Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

เครื่องประดับเงินไทยปี’50 : ต้องมุ่งเน้นการออกแบบ...เร่งพัฒนาคุณภาพการผลิต

 

  

         อุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินของไทยเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าการผลิตทั้งหมด และมีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง   โดยเฉพาะในช่วงปี 2540-2541 ที่พบว่าภาวะอุตสาหกรรมการส่งออกเครื่องประดับเงินของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นมากอย่างชัดเจน   จากนั้นในช่วงปี 2543-2547 อัตราการเติบโตของการส่งออกเครื่องประดับเงินของไทยก็ยังคงเติบโตต่อเนื่องด้วยอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 16-17 ต่อปี  ส่วนสถานการณ์การส่งออกเครื่องประดับเงินในระหว่างปี 2548-2549 นั้น พบว่าการส่งออกยังคงเติบโตต่อเนื่อง แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าการเติบโตเป็นไปในทิศทางที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อนๆที่มีการเติบโตด้วยอัตราการขยายตัวสองหลักติดต่อกันมาหลายปี  

      โดยในปี 2548 ไทยสามารถส่งออกสินค้ากลุ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 ขณะที่ในปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6  ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากจำนวนคู่แข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น และการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในตลาดโลก โดยเฉพาะจากจีนและอินเดียในตลาดระดับล่าง   ทำให้ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเร่งปรับตัวอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วในการยกระดับสินค้าสู่ตลาดระดับบนมากขึ้น

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2550 ไทยน่าจะสามารถส่งออกเครื่องประดับเงินได้เพิ่มขึ้นในระดับร้อยละ 5-10 หรือคิดเป็นมูลค่าการส่งออกไม่ต่ำกว่า 23,000 ล้านบาท

       อย่างไรก็ตาม ในปี 2550 ผู้ประกอบการไทยยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลายประการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นภาวะการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งอย่างจีนและอินเดียที่เป็นทั้งคู่ค้าและคู่แข่งสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไปไม่ได้ ความผันผวนพอสมควรทั้งค่าเงินบาท ระดับราคาน้ำมันในตลาดโลก และระดับราคาวัตถุดิบเงิน รวมถึงภาวะเศรษฐกิจของตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศประเมินว่าจะมีแนวโน้มที่ชะลอตัวลงระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับปี 2549 ที่ผ่านมา และการที่สหรัฐฯตัดสิทธิทางศุลกากร (Generalized System of Preferences- GSP) ของเครื่องประดับเงินไทยบางรายการ   ดังนั้นในปี 2550 ผู้ประกอบการไทยหลายรายยังคงต้องทำงานหนักอีกอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า   และสร้างฐานลูกค้าใหม่ให้เกิดขึ้น โดยผู้ผลิตจำเป็นต้องมีความรู้ในด้านการควบคุมคุณภาพ ดีไซน์ล่าสุดและแนวโน้มแฟชั่น นอกจากนี้ผู้ประกอบการไทยควรหาโอกาสเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในกลุ่มตลาดใหม่ๆมากขึ้นเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมถึงการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อเพิ่มช่องทางกระจายสินค้า ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้เครื่องประดับเงินไทยที่ปัจจุบันสามารถครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 ในตลาดโลกสามารถขยายตลาดส่งออกในตลาดใหม่ๆได้มากยิ่งขึ้นนับจากนี้

  ย้อนกลับ:::

 

 

 

 

 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1980

           วันที่ 20 เมษายน 2550

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.