Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

JTEPA ความตกลงเปิดเสรีการค้าไทย-ญี่ปุ่น : ผลดี VS ข้อควรระวัง

 

         

         คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) ในวันที่ 3 เมษายน 2550 หลังจากประเทศไทยและญี่ปุ่นเริ่มต้นเจรจาอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2547 และบรรลุความตกลงในหลักการเมื่อเดือนกันยายน 2548 แต่การเจรจาดังกล่าวหยุดชะงักลงชั่วคราวในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองของไทย คาดว่าความตกลงเปิดเสรีทางการค้าไทย-ญี่ปุ่นจะมีผลบังคับใช้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

          ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ความตกลง JTEPA มีทั้งผลดีและข้อควรระวังที่ส่งผลต่อกลุ่มคนต่างๆ ในประเทศที่แตกต่างกันไป ในแง่ผลดี ถือเป็นการสนับสนุนให้การส่งออกของไทยไปญี่ปุ่นขยายตัวมากขึ้นจากการลดภาษีศุลกากรของญีปุ่นให้กับสินค้าส่งออกจากไทย ส่วนผู้บริโภคของไทยจะได้ประโยชน์จากราคาสินค้าบริโภคนำเข้าจากญี่ปุ่นที่ต่ำลง จากการลดภาษีศุลกากรของไทยให้กับสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น ได้แก่ ผลไม้เมืองหนาว เช่น แอปเปิ้ล ลูกเบอร์รี่ และพรุน นอกจากนี้ ความตกลง JTEPA จะช่วยสร้างบรรยากาศการลงทุนในไทยและดึงดูดการลงทุนจากญี่ปุ่นเข้ามาไทยมากขึ้น จากการผ่อนคลายกฎระเบียบด้านการลงทุน และจากการลดภาษีศุลกากรของไทยให้ญี่ปุ่น ทำให้บริษัทญี่ปุ่นที่มีจำนวนมากในไทยซึ่งใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้า สามารถนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนจากญี่ปุ่นด้วยต้นทุนที่ต่ำลงจากการลดภาษีของไทย ท่ามกลางสถานกาณ์ปัจจุบันที่ภาคการส่งออกและการลงทุนของไทยถูกปัจจัยกดดันหลายประการ ภาคการส่งออกของไทยสูญเสียขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านราคาจากค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่ามากกว่าค่าเงินของประเทศเอเชียอื่นๆ ส่วนภาคการลงทุน ได้รับปัจจัยลบจากเหตุการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง ความไม่สงบในภาคใต้ และการแก้ไขกฎหมายภายในของไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติค้าปลีก ทำให้นักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งนักลงทุนจากญี่ปุ่น เกิดความไม่มั่นใจในการเข้ามาลงทุนในไทย และมีแนวโน้มชะลอการลงทุนในไทยในช่วงปีนี้ เพื่อรอความชัดเจนในการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว และความสงบทางการเมืองเมื่อได้รัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ

                        ผลดีอีกประการหนึ่ง คือ การส่งออกแรงงานไทยไปญี่ปุ่น จากการลดเงื่อนไขด้านคุณวุฒิการศึกษาให้พ่อครัวแม่ครัวไทยเข้าไปทำงานในญี่ปุ่นได้สะดวกขึ้น แต่ญี่ปุ่นยังคงจำกัดสาขาแรงงานไทยที่จะเข้าไปทำงาน เช่น ผู้ให้บริการสปา/นวดแผนไทย ซึ่งเป็นสาขาธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพ รวมทั้งผู้ดูแลคนสูงอายุ แต่ญี่ปุ่นยังไม่เปิดให้แรงงานไทยสาขาเหล่านี้เข้าไปทำงานในญี่ปุ่น ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการยกระดับการศึกษาของไทย ซึ่งถือว่าทรัพยากรมนุษย์ที่มีการศึกษาที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ และยังเป็นการรองรับการเข้ามาลงทุนของต่างชาติที่ต้องการแรงงานมีฝีมือและแรงงานทางเทคนิคด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

                        ที่สำคัญการจัดทำ JTEPA เป็นการสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยให้ทัดเทียมกับประเทศอาเซียนที่จัดทำ FTA กับญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ รวมทั้งอินโดนีเซีย บรูไน และเวียดนามที่อยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำ FTA กับญี่ปุ่นด้วย

                        ผลกระทบต่อกลุ่มผู้ผลิตเหล็ก ชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่นด้วยต้นทุนต่ำลงจากการลดภาษีศุลกากรของไทย แม้ว่าจะมีเวลาปรับตัว 5-11 ปี ก่อนที่ภาษีจะลดลงเหลือ 0% ก็ตาม ภาครัฐจึงควรเร่งรัดดำเนินการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยเพื่อปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรี FTA สำหรับประเด็นสำคัญที่เป็นข้อกังวลของภาคประชาชนซึ่งอาจส่งผลกระทบในวงกว้างต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและสังคม ได้แก่ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพย์สินทางปัญญา และบริการสาธารณสุข ถือเป็นประเด็นอ่อนไหวที่ภาครัฐควรเร่งชี้แจงทำความเข้าใจให้มากขึ้นอย่างทั่วถึง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและลดกระแสกดดันของการคัดค้านการลงนามความตกลง JTEPA นอกจากนี้ ในช่วงเวลาก่อนที่ความตกลง JTEPA จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งคาดว่าจะมีระยะเวลา 6 เดือน หลังจากการลงนามความตกลงฯ ภาครัฐควรเร่งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภายในให้พร้อมรองรับต่อการเปิดเสรีและข้อผูกพันภายใต้ความตกลงฯ รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายด้วย โดยเฉพาะเรื่องการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลในระยะยาวต่อชีวิต/ความเป็นอยู่ของคนและระบบนิเวศน์ในสังคม  

   

ย้อนกลับ:::

 

 

 

 

 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1960 

           วันที่ 30 มีนาคม 2550

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.