Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)
 

ตลาดกุ้งออสเตรเลีย : โอกาสและอุปสรรคที่ผู้ส่งออกกุ้งไทยต้องฟันฝ่า

 
 

 

    รัฐบาลออสเตรเลียได้เผยแพร่รายงาน Biosecurity Australia Policy Memorandum 2006/35 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2549 เรื่องการประเมินความเสี่ยงในกุ้งและผลิตภัณฑ์จากกุ้งเพื่อให้หน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการนำเข้ากุ้งที่ติดโรค 5 ชนิดคือโรคจุดขาว โรคหัวเหลือง โรคแคระแกร็น โรคทอร่าซินโดรมและโรคเอ็นเอชพี นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ การส่งกุ้งและผลิตภัณฑ์ไปยังออสเตรเลียต้องมาจากพื้นที่เลี้ยงปลอดโรค ต้องเป็นกุ้งที่เอาหัว/เปลือกออก สินค้าประเภทสร้างมูลค่าเพิ่มต้องผ่านกระบวนการแปรรูปที่อุณหภูมิสูง ส่วนกุ้งต้มในโรงงานต้องอยู่ภายใต้การควบคุม ในขณะที่กุ้งต้มที่ปากบ่อต้องมีใบรับรองจากหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นการแจ้งเวียนให้ประเทศคู่ค้าได้พิจารณา เสนอข้อคิดเห็น หรือข้อโต้แย้ง และต้องดำเนินการต่อเรื่องดังกล่าวภายใน 90 วันหรือภายในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550

      อย่างไรก็ตาม ร่างประกาศนี้ทำให้เกิดเป็นข่าวว่าทางออสเตรเลียประกาศห้ามนำเข้ากุ้งโดยอ้างว่าเพื่อเป็นมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพที่จะป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคกุ้งจากกุ้งที่นำเข้า และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2549 ซึ่งทำให้เกิดความสับสนต่อเกษตรกรและผู้ค้ากุ้งในประเทศไทยเป็นอย่างมากว่าทางออสเตรเลียห้ามนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์แล้ว ทั้งที่จริงแล้วการส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ยังคงเป็นไปตามปกติ แม้ว่าในขณะนี้กฎระเบียบดังกล่าวเป็นเพียงร่างข้อเสนอเท่านั้น แต่ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าทางออสเตรเลียมีแนวโน้มที่จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์การนำเข้าเพิ่มเติม ทำให้คาดการณ์ได้ว่าการส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ของไทยไปยังตลาดออสเตรเลียจะประสบปัญหาจากข้อกีดกันทางด้านสุขอนามัยในอนาคต ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณการบริโภคอาหารทะเลทั่วประเทศออสเตรเลียลดลงประมาณร้อยละ 20 ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม 2549 เนื่องจากผู้บริโภควิตกเกี่ยวกับข่าวว่ากุ้งที่นำเข้าเพื่อใช้เป็นเหยื่อตกปลานั้นมีไวรัส ดังนั้นเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมการจับกุ้งจากธรรมชาติและการเพาะเลี้ยงกุ้งของออสเตรเลีย ทำให้ออสเตรเลียต้องเข้มงวดในการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์

             แม้ว่าในปัจจุบันตลาดออสเตรเลียจะไม่ใช่ตลาดส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์หลักของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกเพียงร้อยละ 2-3 ของมูลค่าการส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเท่านั้น แต่ออสเตรเลียก็นับว่าเป็นตลาดที่ไทยมุ่งหวังจะขยายการส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งทั้งระบบในประเทศไทยเมื่อเกิดปัญหากับตลาดส่งออกหลัก การส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ไปยังออสเตรเลียต้องเผชิญปัญหาการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศคู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนาม สิงคโปร์ นิวคาลิโดเนีย และพม่า รวมทั้งออสเตรเลียยังมีการขยายอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้ง ทำให้ในอนาคตออสเตรเลียมีแนวโน้มลดการพึ่งพิงการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ และหันมาเป็นประเทศผู้ส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ โดยตลาดส่งออกหลักของออสเตรเลียในปัจจุบัน คือ ญี่ปุ่น จีน สเปน และฮ่องกง นอกจากนี้ทางรัฐบาลออสเตรเลียยังได้รับการกดดันจากผู้เลี้ยงกุ้งในประเทศให้ออกมาตรการเข้มงวดในการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ เนื่องจากในปัจจุบันผู้เลี้ยงกุ้งในประเทศประสบปัญหาในการแข่งขันในด้านราคากับกุ้งและผลิตภัณฑ์ราคาถูกที่นำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นอนาคตของการขยายตลาดกุ้งและผลิตภัณฑ์ในออสเตรเลียสำหรับผู้ส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ของไทยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากมีหลากหลายอุปสรรคที่ต้องฝ่าฟัน

 

 
 

 ย้อนกลับ :

 
 

 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1909 

      วันที่ 14 ธันวาคม 2549

   บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.