นับจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
ได้ออกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นใน
วันที่
18 ธันวาคม 2549 เป็นต้นมา
ธปท.ได้ทยอยผ่อนผันมาตรการดังกล่าว ตามลำดับ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ว่า ธปท.จะได้มีการผ่อนปรนมาตรการดำรงเงินสำรองฯให้กับช่องทางการลงทุนในตลาดทุน
ทั้งตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และหน่วยลงทุนจนครบถ้วนแล้วก็ตาม
แต่แนวโน้มการลงทุนของต่างชาติในตลาดทุนไทยน่าจะยังคงมีทิศทางชะลอตัวต่อเนื่องจากในปีที่ผ่านมา
เมื่อพิจารณาจากสภาพแวดล้อมการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไป
และเงื่อนไขต่างๆในการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากเดิมซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแรงจูงใจลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ
อาทิเช่น
ปัจจัยทางการเมืองที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูงในปีนี้
และมีประเด็นที่ต้องติดตามและพิจารณาให้รอบคอบหลายด้าน
ตลอดจน
ปัจจัยต่างๆที่กดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจและการลงทุน
ได้แก่
ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและผู้บริโภคที่ลดลงและความไม่มั่นใจในนโยบายเศรษฐกิจและการออกกฎหมายต่างๆ
ของรัฐบาล
เช่น การออกร่างพ.ร.บ.ต่างด้าว และพ.ร.บ.ค้าปลีก
ซึ่งนำไปสู่การชะลอตัวของการลงทุนของต่างชาติ
ความเป็นไปได้ในการดำเนินการต่างๆเพิ่มเติมของธปท.เพื่อดูแลค่าเงินบาท
ตลอดจน
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในประเทศที่อยู่ในช่วงขาลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
โดยคาดว่า ธปท.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปที่ร้อยละ
3.75 ภายในเดือนพฤษภาคมนี้
ซึ่งจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรต่างประเทศ
โดยแนวโน้มของส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมจะเป็นการลดแรงจูงใจที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยเมื่อเทียบกับในปีที่ผ่านมา
เงื่อนไขต่างๆในการนำเงินเข้ามาลงทุนตามที่
ธปท.ได้ระบุไว้ เช่น
การที่ให้ต้องแยกเงินที่จะนำเข้ามาลงทุนในบัญชีต่างๆตามวัตถุประสงค์เฉพาะ
และการที่ไม่ให้มีการโอนเงินจากบัญชีที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะประเภทหนึ่งไปยังประเภทอื่น
โดยมองว่าการที่ไม่ไห้มีการโอนเงินข้ามบัญชีระหว่างหลักทรัพย์แต่ละประเภท
อาจส่งผลกระทบต่อความคล่องตัวในการปรับพอร์ตการลงทุนในแต่ละช่วงเวลา
และอัตราผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุน
นอกจากนั้น
การเพิ่มทางเลือกให้กับเงินลงทุนในตราสารหนี้และหน่วยลงทุนสามารถเลือกทำการป้องกันความเสี่ยงแบบเต็มจำนวน
(Fully Hedged)
แทนการกันสำรองร้อยละ
30
ได้นั้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า
การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยจำกัดโอกาสเก็งกำไรในค่าเงินบาท แต่การที่นักลงทุนต่างชาติไม่สามารถทำกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเหมือนที่เคยได้รับในปีก่อน
ย่อมจะเป็นการลดแรงจูงใจในการเข้ามาลงทุนได้เช่นกัน นอกจากนั้น
การกำหนดให้การทำสัญญาคุ้มครองความเสี่ยงดังกล่าวเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า
3
เดือนสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้และหน่วยลงทุน
ย่อมจะส่งผลต่อความคล่องตัวในการลงทุน
เว้นแต่ในกรณีที่นักลงทุนต่างชาติตั้งใจที่จะลงทุนในระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างแน่นอนโดยไม่เปลี่ยนแปลง
ปัจจัยจากภายนอกประเทศ
เช่น ความผันผวนของตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา การปรับวีธีการคำนวณดัชนี
MSCI
ใหม่ซึ่งจะทำให้น้ำหนักการลงทุนในไทยลดลง ตลอดจน
การปรับลดอันดับความน่าลงทุนของบริษัทโบรกเกอร์ต่างประเทศ
อันจะกระทบต่อสัดส่วนการลงทุนของต่างชาติในตลาดหุ้นไทยได้และมีส่วนที่ทำให้นักลงทุนเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น
เป็นต้น
ท่ามกลางสภาพแวดล้อมในการลงทุนที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนในขณะนี้
ศูนย์วิจัย
กสิกรไทยมองว่า
การที่จะเรียกให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติกลับมาเพิ่มขึ้นได้นั้น
ขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัยควบคู่กัน
ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยระยะเวลาและการดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม
ในส่วนของตลาดหุ้นนั้น
การที่ดัชนีปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมาทำให้ตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดที่ค่อนข้างถูกเมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาค
ซึ่งอาจจะช่วยหนุนให้มีแรงซื้อของต่างชาติกลับเข้ามาได้
หากปัจจัยที่ต่างๆที่กล่าวข้างต้นมีการคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น
โดยมองว่าสิ่งสำคัญที่สุดคงจะได้แก่ เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ
เช่น
การมีรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งที่เป็นไปโดยเรียบร้อยภายในปีนี้
โดย
การที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
ได้ระบุเมื่อเร็วๆนี้ถึงวันเลือกตั้งที่เหมาะสมว่าอาจจะเป็นวันที่
16 หรือ
23 ธันวาคม นี้
ได้เป็นปัจจัยบวกต่อบรรยากาศการลงทุน
นอกจากนั้น
ปัจจัยอื่นๆที่คาดว่าจะช่วยหนุนการลงทุนของต่างชาติในระยะต่อไป
เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศของ ธปท.
โดยนักลงทุนคงจะให้ความสนใจว่าในการประชุมนโยบายการเงินครั้งต่อไป
ธปท.จะมีการตัดสินใจในเรื่องอัตราดอกเบี้ยเช่นไร
ซึ่งหากว่าการลดอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้หรือมากกว่า
ย่อมจะเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้น
นโยบายต่างๆของทางการที่แสดงถึงบรรยากาศในการลงทุนที่เป็นมิตรต่อต่างชาติ
เช่น ท่าทีของ ธปท.ในการทยอยผ่อนคลายมาตรการดำรงเงินสำรองฯในช่วงที่ผ่านมา
พร้อมกับความเป็นไปได้ที่คงจะมีการยกเลิกมาตรการดังกล่าวในระยะต่อไป
นอกจากนั้น ท่าทีของรัฐบาลในการไม่นำ
พ.ร.บ.การบริหารราชการสถานการณ์ฉุกเฉินมาใช้
และการบรรลุข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่าง ไทย-ญี่ปุ่น
ล้วนแต่เป็นการส่งสัญญาณในเชิงบวกต่อการลงทุนต่างชาติในตลาดทุนไทยในระยะยาว
มาตรการสนับสนุนจากทางการในการเพิ่มความน่าสนใจให้กับตลาดทุนไทย
ถือได้ว่ามีส่วนสำคัญเช่นกันเช่น
การออกมาตรการลดภาษีให้กับบริษัทจดทะเบียนใหม่เพื่อเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์รวมไปถึง
แนวคิดในการพิจารณาลดภาษีธุรกิจเฉพาะที่เก็บจากกำไรที่เกิดจากการซื้อขายตราสารหนี้
และแนวคิดของตลาดหลักทรัพย์ในการจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์
2 เป็นต้น
ย้อนกลับ::: |