อนกลับ:

 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2048 

           วันที่ 4 ตุลาคม 2550

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 28-Feb-2008.