Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

FTA สหรัฐฯ-เกาหลีใต้ : เร่งกระแส FTA ... ช่วงชิงขีดความสามารถทางการแข่งขัน

 

  

         สหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้ได้ข้อสรุปการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรี (FTA) ในวันที่ 1 เมษายน 2550 ซึ่งสร้างความตื่นตัวให้กับประเทศต่างๆ ที่เป็นคู่ค้ากับประเทศทั้งสอง ให้หันมาเร่งเปิดเขตการค้าเสรีเพื่อรักษาและสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับการส่งออกสินค้าและบริการของตนในตลาดสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ เนื่องจากสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ต่างเปิดตลาดสินค้าและบริการให้แก่กันมากขึ้น คาดว่า ความตกลง FTA สหรัฐฯ-เกาหลีใต้จะสนับสนุนให้มูลค่าการค้ารวมของทั้งสองฝ่ายขยายตัวทะลุระดับ 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปัจจุบันที่มูลค่าการค้ารวมของสหรัฐฯ-เกาหลีใต้ราว 78,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

              การลดภาษีศุลกากรสินค้าอุตสาหกรรมภายใต้ FTA สหรัฐฯ-เกาหลีใต้ จะส่งผลให้สินค้าอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ และเกาหลีใต้เกือบทั้งหมด (คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 94% ของสินค้าอุตสาหกรรมที่สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ค้าขายกัน) จะปรับลดภาษีลงเหลือ 0% ภายใน 3 ปี และยกเลิกภาษีที่เหลือภายใน 10 ปี ที่สำคัญ ได้แก่ สิ่งทอและเสื้อผ้า โดยทั้งสองฝ่ายจะยกเลิกภาษีสิ่งทอและเสื้อผ้าส่วนใหญ่ทันทีที่ความ     ตกลง FTA มีผลบังคับใช้ ส่วนสินค้ายานยนต์ สหรัฐฯ และเกาหลีใต้จะลดภาษีศุลกากรรถยนต์ขนาดเล็กทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ สำหรับรถยนต์ขนาดใหญ่ จะปรับลดภาษีภายใน 3-10 ปี ทางด้านภาคเกษตร เกาหลีใต้ยอมยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าเนื้อโคจากสหรัฐฯ ที่บังคับใช้มาตั้งแต่ปลายปี 2546 ที่เกิดโรคระบาดวัวบ้าในสหรัฐฯ เพื่อแลกกับการที่สหรัฐฯ ยอมยกเว้นข้าวออกจากการเจรจาเพื่อลดภาษีภายใต้ FTA

            การเปิดตลาดสินค้าของสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ภายใต้การจัดทำความตกลง FTA สหรัฐฯ-เกาหลีใต้ ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้หลังจากได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาทั้งสองฝ่ายแล้ว จะส่งผลกระทบต่อประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ที่ส่งออกสินค้าสำคัญที่อยู่ในรายการเปิดตลาดของสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ ได้แก่ สินค้ายานยนต์ สิ่งทอ/เสื้อผ้า และเนื้อโค เนื่องจากขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ จะลดลงเมื่อเทียบกับประเทศคู่เจรจาความตกลง FTA ส่งผลให้ประเทศคู่ค้าเหล่านี้อาจต้องเร่งพิจารณาจัดทำ FTA ทวิภาคีกับสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ หรือจัดทำ FTA ระดับภูมิภาค เช่น การจัดทำ FTA ระหว่างญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ เพื่อรักษาขีดความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าส่งออกของตนเอง

 

รายการสินค้า

ประเทศที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ

ยานยนต์

ญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน

สิ่งทอและเสื้อผ้า

จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฮ่องกง บังคลาเทศ ฟิลิปปปินส์ 

   กัมพูชา ไทย และไต้หวัน

เนื้อโค

ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

            

       สำหรับประเทศไทย การจัดทำ FTA ระหว่างสหรัฐฯ กับเกาหลีใต้ คาดว่าจะส่งผลกระทบกับไทยไม่มากนัก เนื่องจากไทยส่งออกสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบไปสหรัฐฯ ไม่มากนักเมื่อเทียบกับการส่งออกทั้งหมดของไทยไปสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนราว 1.3% ของการส่งออกทั้งหมดของไทยไปสหรัฐฯ ตลาดส่งออกหลักของสินค้ายานยนต์ของไทย ได้แก่ ตลาดอาเซียน ส่วนเนื้อโคไม่ได้เป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย อย่างไรก็ตาม ไทยอาจได้รับผลกระทบจากการลดภาษีสินค้าเสื้อผ้าและสิ่งทอของสหรัฐฯ ให้กับเกาหลีใต้ เนื่องจากเสื้อผ้าและสิ่งทอส่งออกของเกาหลีใต้ไปสหรัฐฯ จะมีขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านราคากับเสื้อผ้าและ    สิ่งทอของไทยมากขึ้นในตลาดสหรัฐฯ แม้ว่าขณะนี้ไทยครองส่วนแบ่งตลาดเสื้อผ้าและสิ่งทอในสหรัฐฯ ได้มากกว่าเกาหลีใต้ ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเสื้อผ้าและสิ่งทอในสหรัฐฯ ราว 2.5% ขณะที่เกาหลีใต้มีส่วนแบ่งตลาดสิ่งทอและเสื้อผ้าในสหรัฐฯ ราว 1.2% แต่การลดภาษีของสหรัฐฯ ให้กับเสื้อผ้าและสิ่งทอส่งออกของเกาหลีใต้ จะทำให้สินค้าส่งออกชนิดเดียวกันของไทยต้องแข่งขันกับเกาหลีใต้มากขึ้น ปัจจุบันเสื้อผ้าและสิ่งทอเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐฯ เป็นอันดับ 2 รองจากเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ โดยปัจจุบันไทยส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปสหรัฐฯ ปีละมากกว่า 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น ผู้ส่งออกเสื้อผ้าและสิ่งทอไทยจะต้องเตรียมเผชิญกับการแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น นอกจากการแข่งขันกับสิ่งทอและเสื้อผ้าราคาถูกจากจีน อินเดีย และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ในเอเชีย

     

 

       

       

 

  

ย้อนกลับ:::

 

 

 

 

 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1965

           วันที่ 17 เมษายน 2550

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.