Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)
 

ชิลี : ตลาดใหม่เครื่องประดับแท้ไทย...ที่มีศักยภาพในลาตินอเมริกา

 
      

        นับตั้งแต่ปี 2546 ชิลีมีการนำเข้าสินค้าเครื่องประดับแท้จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศชิลี  โดยที่ไทยสามารถเบียดคู่แข่งสำคัญอย่างอิตาลี จนก้าวขึ้นมาเป็นประเทศผู้ส่งออกเครื่องประดับแท้ที่สำคัญอันดับ 1 ในตลาดชิลีได้เป็นปีแรกในปี 2548 ที่ผ่านมา ด้วยสัดส่วนร้อยละ 25.24 ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าเครื่องประดับแท้โดยรวมของชิลีจากตลาดโลก   และคาดว่าในปี 2549 ต่อเนื่องถึงปี 2550 สินค้าเครื่องประดับแท้ไทยก็น่าจะสามารถเบียดคู่แข่งสำคัญทั้งอิตาลี รวมถึงสเปน   และเม็กซิโก จนก้าวขึ้นมามีบทบาทเพิ่มมากยิ่งขึ้นได้อีก โดยอาศัยความสามารถของแรงงานฝีมือที่ชำนาญและประณีตเหนือคู่แข่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันซึ่งในช่วง 10 เดือนแรกปี 2549 ตามรายงานของกรมศุลกากร พบว่าไทยสามารถส่งออกเครื่องประดับแท้ไปยังตลาดชิลีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 56.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2548 ส่วนในปี 2550 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าภายใต้เงื่อนไขที่อัตราแลกเปลี่ยนไม่ผันผวนมากนัก เครื่องประดับแท้ของไทยในตลาดชิลีก็น่าจะสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่องด้วยอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 20  ทั้งนี้เพราะความต้องการยังมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดีตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของชิลี ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ประเมินว่าเศรษฐกิจชิลีในปี 2550 น่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.5 ซึ่งเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตร้อยละ 5.2  ในปี 2549 ก็นับเป็นการปรับตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ปัจจุบันชิลียังเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในแถบลาตินอเมริกาตามรายงานการจัดอันดับประเทศที่มีศักยภาพการแข่งขันของปี 2549-2550 ของ The World Economic Forum ด้วย  จึงมีความเป็นไปได้ว่าแนวโน้มของกำลังซื้อผู้บริโภคในตลาดนี้ก็น่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในปี 2550 และส่งผลต่อเนื่องให้ความต้องการสินค้าเครื่องประดับแท้ในตลาดชิลีเติบโตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้แม้ว่าชิลีจะอยู่ห่างไกล และนักธุรกิจชิลีมักใช้ภาษาสเปนที่นักธุรกิจไทยยังไม่ชำนาญมากนักในการติดต่อสื่อสาร แต่ขณะเดียวกันชิลีก็เป็นประเทศที่มีนโยบายเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ   อีกทั้งยังเป็นแกนนำทางเศรษฐกิจของทวีปอเมริกาใต้ และมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศรอบข้างด้วย ดังนั้นชิลีจึงนับเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ประกอบการเครื่องประดับแท้ไทยที่ต้องการขยายตลาด และกระจายความเสี่ยงจากการที่ต้องพึ่งตลาดหลักเพียงสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป   ที่นับวันจะมีภาวะการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น   ชิลีจึงเป็นตลาดที่ผู้ส่งออกเครื่องประดับแท้ไทยไม่ควรมองข้าม

 
 

ย้อนกลับ

 
 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1905 

      วันที่ 1 ธันวาคม 2549

   บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.