Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

ดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนญี่ปุ่นที่ลดลงต่อเนื่อง

: ผลต่อทิศทางการลงทุนในระยะข้างหน้า

 

     

      ญี่ปุ่นนับเป็นประเทศผู้ลงทุนรายสำคัญที่สุดในประเทศไทย คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เข้ามายังประเทศไทยทั้งหมด ในระยะหลายปีที่ผ่านมา ไทยเป็นประเทศที่นักลงทุนญี่ปุ่นให้ความสนใจเข้ามาลงทุนมากที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย แม้แต่ในช่วงปี 2549 ที่สถานการณ์ภายในประเทศเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง แต่ถ้าเปรียบเทียบภายในกลุ่มประเทศเอเชียด้วยกัน พบว่าการลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทยมีมูลค่าสูงเป็นอันดับสอง รองจากประเทศจีน โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบันของญี่ปุ่น (FY 2549) หรือ ระหว่างเดือนเมษายนถึงกันยายน 2549 ญี่ปุ่นมีการลงทุนในประเทศไทยมูลค่า 1,156 ล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงกว่าอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียที่ร้อยละ 6

            อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเงินลงทุนที่เข้ามา ณ ปัจจุบันนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เคยมีต่อประเทศไทยในระยะก่อนหน้า สิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ณ ขณะนี้คือ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนญี่ปุ่นถดถอยลงไปอย่างมาก ในปัจจุบัน ปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศหลายประการดำเนินไปในทิศทางเชิงลบ ทำให้ความน่าดึงดูดของไทยลดน้อยลงในสายตาของนักลงทุนต่างชาติ ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย ได้สะท้อนผ่านมุมมองของนักลงทุนดังที่เห็นได้จากการผลสำรวจหลายชิ้น ประกอบด้วย

           - การสำรวจความเชื่อมั่นของบริษัทญี่ปุ่นในเอเชีย โดยองค์กรการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JETRO (Japan External Trade Organization) พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นต่อภาวะการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย (Diffusion Index) ในเดือนมกราคม 2550 อยู่ที่ระดับ -12.9 อยู่ในแดนลบต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2549 และรั้งอันดับต่ำสุดในกลุ่มประเทศอาเซียนติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3

            - การสำรวจของ JETRO ถึงแผนการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยพบว่า บริษัทญี่ปุ่นมีแผนการลงทุนขยายธุรกิจในประเทศไทยในปี 2550 ลดลงจากปี 2549 ถึงร้อยละ 26.5

             - การสำรวจของธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC (Japan Bank of International Cooperation) ประจำปี 2549 สอบถามความคิดเห็นของบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่นถึงมุมมองต่อประเทศที่สนใจเข้าไปลงทุนในระยะ 3 ปีข้างหน้า พบว่าความสนใจของบริษัทญี่ปุ่นในการเข้ามาลงทุนที่ประเทศไทยลดลงมาเป็นอันดับที่ 4 จากที่เคยอยู่ในอันดับ 3 และอันดับ 2 ในการสำรวจเมื่อปี 2548 และ 2547 ตามลำดับ โดยประเทศที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจเข้าไปลงทุนมากที่สุดยังคงเป็นจีน รองลงมาคืออินเดีย และเวียดนามแซงหน้าไทยขึ้นมาเป็นอันดับ 3

            ความเชื่อมั่นของนักลงทุนญี่ปุ่นต่อประเทศไทยที่ถดถอยลง ในขณะที่มุมมองของนักลงทุนญี่ปุ่นกลับให้ความสนใจต่อการไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น นับได้ว่าเป็นสัญญาณที่ภาครัฐไม่อาจมองข้ามได้ และควรเร่งหามาตรการแก้ไขตลอดจนปรับแนวนโยบายการลงทุนเพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้

            สาเหตุสำคัญที่ทำให้ปัจจัยพื้นฐานที่สนับสนุนการลงทุนในไทยอ่อนแอลง เนื่องจากบรรยากาศการลงทุนของไทยถูกกระทบจากเหตุการณ์ภายในประเทศหลายด้าน ที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาทางการเมือง เหตุการณ์วินาศกรรม ปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทมาตรการสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีผลทำให้ธุรกิจต่างชาติในไทยมีต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นและมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการทางการเงินลดลง และร่างแก้ไขพรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งแม้ว่าอาจไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการต่างชาติที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยอยู่แล้วในวงกว้าง แต่อาจกระทบต่อแนวโน้มการลงทุนใหม่ที่จะเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า

            ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย ที่สะท้อนผ่านมุมมองของนักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายสำคัญที่สุดของไทย อาจเป็นสัญญาณที่รัฐบาลไม่อาจมองข้าม และควรเร่งหามาตรการแก้ไข ตลอดจนหันมาทบทวนปรับแนวนโยบายการลงทุนเพื่อรักษาสถานะการแข่งขันของไทยในด้านการลงทุนภายในภูมิภาค

     

          

ย้อนกลับ:::

 

 

 

 

           

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1935 

           วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.