Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)
 

สินค้าเวียดนามแข่งขันสินค้าไทย : ต้อนรับ WTO 2550

 
        

      วียดนามประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจอย่างงดงาม พร้อมกับก้าวสู่เวทีเศรษฐกิจและการค้าโลกเป็นของขวัญส่งท้ายปีนี้ คาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มสดใสต่อเนื่องในปี 2550 หลังจากที่เวียดนามเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) อย่างสมบูรณ์ในช่วงต้นปีหน้า ซึ่งจะส่งผลดีต่อสินค้าส่งออกของเวียดนามที่ได้รับการลดหย่อนภาษีขาเข้าจากประเทศคู่ค้า ภายใต้กรอบ WTO เพิ่มความได้เปรียบแก่สินค้าเวียดนามในตลาดโลกมากขึ้น คาดว่าการส่งออกของเวียดนามมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยประมาณ 20% ในปี 2550 เทียบกับเป้าหมายอัตราขยายตัวของการส่งออก 19% ในปี 2549 นับเป็นการส่งออกของเวียดนามเติบโตในอัตราค่อนข้างสูงติดต่อกัน ขณะที่การส่งออกของไทย มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราประมาณ 12%-15% ในปี 2550 ชะลอลงเมื่อเทียบกับตัวเลขประมาณอัตราขยายตัวของการส่งออกราว 17% ในปีนี้
       
       
ประเทศไทยจึงควรจับตาสินค้าส่งออกของเวียดนามที่แข่งขันกับสินค้าส่งออกของไทยพร้อมทั้งปรับกลยุทธ์การส่งออกของไทยรับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น เนื่องจากประเทศไทยและเวียดนามมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ตลอดจนสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่คล้ายคลึง ทำให้สินค้าที่เวียดนามและไทยผลิตได้ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทเดียวกัน โดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา สินค้าประมง จำพวกอาหารทะเล ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ฯลฯ
       
       
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าสินค้าส่งออกเวียดนามที่มีศักยภาพในการแข่งขันกับสินค้าไทย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสินค้าที่เวียดนามได้เปรียบสินค้าไทยอยู่แล้ว และกลุ่มสินค้าที่เวียดนามมีโอกาสแซงไทยในระยะต่อไป สรุปได้ดังนี้
       
       (
สินค้าเวียดนามที่ได้เปรียบสินค้าไทย : สินค้าส่งออกของเวียดนามหลายรายการแข่งขันได้เปรียบสินค้าไทยอยู่เดิมก่อนที่เวียดนามจะเข้าเป็นสมาชิก WTO และเมื่อเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก WTO เรียบร้อยแล้ว สินค้าเวียดนามจะยิ่งมีความได้เปรียบสินค้าไทยมากขึ้น เพราะบรรดาสมาชิก WTO ที่เป็นประเทศคู่ค้าของเวียดนามจะเปิดตลาดให้แก่สินค้าเวียดนามกว้างขึ้น เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม 15 อันดับแรก สินค้าที่เวียดนามมีความสามารถในการแข่งขันสูงและสามารถส่งออกไปจำหน่ายในตลาดโลกได้เป็นมูลค่ามากกว่าประเทศไทย จำแนกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
       (1)
สินค้าที่เวียดนามพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและวัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก ได้แก่ น้ำมันดิบ อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์ไม้ และถ่านหิน
       (2)
สินค้าที่เวียดนามอาศัยแรงงานราคาถูกเป็นปัจจัยหลักในการผลิต ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และรองเท้า
       (3)
สินค้าที่เวียดนามมีความได้เปรียบด้านการเพาะปลูกเนื่องจากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของเวียดนามเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรหลายประเภท ส่งผลให้เวียดนามเป็นผู้ส่งออกผลผลิตทางการเกษตรรายใหญ่ของโลก ได้แก่ กาแฟ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผัก พริกไทย และใบชา
       
       
สินค้าที่เวียดนามได้เปรียบสินค้าไทยค่อนข้างชัดเจน ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า อาหารทะเล และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นสินค้าส่งออกสำคัญอันดับต้นๆ ของเวียดนาม ซึ่งแข่งขันกับไทยโดยตรง เพราะเป็นรายการสินค้าที่ไทยส่งออกไปจำหน่ายในตลาดโลกเช่นกัน สินค้าเวียดนามเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะขยายการส่งออกได้มากขึ้น หลังจากที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิก WTO โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูป เนื่องจากสินค้ารายการนี้ของเวียดนามจะไม่ถูกจำกัดโควตาจากประเทศผู้นำเข้าอีกต่อไป ขณะที่การส่งออกสินค้าสำคัญ อาทิ รองเท้า อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์ไม้ ฯลฯ จะได้รับการปรับลดอัตราภาษีขาเข้าจากประเทศคู่ค้า ภายใต้กรอบ WTO จึงมีแนวโน้มว่าสินค้าส่งออกของเวียดนามกลุ่มนี้จะยังคงได้เปรียบสินค้าส่งออกของไทยในระยะยาว
       
       (
สินค้าที่ไทยควรระวัง สินค้าส่งออกของเวียดนามอีกกลุ่มหนึ่งเป็นสินค้าที่มีศักยภาพ แม้ว่าจะยังสู้ไทยไม่ได้ในอนาคตอันใกล้ แต่ไทยก็ไม่ควรประมาท สินค้าดังกล่าว ได้แก่ สินค้าเกษตรกรรมและสินค้าอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น ข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก
       
