เมื่อวันที่
10
เมษายน ที่ผ่านมานั้น
ทางคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ ร่าง
พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงใหม่
หลังจากที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาในรายละเอียด
รวมถึงได้นำร่าง
พ.ร.บ.ฉบับที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเสนอและรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน
ทั้งนี้
กระบวนการต่อไปนั้นจะได้นำร่างดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวันที่
13 เมษายน นี้
โดยสรุปเปรียบเทียบความแตกต่างของร่างดังกล่าวกับเ
พ.ร.บ.ที่บังคับใช้ในปัจจุบัน และร่าง
พ.ร.บ.ฉบับก่อนที่ได้เสนอเข้า ครม.เมื่อวันที่
9
มกราคม ได้ดังนี้
- ในเรื่องคำนิยามคนต่างด้าว
ได้มีการเพิ่มเติมคำนิยามให้รวมถึง
การพิจารณาสิทธิในการออกเสียงด้วย(เช่นเดียวกันกับในร่างฉบับก่อน)
โดยไม่ครอบคลุมถึงอำนาจในการบริหารจัดการ
-
สำหรับนิติบุคคลที่กลายเป็นคนต่างด้าวตามนิยามใหม่ปรับตัว
ได้เพิ่มระยะเวลาการปรับตัวให้กับธุรกิจในบัญชี 1
และ 2 (จากร่างเดิมที่กำหนดให้ขอหนังสือรับรองต่ออธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดภายใน
1 ปี และให้ประกอบธุรกิจต่อไปได้เป็นเวลา 2
ปี) เพิ่มเป็น 3
ปี
-
เพิ่มบทลงโทษให้คนต่างชาติที่ประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต
และผู้ที่มีการถือหุ้นแทนคนต่างด้าวโดยผิดกฎหมาย
โดยให้เพิ่มโทษจำคุกเป็นไม่เกิน 5 ปี
(จากในร่างเดิมที่เพิ่มแต่โทษปรับ)
นอกจากนั้น
ยังยกเลิกการนิรโทษกรรมให้ผู้ที่กระทำความผิดดังกล่าวก่อนวันที่
พ.ร.บ.นี้มีผลบังคับใช้ตามที่เคยระบุในร่างเดิม
เพื่อไม่ให้เป็นการเลือกปฏิบัติ
- การแก้ไขเพิ่มเติมบัญชี 3
โดยยกเลิกให้ธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะและหน่วยงานกำกับดูแลอยู่แล้วเช่นเดียวกับในร่างก่อน
แต่เพิ่มธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยเข้าไป
แก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวจาก
25 คนเป็น 17 คน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าการแก้ไขร่าง
พ.ร.บ.ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงเจตนาของทางการในการพยายามที่จะทำให้การจำแนกสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติในธุรกิจในประเทศไทยเป็นไปอย่างชัดเจนและมีความโปร่งใสมากขึ้น
จากเดิมที่การตีความยังมีความไม่ชัดเจนจนนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากช่องว่างของกฎหมาย
นอกจากนั้น
การเพิ่มโทษให้กับคนต่างชาติที่ประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต
และผู้ที่มีการถือหุ้นแทนคนต่างด้าวให้สูงขึ้น และการยกเลิกการนิรโทษกรรมให้กับผู้ที่กระทำความผิดยังเป็นการส่งสัญญาณของทางการในการจัดการกับผู้ฝ่าฝืนกฎหมายอย่างเข้มงวดขึ้นในระยะต่อไปโดยไม่เลือกปฏิบัติ
อีกทั้ง เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของร่าง
พ.ร.บ.ที่มีการแก้ไขใหม่พบว่า ระดับความรุนแรงของร่าง
พ.ร.บ.ดังกล่าวนั้นไม่มากอย่างที่หลายฝ่ายกังวลในเบื้องต้น(ทางการได้เคยประเมินว่ามีบริษัทที่ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น
1,337 บริษัท) เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่ในบัญชีที่
3 (ธุรกิจการค้าและบริการ)
ยังคงสามารถประกอบธุรกิจได้ตามปกติ
ตลอดจน ธุรกิจในบัญชีที่
1
และ
2
ได้มีการให้เวลาในการปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยให้ขอหนังสือรับรองต่ออธิบดีฯตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดภายใน
