Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

ข้าวนึ่งไทย : ตลาดส่งออก...มูลค่าเกือบ 2 หมื่นล้านบาท/ปี

 

  

       ข้าวนึ่ง (parboiled rice) เป็นข้าวส่งออกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจทั้งในการขยายตลาดส่งออกและตลาดในประเทศ แม้ว่าในปัจจุบันข้าวนึ่งที่ผลิตได้นั้นพึ่งพิงการส่งออกทั้งหมด และการส่งออกข้าวนึ่งของไทยนั้นมีแนวโน้มผันผวน เนื่องจากต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากคู่แข่งดั้งเดิมอย่างอินเดีย ปากีสถาน รวมทั้งยังมีคู่แข่งรายใหม่ที่เข้ามาแข่งขันแย่งตลาดข้าวนึ่ง คือ สหรัฐฯและสหภาพยุโรป ซึ่งมีสถานะเป็นทั้งคู่แข่งและคู่ค้า ดังนั้นการที่จะรักษาตลาดข้าวนึ่งของไทยไว้นั้นจึงต้องเร่งพัฒนาข้าวนึ่งให้เป็นข้าวนึ่งคุณภาพสูงเพื่อเจาะขยายตลาดในต่างประเทศที่ยังคงเติบโตเนื่องจากความต้องการบริโภคข้าวนึ่งยังขยายตัว อันเป็นผลจากกระแสอาหารเพื่อสุขภาพ โดยค้นพบว่าข้าวนึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าข้าวขาว โดยมีวิตามินบีและวิตามินอีสูงกว่าข้าวขาวพันธุ์เดียวกัน นอกจากนี้การเร่งประชาสัมพันธ์เพื่อการขยายตลาดในประเทศควบคู่กันไปด้วยก็เป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อลดการพึ่งพิงตลาดต่างประเทศทั้งหมด
 
           บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มีความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในต่างประเทศ โดยผู้บริโภคในต่างประเทศเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาบริโภคข้าวนึ่งกันมากยิ่งขึ้นเนื่องจากมีการศึกษาพบว่าข้าวนึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าการบริโภคข้าวขาว ทั้งนี้เพราะไม่ได้รับการขัดสีเอาส่วนที่มีประโยชน์ออกไปมากเหมือนกับข้าวขาว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคนี้ทำให้ตลาดข้าวนึ่งในตลาดโลกมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โอกาสในการขยายตลาดส่งออกข้าวนึ่งของไทยนั้นยังมีความเป็นได้มาก
 
             อย่างไรก็ตามในปัจจุบันไทยยังไม่มีการรวบรวมจำนวนโรงสีที่ผลิตข้าวนึ่ง ทำให้ยังไม่มีการเก็บข้อมูลปริมาณการผลิตข้าวนึ่งในแต่ละปี นอกจากนี้ในการส่งออกนั้นควรมีการแยกการส่งออกข้าวนึ่งตามเกรดเช่นเดียวกับการส่งออกข้าวขาวและข้าวหอมมะลิ ซึ่งปัจจุบันก็มีการกำหนดมาตรฐานข้าวนึ่งอยู่แล้ว ดังนั้นการแยกพิกัดการส่งออกข้าวนึ่งก็น่าจะทำได้ไม่ยากนัก ประโยชน์ที่จะได้รับจากการแยกข้อมูลรายละเอียดข้าวนึ่งตามเกรดข้าวจะทำให้ทราบความต้องการที่ชัดเจนของแต่ละตลาด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบริโภคของแต่ละตลาด นับว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการส่งเสริมการเจาะขยายตลาดต่อไปในอนาคต นอกจากนี้จากการศึกษาตลาดข้าวนึ่งในสหรัฐฯและสหภาพยุโรปนั้นมีการแบ่งแยกตลาดข้าวนึ่งอย่างละเอียด ทำให้เห็นถึงสภาพการแข่งขันและสภาพความต้องการของแต่ละประเทศที่นำเข้าข้าวจากสหรัฐฯและสหภาพยุโรปอย่างชัดเจน รวมทั้งสหรัฐฯยังมีข้อมูลเกี่ยวกับตลาดที่จะเจาะขยายตลาดข้าวนึ่งต่อไป คือ ตลาดประเทศในแอฟริกาและตลาดประเทศในตะวันออกกลาง ส่วนสหภาพยุโรปเน้นเจาะตลาดรัสเซีย ประเทศต่างๆที่เคยเป็นอดีตสหภาพโซเวียต รวมทั้งประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งประเทศต่างๆที่ทั้งสหรัฐฯและสหภาพยุโรปต้องการเจาะขยายตลาดข้าวนึ่งนั้นก็เป็นประเทศเป้าหมายในการเจาะขยายตลาดของไทยเช่นกัน ดังนั้นการส่งออกข้าวนึ่งของไทยยังต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรง ดังนั้นการส่งเสริมในด้านการผลิตข้าวนึ่งให้ตรงตามความต้องการของตลาดและการรับรู้พฤติกรรมการบริโภคข้าวนึ่งของแต่ละตลาดจะเป็นแต้มต่อในการเจาะขยายตลาด
          นอกจากนี้การส่งเสริมการบริโภคข้าวนึ่งในประเทศนับว่าจะมีส่วนช่วยส่งเสริมธุรกิจข้าวนึ่งของไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการลดการพึ่งพิงตลาดส่งออกเพียงอย่างเดียว ปัญหาในการส่งเสริมการบริโภคข้าวนึ่งในประเทศ คือ ข้าวนึ่งมีกลิ่นและรสไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่คุ้นเคยกับข้าวธรรมดาเช่นคนไทย แต่สามารถแก้ไขได้โดยการส่งเสริมให้บริโภคข้าวนึ่งคุณภาพดีที่เมื่อหุงสุกแล้วข้าวมีกลิ่นน้อยกว่าข้าวนึ่งที่ผลิตโดยเทคโนโลยีดั้งเดิม รวมทั้งการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้บริโภคโดยอิงกระแสสุขภาพ กล่าวคือ ข้าวนึ่งนั้นมีวิตามินบีและวิตามินอีสูงกว่าข้าวธรรมดาพันธุ์เดียวกัน และข้าวนึ่งยังย่อยง่ายกว่าข้าวธรรมดา อันเป็นผลมาจากแป้งในข้าวสุกไปครั้งหนึ่งแล้วในขั้นตอนการผลิต ซึ่งผู้ที่มีแนวโน้มจะนิยมบริโภคข้าวนึ่งคือ ผู้ที่นิยมบริโภคข้าวที่เมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดร่วน

 

 

 

 

 

 

 

        

  ย้อนกลับ:::

 

 

 

 

 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1986

           วันที่ 4  พฤษภาคม  2550

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.