       (1)
ข้าว เวียดนามเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศไทย เวียดนามตั้งเป้าที่จะส่งออกข้าวเป็นปริมาณ 5 ล้านตันในปี 2549 เทียบกับปริมาณส่งออกข้าวของไทยราว 7.5 ล้านตันในปีนี้ ข้าวจัดเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 7 ของเวียดนาม มีมูลค่าส่งออก 1,117 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วง 9 เดือนแรก 2549 ขณะที่ข้าวเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 17 ของไทย โดยมีมูลค่าประมาณ 1,792 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงเดียวกัน
       
       
ตลาดส่งออกข้าวของเวียดนาม ได้แก่ ประเทศอาเซียนและกลุ่มตะวันออกกลาง ซึ่งคล้ายคลึงกับตลาดส่งออกข้าวของไทย อาทิ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อิหร่าน อิรัก เป็นต้น ทางการเวียดนามตั้งเป้าที่จะพัฒนาการเพาะปลูกและส่งออกข้าวคุณภาพดีเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนรายได้จากการส่งออกข้าว เพราะข้าวชั้นดีสามารถขายได้ราคาดีกว่าข้าวชั้นรอง ข้าวที่เวียดนามส่งออกส่วนใหญ่เป็นข้าวขาว 25% ซึ่งมีราคาส่งออกประมาณ 250-260 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ขณะที่ข้าวขาว 100% จะมีราคาสูงถึง 340-370 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน
       
       (2)
ยางพารา จัดเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 8 ของเวียดนาม มูลค่าส่งออกประมาณ 946 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วง 9เดือนแรกของปีนี้ ขณะที่ไทยส่งออกยางพาราเป็นมูลค่า 4,003ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงเดียวกัน โดยยางพาราเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 4 ของไทย แม้ว่าการส่งออกยางพาราของไทยมีมูลค่าสูงกว่าการส่งออกยางพาราของเวียดนามค่อนข้างมาก แต่เวียดนามวางแผนที่จะขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราเป็น 4.4 ล้านไร่ ภายในปี 2553 เทียบกับพื้นที่เพาะปลูกยางพาราประมาณ 3.1 ล้านไร่ในขณะนี้ นอกจากนี้ เวียดนามมีโครงการที่จะจัดตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราเพิ่มขึ้นอีกหลายแห่งในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า จึงมีแนวโน้มว่าเวียดนามจะสามารถเพิ่มผลผลิตยางพาราและยางแผ่นในระยะต่อไปส่งผลดีต่อการส่งออกยางพาราของเวียดนามตามไปด้วยประเทศที่รองรับยางพาราของเวียดนาม ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งเป็นประเทศที่ไทยส่งยางพาราไปขายเช่นกัน
       
       (3)
ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของไทย มูลค่าส่งออก 19,445 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วง 9 เดือนแรก 2549 ขณะที่เวียดนามส่งออกผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นมูลค่า 1,222 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงเดียวกัน สินค้ารายการนี้เป็นสินค้าส่งออกอันดับ 6 ของเวียดนาม
       
       
แม้ว่าปัจจุบันผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าส่งออกที่ไทยมีความได้เปรียบเวียดนามค่อนข้างสูง โดยการส่งออกสินค้ารายการนี้ของไทยคิดเป็นมูลค่ามากกว่าเวียดนามถึง16 เท่าตัว แต่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของเวียดนามมีแนวโน้มแจ่มใสเช่นกัน ทั้งด้านการผลิตและการส่งออก เนื่องจากบริษัท Intel ของสหรัฐฯ เตรียมขยายการลงทุนขนาดใหญ่ในเวียดนาม คิดเป็นเม็ดเงินลงทุนสูงถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของเวียดนามโดยตรง ขณะเดียวกันยังส่งผลดีทางอ้อมแก่เวียดนามด้วย เนื่องจากโครงการลงทุนของบริษัท Intel จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของเวียดนามในฐานะแหล่งลงทุนด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในเอเชียและเวียดนามอาจจะกลายเป็นคู่แข่งกับไทยในการส่งออกผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต
       
       (4)
ผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นสินค้าส่งออกอันดับ 18 ของไทย มูลค่าส่งออก 1,390 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วง 9 เดือนแรก 2549 ขณะที่เวียดนามส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นมูลค่า 341 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกจัดเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 13 ของเวียดนาม แม้ว่ามูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยสูงกว่าของเวียดนามประมาณ 4 เท่าตัว แต่เวียดนามมีโอกาสที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมประเภทนี้อย่างจริงจัง หลังจากที่โรงกลั่นน้ำมันของเวียดนามเปิดดำเนินการ เนื่องจากอุตสาหกรรมพลาสติกเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากน้ำมัน ซึ่งจีนมีความกระตือรือร้นที่จะร่วมมือกับเวียดนามในการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันของเวียดนามอยู่แล้วดังนั้นผลิตภัณฑ์พลาสติกของเวียดนามจึงเป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีศักยภาพสูงต่อไป

 
 

ย้อนกลับ

 
   

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์  

         6 ธันวาคม 2549

 

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.