Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

พ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่ง กับ การปรับตัวของผู้ประกอบการ…ภายใต้การแข่งขันที่รุนแรง

 

     

        ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่าภาครัฐกำลังมีแนวโน้มที่จะก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในการสร้างความเป็นธรรมให้กับธุรกิจค้าปลีกค้าส่งมากขึ้น ด้วยการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ…... เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่ได้ผ่านการเห็นชอบและมีผลบังคับใช้ โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงพาณิชย์นำร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ.... ฉบับดังกล่าวกลับไปทบทวนตามข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีในบางประเด็น เพื่อให้เกิดความรัดกุมและชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของพัฒนาการกฎหมายค้าปลีกเมืองไทยจากเดิมที่ไม่เคยมีกฎหมายดูแลธุรกิจค้าปลีกที่ทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันโดยเฉพาะ และยังมีเจตนารมณ์ที่ดีเพื่อจัดระบบธุรกิจให้ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งทุกประเภท และทุกขนาดอยู่ร่วมกันได้ภายใต้การแข่งขันที่เป็นธรรม และให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในแหล่งจัดซื้อ และการบริโภคสินค้า  แต่ทั้งนี้ก็ควรเร่งดำเนินการให้กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว และมีมาตรการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการส่งเสริมศักยภาพด้านการแข่งขัน รวมถึงมีความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย เพื่อให้ธุรกิจค้าปลีกเมืองไทยเติบโตไปได้อย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

            ซึ่งในระหว่างที่ร่างพระราชบัญญัติค้าปลีกค้าส่งฉบับใหม่ยังอยู่ระหว่างการแก้ไข และไม่มีกำหนดวันเวลาในการบังคับใช้ที่แน่นอน กลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ก็ยังคงมีการวางแผนการดำเนินการธุรกิจอย่างต่อเนื่องในรูปแบบต่างๆ ทั้งการขยายสาขาโดยเฉพาะการขยายสาขาในรูปแบบที่มีขนาดเล็กลง การสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย การตลาดเพื่อสังคมโดยหวังที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของผู้บริโภคเพื่อลดความรุนแรงของกระแสต่อต้าน  และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่โดดเด่น   ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกแบบดั้งเดิมที่ได้รับผลกระทบไม่น้อยจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของบรรดาผู้ประกอบการค้าปลีกสมัยใหม่ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ก็จำเป็นต้องเร่งปรับตัวด้วยกลยุทธ์ที่เป็นไปเพื่อความอยู่รอดมากกว่าเพื่อการแข่งขัน ทั้งในส่วนของการวิเคราะห์และหาตำแหน่งทางการตลาดที่เหมาะสม   การนำเสนอสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยควรจะพัฒนาไปเป็นร้านค้าเฉพาะอย่างมากขึ้น การปรับปรุงบรรยากาศภายในร้านให้ดูมีระเบียบเพื่อให้สะดวกต่อการเลือกซื้อ   การบริหารต้นทุนการผลิตให้ต่ำมากที่สุด   การวางแผนป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจในด้านต่างๆ  ขณะเดียวกันผู้ประกอบการควรมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงจะที่เกิดขึ้นในอนาคตด้วย เพื่อรองรับสิ่งต่างๆรอบตัวที่มีโอกาสปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาในยุคที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงเช่นปัจจุบัน

       

 

  

ย้อนกลับ:::

 

 

 

 

 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1963 

           วันที่ 5 เมษายน 2550

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.