Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

ตลาดเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนไทยในอินเดีย : มีแนวโน้มดี...แต่ต้องเร่งเปิดเกมบุก

 

   

     แม้ว่าปัจจุบันการส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนไทยไปตลาดอินเดียยังมีมูลค่าไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับตลาดหลัก อาทิ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น   แต่จากการที่อินเดียมีศักยภาพสูงทั้งในด้านจำนวนประชากรที่มากถึง 1,100 ล้านคน และด้านอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงเฉลี่ยถึงร้อยละ 8.3 ในช่วงปี 2547-2549  อีกทั้งอินเดียยังกลายเป็นประเทศที่นักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลกต่างสนใจเข้าไปลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมก่อสร้างและตกแต่งที่ขยายตัวตามปริมาณความต้องการที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทโรงแรม และรีสอร์ทด้วย ทำให้ปริมาณความต้องการเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนจึงมีแนวโน้มการเติบโตที่ค่อนข้างสดใสไม่น้อย ทั้งจากความต้องการของประชากรอินเดียเอง และนักลงทุนชาวต่างชาติที่พำนักในอินเดีย  ทั้งนี้ความต้องการเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนนำเข้าของอินเดียขยายตัวสูงมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยในช่วงปี 2546-2548 อินเดียมีการนำเข้าสินค้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนจากต่างประเทศเติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเกินกว่าร้อยละ 50 ต่อปี      จึงน่าจะเอื้อให้การขยายการส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยในตลาดอินเดียเป็นไปในทิศทางที่ดีพอสมควร   ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ก็คาดว่าในปี 2550 ไทยน่าจะสามารถส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ไปยังตลาดอินเดียได้เพิ่มขึ้นด้วยอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ 

            อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ประกอบการไทยพึงระวังในการบุกตลาดอินเดียก็คือ โครงสร้างอัตราภาษีและระบบกฎหมายของอินเดียที่ซับซ้อน และแตกต่างกันในแต่ละรัฐ รวมถึงภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรงในตลาดระดับกลางถึงล่าง ซึ่งมีจีนและมาเลเซียเป็นคู่แข่งสำคัญ ดังนั้นในการบุกตลาดอินเดีย ผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นต้องศึกษากฎหมายท้องถิ่น และความต้องการผู้บริโภคอินเดียในแต่ละพื้นที่อย่างละเอียด   รวมถึงควรมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนด้วย เพื่อให้การดำเนินกลยุทธ์การตลาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะการดำเนินกลยุทธ์ในอินเดีย ผู้ประกอบการไม่สามารถใช้กลยุทธ์เดียวในการทำตลาดทั้งประเทศได้ แต่ต้องเลือกใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่เฉพาะเจาะจงที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่   ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็ต้องมีการปรับตัวในการผลิตสินค้าอย่างต่อเนื่อง แม้ราคาจะเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจซื้อสินค้า แต่ชาวอินเดียก็ยังคงให้สำคัญต่อการคุ้มค่าของเงินที่จ่ายไปด้วย นอกจากนี้ผู้ประกอบการไทยควรจะเลือกใช้บริการตัวแทนจำหน่ายในอินเดีย หรือหาพันธมิตรที่ไว้ใจได้ในการขยายตลาด เพื่อให้การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการของอินเดียเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้น และนอกเหนือจากการมุ่งเจาะตลาดอินเดียแล้ว ผู้ส่งออกไทยน่าจะอาศัยอินเดียเป็นประตูการค้าเพื่อกระจายสินค้าและขยายการส่งออกไปยังตลาดตะวันออกกลาง และประเทศใกล้เคียงเช่นบังคลาเทศ และปากีสถาน เป็นต้นด้วย โดยใช้สิทธิในมาตรการยกเว้นภาษีระหว่างกันสำหรับประเทศในภูมิภาคดังกล่าว ซึ่งจะมีผลให้สินค้าเฟอร์นิเจอร์ของไทยมีราคาไม่แพงมากนัก ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้สินค้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนไทยสามารถขยายตลาดในวงกว้างยิ่งขึ้นในยุคที่การแข่งขันมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

 

   

 

 

   

ย้อนกลับ:::

 

 

 

 

 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1959 

           วันที่ 16 มีนาคม 2550

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.