ปัจจุบันธุรกิจคนรับใช้ในบ้านไม่ใช่ธุรกิจที่น่าจะมองข้าม
เนื่องจากบริษัท
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดการณ์ว่าในปี
2550
จำนวนคนที่ทำงานบริการคนรับใช้ในบ้านมีประมาณรวมกันถึง
400,000 คน และสร้างเม็ดเงินสะพัดสูงถึง
27,000 ล้านบาท
โดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างเฉลี่ยที่ได้จากการสัมภาษณ์คนที่ทำงานบริการคนรับใช้ในบ้าน
ซึ่งอัตราค่าจ้างนั้นจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในการทำงานและความพึงพอใจของนายจ้าง
บริการคนรับใช้ในบ้านนั้น แยกออกเป็น
3
ประเภท ดังนี้
-
คนไทยที่ทำงานอาชีพคนรับใช้ในบ้านที่อยู่ในประเทศไทยคาดว่าในปี
2550
มีคนไทยที่ทำอาชีพคนรับใช้ในบ้านประมาณ 225,000
คน สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจ
11,000 ล้านบาท
จากปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่ต้องการมาทำงานเป็นคนรับใช้ในบ้าน
ทำให้ครัวเรือนที่มีความต้องการคนรับใช้ในบ้านต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการหาคนรับใช้ในบ้าน
และหลายครั้งไม่ประสบความสำเร็จ
ส่งผลให้เกิดธุรกิจบริการจัดส่งแม่บ้าน
ซึ่งธุรกิจนี้พลิกรูปแบบบริการคนรับใช้ในบ้านเป็นรูปแบบเดียวกับการจ้างงานพนักงานในสำนักงาน
ซึ่งมีข้อแตกต่างจากการจ้างคนรับใช้ในบ้านในอดีตอย่างสิ้นเชิง
กล่าวคือ
เดิมที่อัตราค่าจ้างและลักษณะงานนั้นแต่ละครัวเรือนจะเป็นผู้กำหนด
ซึ่งอัตราค่าจ้างและลักษณะงานจะไม่แน่นอนแล้วแต่ละครัวเรือน
แต่ปัจจุบันทางศูนย์ฯมีสัญญาการจ้างงานเป็นลายลักษณ์อักษร
กำหนดลักษณะงานที่อยู่ในหน้าที่ไม่ใช่เป็นการจ้างเหมาให้ทำทุกอย่าง
มีการกำหนดวันทำงานและวันหยุดเช่นเดียวกับพนักงานบริษัท
-
แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอาชีพคนรับใช้ในบ้านคาดว่าในปี
2550
แรงงานต่างด้าวที่มีอาชีพคนรับใช้ในบ้านนั้นมีจำนวน 150,000
คน ซึ่งสร้างเม็ดเงินประมาณ 9,000
ล้านบาท
คนรับใช้ในบ้านที่เป็นแรงงานต่างด้าวในปัจจุบันจึงแยกออกเป็น
2
กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงแรงงาน
และกลุ่มที่ลักลอบเข้าเมือง
อัตราค่าจ้างของคนรับใช้ในบ้านที่เป็นแรงงานต่างด้าวจะอยู่ในระดับประมาณ
3,000-5,000
บาท
แต่ในระยะหลังนี้อัตราค่าจ้างจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่ามีใบอนุญาตหรือไม่
พูดหรือฟังภาษาไทยได้หรือไม่
ส่วนประสบการณ์ในการทำงานเป็นเรื่องที่จะพิจารณาภายหลัง
โดยถ้าแรงงานต่างด้าวนั้นมีใบอนุญาตอัตราค่าจ้างจะสูงกว่าแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาต
-
คนไทยที่ทำงานอาชีพคนรับใช้ในบ้านในต่างประเทศ(อาชีพแม่บ้านไทยในต่างประเทศ)คาดว่าในปี
2550 จำนวนแม่บ้านไทยในต่างประเทศจะมีประมาณ
25,000 คน
หรือคิดเป็นเกือบร้อยละ
20
ของจำนวนแรงงานไทยทั้งหมดที่ไปทำงานในต่างประเทศ และคาดว่าแม่บ้านไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศนั้นส่งเงินกลับประเทศไทยในปี
2550 สูงถึง 7,000 ล้านบาท
ทำให้แม่บ้านไทยได้รับความนิยมอย่างมากในต่างประเทศ
โดยเฉพาะในฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน
ส่วนแม่บ้านไทยก็นิยมไปทำงานในต่างประเทศ
เนื่องจากได้รับค่าจ้างสูง เมื่อเทียบกับการ
ทำงานในประเทศ กล่าวคือ ในฮ่องกงอัตราค่าจ้างแม่บ้านขั้นต่ำอยู่ที่
18,000
บาทต่อเดือน ไต้หวันประมาณ
19,000
บาทต่อเดือน ซึ่งอัตราค่าจ้างอาจจะมีการปรับสูงกว่านี้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในการทำงานและลักษณะงานที่ระบุไว้ในสัญญาการว่าจ้าง
ดังนั้น
ในปัจจุบันจึงมีสำนักงานจัดหาแรงงานทั้งของรัฐบาลและเอกชนที่เข้ามาทำหน้าที่จัดหาแม่บ้านไปทำงานในต่างประเทศ
ในปัจจุบันธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาคนรับใช้ในบ้านทั้งในประเทศและต่างประเทศนั้นยังไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบโดยตรง
ซึ่งการที่ธุรกิจเหล่านี้ยังมีแนวโน้มเติบโตนั้นควรมีการกำหนดหน่วยงานที่จะมีหน้าที่รับผิดชอบในการจดทะเบียนการจัดตั้ง
โดยมีการกำหนดมาตรฐานของแต่ละศูนย์ที่จะจัดตั้งขึ้น
การกำหนดมาตรฐานของพนักงาน
และกำหนดบทลงโทษเมื่อเกิดกรณีคดีความทั้งคดีอาญาและคดีแพ่งของพนักงานจากศูนย์ฯ
โดยต้องให้ทางศูนย์มีส่วนต้องรับผิดชอบร่วมกับพนักงานที่ส่งไปทำงานตามบ้านต่างๆด้วย
เนื่องจากศูนย์จัดหาแม่บ้านหรือคนรับใช้ในบ้านเหล่านี้เป็นคนกลางจัดหางานให้กับผู้ที่ต้องการแม่บ้านหรือคนรับใช้ในบ้าน
รวมทั้งมีการจัดทำสัญญาการจ้างงานอย่างถูกต้อง
ดังนั้นจึงควรมีการออกกฎระเบียบมาควบคุมทั้งนี้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีที่ศูนย์ดังกล่าวจัดส่งพนักงานที่ไม่ได้ผ่านการอบรมอย่างถูกต้อง
ซึ่งนับว่าเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค
รวมทั้งยังต้องให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินหรือชีวิตของผู้บริโภคด้วย
ส่วนในกรณีของแรงงานต่างด้าวที่ทำอาชีพคนรับใช้ในบ้านนั้น
การกำหนดโควตานั้นนับว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้ว
แต่ประเด็นที่ต้องเข้มงวดต่อไปด้วยคือ
การต่ออายุใบอนุญาตและการควบคุมการโยกย้ายแรงงานต่างด้าวไปอยู่กับนายจ้างคนอื่นๆที่ไม่ได้ลงทะเบียนไว้
ทำให้เกิดปัญหาในการติดตามควบคุมแรงงานต่างด้วย
ย้อนกลับ::: |