Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)
 

ไก่และผลิตภัณฑ์ในตลาดอียูปี 2550 : โควตานำเข้า...อุปสรรคส่งออกไก่ไทย

 
 
 
     ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2549 สหภาพยุโรปประกาศปรับระบบการนำเข้าสินค้าไก่หมักเกลือ เนื้อไก่งวง และไก่แปรรูป โดยกำหนดโควตานำเข้า หลังจากนั้นสหภาพยุโรปก็เจรจาทั้งกับบราซิลและไทย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่และเป็นผู้ที่จะได้รับชดเชยโควตาตามคำตัดสินขององค์การการค้าโลกจากการที่สหภาพยุโรปเก็บภาษีไก่หมักเกลือที่ส่งออกจากไทยและบราซิลผิดพิกัดภาษี ซึ่งทำให้บราซิลและไทยเสียภาษีนำเข้าสูงกว่าที่ควรจะเป็น อย่างไรก็ตามสหภาพยุโรปและบราซิลสามารถบรรลุข้อตกลงในการชดเชยโควตาไก่หมักเกลือ เนื้อไก่งวงและไก่แปรรูปแล้วในช่วงเดือนตุลาคม 2549 ส่วนไทยนั้นยังรอการเจรจาขั้นสุดท้ายในวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2549 ว่าไทยจะได้รับโควตาเท่าใด ซึ่งปริมาณโควตาที่ไทยจะได้รับนี้จะเป็นตัวกำหนดอนาคตการส่งออกไก่แปรรูปของไทย รวมทั้งยังจะเป็นตัวกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมไก่เนื้อของไทยด้วย
       ตลาดสหภาพยุโรป เป็นตลาดที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในการส่งออกไก่แปรรูป อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกไก่แปรรูปไปยังสหภาพยุโรปในปี 2548 มีมูลค่าการส่งออกต่ำกว่าการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น แต่ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 มูลค่าการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปก็พลิกกลับขึ้นไปเป็นแหล่งส่งออกอันดับหนึ่งของไทยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าการส่งออกไก่แปรรูปไปยังตลาดสหภาพยุโรปมีความสำคัญอย่างมาก การนำเข้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของสหภาพยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2549 โดยเฉพาะการนำเข้าไก่แปรรูปจากไทย แม้ว่าจะมีข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก และสหภาพยุโรปห้ามนำเข้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจากไทยก็ตาม คาดการณ์ว่าในปี 2550 การนำเข้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของสหภาพยุโรปยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากคำตัดสินขององค์การการค้าโลกที่ให้สหภาพยุโรปลดภาษีนำเข้าสำหรับไก่หมักเกลือให้ไทยและบราซิล และกำลังการผลิตไก่แปรรูปของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
          ซึ่งจากสถานการณ์ในด้านการผลิตและการตลาดเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของสหภาพยุโรปที่เริ่มฟื้นตัวนั้นนับว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับผู้ส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของไทย แต่ปัญหาใหญ่ในการส่งออกไก่และผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดสหภาพยุโรปในปี 2550 คือกรณีที่ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2549 สหภาพยุโรปประกาศจะปรับระบบการนำเข้าสินค้าไก่แปรรูป ไก่หมักเกลือและไก่งวงที่นำเข้าจากทั่วโลกเพื่อคุ้มครองผู้ผลิตในประเทศ โดยมีการกำหนดโควตาการนำเข้า ส่วนอัตราภาษีในโควตายังคงเท่ากับก่อนที่จะมีการกำหนดโควตา ส่วนภาษีนอกโควตานั้นอยู่ในระดับที่สูงมาก โดยสหภาพยุโรปจะมีการเจรจากำหนดโควตากับผู้ส่งออกรายใหญ่ 2 ประเทศคือ บราซิลและไทย ซึ่งทั้งสองประเทศเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก การเจรจากับบราซิลมีสินค้าเนื้อไก่หมักเกลือเนื้อไก่งวง และเนื้อไก่แปรรูป โดยการเจรจานั้นดำเนินการเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากในปัจจุบันบราซิลเป็นประเทศผู้ส่งออกไก่หมักเกลือไปยังสหภาพยุโรปมากเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนการเจรจากับไทยมีเพียงสินค้าไก่หมักเกลือ และเนื้อไก่แปรรูป โดยการเจรจายังไม่เรียบร้อย คาดว่าทางสหภาพยุโรปจะประกาศมาตรการจำกัดโควตานำเข้าพร้อมการปรับขึ้นภาษีในอัตราใหม่ภายในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2550 ล่าช้ากว่าเดิมที่กำหนดไว้ 1 มกราคม 2550
 
อัตราภาษีนำเข้าและโควตานำเข้าไก่หมักเกลือ ไก่งวง และไก่แปรรูป
 
 
จำนวนโควตา
(ตัน)
อัตราภาษีในโควตา
อัตราภาษีนอกโควตา
(ยูโร/ตัน)
โควตาของบราซิล
(ตัน)
โควตาที่เหลืออยู่ของไทย
(ตัน)
ไก่หมักเกลือ
264,245
15.4%
1,300
170,807
93,438
ไก่งวง
103,896
8.5%
1,024
92,300
11,596
ไก่แปรรูป
230,453
10.9%
1,024
73,000
157,453
ที่มา : EU Commissioner for Agriculture and Rural Development
หมายเหตุ : สหภาพยุโรปชดเชยโควตาให้เฉพาะไทยและบราซิล
 
      ปัจจุบันการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของไทยเกือบทั้งหมดเป็นการส่งออกไก่แปรรูป เนื่องจากไทยยังไม่ได้รับการรับรองจากองค์การโรคระบาดระหว่างประเทศว่าเป็นเขตปลอดโรคไข้หวัดนก ทำให้ไทยยังไม่สามารถส่งออกเนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็งได้ สหภาพยุโรปเป็นตลาดหลักในการส่งออกไก่แปรรูปส่วนชิ้นเนื้ออก และญี่ปุ่นเป็นตลาดหลักรองรับเนื้อไก่ถอดกระดูกส่วนเนื้อน่อง สะโพกและขา ดังนั้นการเจรจาในเรื่องโควตานำเข้าไก่แปรรูปของสหภาพยุโรปของประเทศไทยนั้นเท่ากับว่าเป็นตัวกำหนดอนาคตของการส่งออกไก่แปรรูป โดยถ้าไทยได้โควตาเพียง 140,000-150,000 ตัน ผู้ส่งออกและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไก่เนื้อของไทยจะมีเวลาในการปรับตัวเพียง 1-2 ปี ซึ่งจะสามารถส่งออกได้เต็มตามโควตาที่ได้รับ รวมทั้งในการเร่งหาตลาดใหม่ทดแทนและการปรับปริมาณการเลี้ยงรวมทั้งการแปรรูปให้สอดคล้องกับปริมาณการส่งออก แต่ถ้าไทยสามารถเจรจาให้ได้โควตาเพิ่มเป็น 200,000 ตัน ผู้ส่งออกและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไก่ของไทยจะมีเวลาปรับตัวนานขึ้นเป็น 3-4 ปี และด้วยความหวังว่าเมื่อถึงเวลานั้นนอกจากการปรับตัวแล้วจะมีตัวช่วยคือ ไทยอาจจะได้รับการประกาศเป็นเขตปลอดการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ทำให้ไทยสามารถส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งอีกครั้งหนึ่งด้วย

 

 
 

ย้อนหลับ 

 
   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา : มองเศรษฐกิจ 

          ฉบับที่ 1898  17 พฤศจิกายน 2549

           บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.