ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
คาดว่า
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4
ปี 2549
ที่จะประกาศโดย สศช. ในวันที่ 6
มีนาคม นี้ จะเท่ากับร้อยละ 4.3 ชะลอตัวลงจากร้อยละ
4.7 ในไตรมาสที่ 3 ในขณะที่
คาดว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสำหรับทั้งปี
2549 จะอยู่ที่ร้อยละ 5.0
สูงกว่าปี 2548
ที่ขยายตัวร้อยละ 4.5
โดยการขยายตัวที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าวของปี 2549
เป็นผลมาจากการส่งออกเป็นหลัก (การส่งออกขยายตัวร้อยละ
17.4 ในปี 2549
จากร้อยละ 15.0
ในปี 2548)
ในขณะที่การลงทุนชะลอตัวลงอย่างชัดเจน
สำหรับแนวโน้มในปี 2550
นั้น แม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ
จะยังคงสร้างความกังวลต่อภาคธุรกิจและนักลงทุนโดยทั่วไป
แต่ ณ ขณะนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ยังคงตัวเลขประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยสำหรับปี
2550 ไว้ที่ร้อยละ 3.5-4.5
ซึ่งชะลอตัวลงจากร้อยละ 5.0
ในปี 2549 เนื่องจากเห็นว่าตัวเลขประมาณการดังกล่าวได้สะท้อนถึงแนวโน้มการชะลอตัวของการใช้จ่ายในประเทศอันเป็นผลจากความไม่แน่นอนทางการเมืองไปแล้วในระดับหนึ่ง ทั้งนี้
นอกเหนือจากประเด็นทางด้านการเมืองแล้ว
แนวโน้มการชะลอตัวของการลงทุนในปี 2550
ยังจะเป็นผลมาจากประเด็นในเรื่องร่างกฎหมายการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว
ในขณะที่การส่งออกของไทยในปีนี้ก็อาจจะชะลอตัวลงตามทิศทางเศรษฐกิจหลักของโลก
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
เห็นว่า แนวโน้มการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยในปี
2550 ที่อาจจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปี
2549 ที่ผ่านมา
อาจจะส่งผลให้เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นไปอีก
สวนทางกับปัจจัยพื้นฐานของประเทศ ในขณะที่การแข็งค่าของเงินบาทดังกล่าวอาจจะทำให้ในปี
2550 นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ยังคงต้องบันทึกการขาดทุน (Unrealized Losses)
ต่อเนื่องจากปี 2549
ที่ผ่านมา ดังนั้น
สืบเนื่องจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ
แนวโน้มการปรับลดของอัตราเงินเฟ้อ
ตลอดจนแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
จึงเห็นว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย
น่าที่จะสามารถพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปได้อีก
โดยค่าผลต่างอัตราดอกเบี้ยในและต่างประเทศที่เปลี่ยนไปตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของทางการไทย
นอกจากจะช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินบาทแล้ว
อัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ปรับลดลง
ก็ยังน่าที่จะเป็นผลดีต่อภาวะการใช้จ่ายในประเทศและการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวม
โดยไม่น่าที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญแต่ประการใด
ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2550
หน่วย: %
y-o-y,
หรือระบุเป็นอย่างอื่น |
2549 |
|
2550 |
|
|
|
กรณีเลวร้าย |
กรณีฐาน |
กรณีที่ดี |
GDP |
5.0 |
3.5 |
4.0 |
4.5 |
การบริโภคภาคเอกชน |
3.4 |
3.0 |
3.5 |
4.0 |
การลงทุนรวม |
3.9 |
1.1 |
1.8 |
2.5 |
เอกชน |
4.5 |
1.7 |
2.3 |
2.8 |
รัฐ |
2.1 |
-0.6 |
0.4 |
1.4 |
การส่งออก |
17.4 |
10.0 |
11.0 |
12.0 |
การนำเข้า |
7.0 |
7.0 |
8.5 |
10.0 |
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ฯ) |
3.2 |
7.3 |
6.7 |
6.1 |
ดุลบัญชีเดินสะพัด (% ต่อ
GDP) |
1.6 |
3.1 |
2.8 |
2.6 |
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ย (ดอลลาร์ฯ) |
65.1 |
57.0 |
55.0 |
53.0 |
อัตราการเปลี่ยนแปลง |
19.4 |
-12.4 |
-15.5 |
-18.6 |
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline CPI) |
4.7 |
2.5 |
2.0 |
1.5 |
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) |
2.3 |
2.0 |
1.5 |
1.0 |
อัตราดอกเบี้ย
Repo-1 Day (ณ สิ้นปี) |
4.9375 |
4.50 |
4.00 |
3.50 |
|