1 ปี และให้ประกอบธุรกิจต่อไปได้อีก 3
ปี
ส่วนผลกระทบของการแก้ไข พ.ร.บ.ต่างด้าวต่อบริษัทจดทะเบียนนั้น
ธุรกิจส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นจะอยู่ในบัญชีที่
3
ทำให้จำนวนบริษัทจดทะเบียนที่เข้าข่ายต้องปรับตัวอาจจะมีอยู่ไม่มากนัก
ทั้งนี้
คาดว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีนักลงทุนต่างชาติถือหุ้นในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงและอาจจะได้รับผลกระทบจากการแก้ไข
พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้แก่ กลุ่มโทรคมนาคมและอสังหาริมทรัพย์ โดยร่าง
พ.ร.บ.ที่มีการแก้ไขใหม่นี้จะส่งผลต่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ถือหุ้นในลักษณะผ่านตัวแทน
ในกรณีธุรกิจที่อยู่ในบัญชี 1 และ 2
นั้นจะทำให้บริษัทที่ตั้งอยู่แล้วและมีการถือหุ้นและสิทธิออกเสียงของต่างชาติเกินกว่าที่คำนิยามใหม่กำหนดต้องทำการปรับโครงสร้างของบริษัทใหม่
ทั้งนี้
ทางตลาดหลักทรัพย์ได้เคยประเมินในเบื้องต้นว่าจะมีบริษัทจดทะเบียนประมาณ
15 รายได้รับผลกระทบจากการแก้ไขเพิ่มเติม
พ.ร.บ.ครั้งก่อนหน้า
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ร่าง
พ.ร.บ.ดังกล่าวว่า
จากการ
ที่การตีความว่าพฤติกรรมใดที่เข้าข่ายการถือหุ้นแทนคนต่างด้าว
โดยผิดกฎหมายหรือไม่นั้นยังคงไม่ได้มีบรรทัดฐานใดที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในขณะนี้
ทำให้กระบวนการในการพิสูจน์เรื่องดังกล่าวคงจะต้องขึ้นอยู่ดุลยพินิจของศาลและผลของการพิจารณาคดีความทั้งที่กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินคดีในขณะนี้และในอนาคตเป็นรายๆไป
ซึ่งผลดังกล่าวคงจะถูกนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานในกระบวนการกำกับดูแล
ตรวจสอบสัดส่วนและพฤติกรรมการถือหุ้นในบริษัทต่างๆของคนต่างด้าวในอนาคต
อันจะเป็นการช่วยให้การบังคับใช้ร่าง
พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวนี้สามารถที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ในทางปฏิบัติได้อย่างแท้จริง
แม้การแก้ไขพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวอาจมีผลกระทบต่อธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยอยู่แล้วไม่มากนัก
แต่ผลกระทบต่อแนวโน้มการลงทุนในระยะข้างหน้าอาจจะมีมากกว่า
โดยการที่นักลงทุนยังคงไม่มั่นใจเกี่ยวกับรายละเอียดของร่างกฎหมายดังกล่าว
อาจจะทำให้มีการตีความในลักษณะที่ว่ารัฐบาลส่งสัญญาณในเชิงลบต่อการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ
ตลอดจน
เป็นการสร้างแรงกดดันให้นักลงทุนในกรณีของนักลงทุนรายเดิมที่เข้าข่ายต้องปรับโครงสร้างใหม่
โดยส่งผลให้ต้องมีการลดสัดส่วนหุ้นที่ถืออยู่ให้กับนักลงทุนชาวไทย
และยังเป็นปัจจัยที่กระทบต่อการพิจารณาตัดสินใจของนักลงทุนรายใหม่ว่าจะลงทุนในประเทศไทยหรือไม่
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงเห็นว่า
ประเด็นสำคัญจากนี้ไปน่าจะอยู่ที่การสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ
ตลอดจน
การชี้แจงและสร้างความเข้าให้กับนักลงทุนต่างชาติเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของเอกชนในอนาคต
ซึ่งทางการไทยจำเป็นที่จะต้องเร่งทำการชี้แจงเรื่องดังกล่าวและสร้างความเข้าใจให้กับนักลงทุนต่างประเทศโดยเร็ว
ควบคู่กับการออกมาตรการที่จะเป็นการช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นและสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มเติมในระยะต่อไป
ย้อนกลับ::: |