Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

ข้าวโพดหวาน : ผลกระทบจากภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดในสหภาพยุโรป

 

   

      ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานส่งออกซึ่งเป็นสินค้าผักดาวรุ่งกำลังเผชิญปัญหาใหญ่เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2549 คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปประกาศเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดขั้นต้นสำหรับข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องของไทย ในอัตราอยู่ระหว่างร้อยละ 4.3-13.2 (อัตราไม่เท่ากันแต่ละบริษัท) แม้ว่าจะเป็นการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดขั้นต้นเท่านั้น แต่ก็ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องของไทย เนื่องจากทางผู้นำเข้าในสหภาพยุโรปถูกเรียกเก็บเงินค้ำประกันการนำเข้าแล้ว และการส่งออกข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องไปยังสหภาพยุโรปเริ่มมีแนวโน้มลดลง เพราะผู้นำเข้าในสหภาพยุโรปไม่มั่นใจสถานภาพของไทย ซึ่งการประกาศอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดขั้นสุดท้ายในเดือนพฤษภาคม 2550 จะเป็นการตัดสินอนาคตของข้าวโพดหวานกระป๋องของไทยในตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งถ้าสหภาพยุโรปยังคงยืนยันการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องของไทยไปยังสหภาพยุโรปในระยะ 5 ปีต่อไป(2550-2554) และส่งผลต่อเนื่องต่ออุตสาหกรรมข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องในไทย กล่าวคือโรงงานข้าวโพดหวานจะต้องลดกำลังการผลิต เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวานกว่า 200,000 ครอบครัวจะได้รับผลกระทบต่อเนื่อง เพราะขีดความสามารถในการแข่งขันของข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องของไทยลดลง ด้วยอัตราภาษีที่สูงขึ้น ปริมาณความต้องการ และระดับราคาวัตถุดิบข้าวโพดหวานต้องปรับตัวลงตามผลกระทบที่เกิดขึ้น

         ไทยเป็นประเทศนอกสหภาพยุโรปที่ครอบครองอันดับหนึ่งในตลาดข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องที่สหภาพยุโรปนำเข้ามาโดยตลอด ซึ่งไทยครอบครองส่วนแบ่งตลาดนำเข้าข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องจากประเทศนอกสหภาพยุโรปถึงร้อยละ 74.0 มูลค่าการนำเข้าข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องจากไทยของสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงปี 2545-2547 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องของไทยเริ่มเผชิญปัญหาเมื่อฮังการีเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปในเดือนพฤษภาคม 2547 ทำให้ในปี 2548 มูลค่าการนำเข้าข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องของไทยในสหภาพยุโรปลดลงเหลือ 47.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับในปี 2547 แล้วลดลงร้อยละ 0.1 หลังจากนั้นในปี 2549 เมื่อสมาคมผู้ผลิตข้าวโพดหวานยุโรปร้องเรียนให้ไต่สวนไทยในการทุ่มตลาดสินค้าข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องจนนำไปสู่การประกาศอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดเบื้องต้น ทำให้มูลค่าการนำเข้าข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องของไทยในตลาดสหภาพยุโรปในปี 2549 ก็ยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากปี 2548 กล่าวคือ มูลค่าการนำเข้าข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องของไทยในตลาดสหภาพยุโรปในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2549 ลดลงเหลือ 41.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วลดลงร้อยละ 7.0 คาดหมายว่าถ้าไทยถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องในสหภาพยุโรปแล้ว การส่งออกข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องของไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 5 ปีต่อไป เนื่องจากไทยจะเสียเปรียบในการแข่งขัน ซึ่งคาดว่าทั้งฝรั่งเศสและฮังการีน่าจะแย่งส่วนแบ่งตลาดกลับคืนไปได้ ส่วนประเทศนอกสหภาพยุโรปที่เป็นคู่แข่งสำคัญของไทยและมีส่วนแบ่งตลาดข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น คือ จีน และสหรัฐฯ ซึ่งทั้งสองประเทศนี้เป็นคู่แข่งสำคัญในการส่งออกข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องในตลาดสหภาพยุโรป กล่าวคือ มูลค่าการนำเข้าข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องของจีนในตลาดสหภาพยุโรปในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็น 0.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 155.0 ส่วนมูลค่าการนำเข้าข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องของสหรัฐฯในตลาดสหภาพยุโรปในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็น 5.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 แม้ว่าส่วนแบ่งตลาดนำเข้าของทั้งสองประเทศนี้ยังจะห่างจากไทยมาก โดยจีนมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.0 และสหรัฐฯมีร้อยละ 8.9 แต่ผลกระทบจากการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดเฉพาะกับผู้ส่งออกข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องไทยนับเป็นแรงผลักสำคัญที่ทำให้ผู้นำเข้าในสหภาพยุโรปหันไปนำเข้าจากทั้งสองประเทศนี้แทน

          ปัจจัยที่สามารถช่วยบรรเทาผลกระทบจากปัญหาในสหภาพยุโรป คือ

                1.ขยายการบริโภคในประเทศ เนื่องจากในประเทศก็มีกระแสการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ดังนั้นการส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานในประเทศก็สามารถเกาะกระแสความนิยมบริโภคนี้ได้ เนื่องจากข้าวโพดหวานจัดเป็นผักชนิดหนึ่งและยังเป็นอาหารที่มีกากใยสูงเหมาะสำหรับเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ประเด็นที่น่าสนใจคือ ในขณะที่ไทยเป็นประเทศส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานที่สำคัญของโลก ไทยยังมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน ซึ่งถ้ามีการรณรงค์ให้ตลาดส่วนนี้หันมาบริโภคผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานที่ผลิตได้ในประเทศก็จะทำให้ตลาดผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น และยังเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศอีกด้วย กล่าวคือ ในปี 2549 ไทยนำเข้าข้าวโพดหวานสดแช่เย็นแช่แข็ง 49.11 ตัน มูลค่า 2.03 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2548 แล้วทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 34.4 และ 48.4 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานหันมาขยายตลาดในประเทศมากขึ้นหลังจากที่ตลาดส่งออกเริ่มเผชิญปัญหา แต่เมื่อพิจารณาสถิติในระหว่างปี 2547-2548

   

ย้อนกลับ:::

 

 

 

 

 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1963 

           วันที่ 23 มีนาคม 2550

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.