Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

สหรัฐฯ-ไทย : ระวังผลกระทบการค้า หลังไทยขึ้นบัญชี PWL

 

  

    สหรัฐฯ ประกาศผลการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ของประเทศคู่ค้าในรายงาน “Special 301” ที่ออกเผยแพร่ในวันที่ 30 เมษายน 2550 ไทยถูกสหรัฐฯ ลดระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจากระดับเดิมที่อยู่ในบัญชีจับตา (WL) ตั้งแต่ปี 2538 เป็นบัญชีจับตาเป็นพิเศษ (PWL) ซึ่งมีประเทศทั้งหมดรวม 12 ประเทศที่อยู่ในบัญชี PWL นี้ ได้แก่ จีน รัสเซีย อาร์เจนตินา ชิลี อิยิปต์ อินเดีย อิสราเอล เลบานอน ไทย ตุรกี ยูเครน และเวเนซูเวลา เป็นที่น่าสังเกตว่า ไทยเป็นประเทศเดียวในบรรดา 12 ประเทศดังกล่าว ที่ถูกสหรัฐฯ ลดระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจากเดิมที่อยู่ในบัญชีจับตา (WL) และนับเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ถูกจัดให้อยู่ในบัญชีจับตาเป็นพิเศษ (PWL) คาดว่า การบังคับใช้สิทธิของไทยในการผลิตและนำเข้ายารักษาโรค 3 รายการ ได้แก่                 ยารักษาโรคเอดส์ 2 รายการ และยารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน 1 รายการ น่าจะเป็นประเด็นที่มีน้ำหนักที่สหรัฐฯ ใช้ประกอบการพิจารณาปรับลดระดับการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทยในครั้งนี้
                       
            ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า การที่ไทยถูกสหรัฐฯ ปรับลดระดับการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ในปีนี้ จากเดิมที่อยู่บัญชีจับตา (WL) มานานกว่า 10 ปี ตั้งแต่ปี 2538 เป็นบัญชีจับตาเป็นพิเศษ (PWL) อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทยด้านการค้าและการลงทุน ดังนี้
 
     ผลต่อภาพลักษณ์ด้านการลงทุนของไทย
            การถูกสหรัฐฯ ปรับลดระดับการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทย นอกจากจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ด้านการลงทุนของไทยในสายตาของนักลงทุนสหรัฐฯ แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการลงทุนของไทยในสายตานักลงทุนต่างชาติอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะหากเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งอยู่ในระดับบัญชีที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญารุนแรงน้อยกว่าไทย อาจทำให้นักลงทุนต่างชาติที่ผลิตสินค้าลิขสิทธิ์ต่างๆ พิจารณาหันไปลงทุนในประเทศอื่นๆ แทน รวมทั้งการแก้ไขกฎหมายภายในของไทยยังมีความไม่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.ค้าปลีก ซึ่งอาจส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติชะลอการลงทุนในไทยในปีนี้
  
   ผลต่อการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ
            การที่สหรัฐฯ ลดระดับบัญชีการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทยเป็นระดับที่มีความรุนแรงมากขึ้นในปีนี้ อาจส่งผลต่อการพิจารณาทบทวนการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preferences : GSP) ของสหรัฐฯ กับสินค้าส่งออกของไทย เนื่องจากสหรัฐฯ กำหนดให้การคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญที่สหรัฐฯ ใช้ประกอบการพิจารณาการให้สิทธิพิเศษ GSP กับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย โดยสหรัฐฯ มีกำหนดประกาศผลการทบทวนรายการสินค้าที่ให้สิทธิ GSP กับประเทศต่างๆ ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 คาดว่า อัญมณีและเครื่องประดับทำจากโลหะมีค่าเป็นสินค้าส่งออกของไทยที่มีแนวโน้มจะถูกตัดสิทธิ GSP ในปีนี้ เนื่องจากเป็นสินค้าส่งออกของไทยที่เข้าหลักเกณฑ์การถูกตัดสิทธิ GSP ที่สหรัฐฯ กำหนดไว้ในปี 2550 และจะส่งผลให้สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับทำจากโลหะมีค่าส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ จะต้องถูกเรียกเก็บภาษีขาเข้าในอัตรา 5.5% (Most-Favored Nation Rate : MFN Rate) จากเดิมที่ไม่ต้องเสียภาษีขาเข้า ส่งผลให้สินค้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเสียเปรียบด้านราคากับประเทศคู่แข่งของไทยในตลาดสหรัฐฯ อย่างอินเดีย และจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีต้นทุนค่าแรงงานและต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย และขณะนี้ครองส่วนแบ่งตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในสหรัฐฯ มากกว่าไทยอีกด้วย

 

 

 

 

 

 

        

  ย้อนกลับ:::

 

 

 

 

 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1984

           วันที่ 2  พฤษภาคม  2550

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.