Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

อัญมณีและเครื่องประดับปี’50 : ขึ้นกับราคาทองคำ...บวกความมั่นใจของผู้บริโภค

 

     

       อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยในปี 2550 ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศน่าจะอยู่ในภาวะทรงตัว หรือขยายตัวในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2549  โดยในส่วนของตลาดในประเทศนั้น มีความเป็นไปได้ว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมเครื่องประดับแท้ภายในประเทศในปี 2550 นั้น จะยังคงขึ้นอยู่กับราคาทองเป็นหลัก ควบคู่กับระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศ ส่วนเครื่องประดับเทียมนั้นน่าจะมีการนำเสนอสินค้าหลากหลายมากขึ้นทั้งในส่วนของรูปแบบ วัสดุที่ใช้ในการผลิต และราคาสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ส่วนการนำเข้าสินค้าเครื่องประดับก็คาดว่าจะมีมากขึ้นด้วย ตามทิศทางค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น  และมีความเป็นไปได้ว่าสถานการณ์การแข่งขันในปี 2550 นั้นก็น่าจะทวีความเข้มข้นมากขึ้น เพื่อแย่งชิงกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลต่างๆอย่างวันวาเลนไทน์ที่สินค้ากลุ่มนี้ก็น่าจะเป็นที่นิยมในการซื้อเพื่อมอบให้เป็นของขวัญกันและกันไม่น้อย

           ส่วนสถานการณ์การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในปี 2550 น่าจะเติบโตต่อเนื่องจากปี 2549 ด้วยระดับการเติบโตใกล้เคียงร้อยละ 10 หรือคิดเป็นมูลค่าการส่งออกไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากผู้ประกอบการไทยหลายรายเร่งเปิดเกมรุกบุกตลาดใหม่ๆทั้งตลาดจีนและอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่และมีกำลังซื้อในช่วงขาขึ้น รวมถึง ตลาดเอเชียใต้ ลาตินอเมริกา และแอฟริกา อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  โดยอาศัยฝีมือการผลิตและการเจียระไนเพชร-พลอยที่ได้รับการยอมรับในตลาดโลกเป็นจุดแข็งในการแข่งขัน  อีกทั้งยังเร่งพัฒนามาตรฐานคุณภาพการเจียระไนอัญมณีและการผลิตเครื่องประดับอย่างต่อเนื่องด้วย  อย่างไรก็ตาม ในปี 2550 ผู้ประกอบการไทยยังคงต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งอย่างจีนและอินเดียที่เป็นทั้งคู่ค้าและคู่แข่งสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไปไม่ได้ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงในอีกหลายด้านที่มีโอกาสผันผวนพอสมควร ทั้งค่าเงินบาท ระดับราคาน้ำมันในตลาดโลก และระดับราคาทองคำ เป็นต้น

           ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าในปี 2550 ผู้ประกอบการไทยหลายรายต่างยังคงต้องเร่งปรับตัว เพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่า และสร้างฐานลูกค้าให้เกิดขึ้น โดยในส่วนของการผลิตและการออกแบบนั้นควรคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก   และยังคงต้องเน้นความทันสมัย หรือเป็นรูปแบบที่สามารถสวมใส่ได้ในหลายโอกาสภายใต้ระดับราคาที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อที่ง่ายและเร็วขึ้น รวมถึงการให้ความสำคัญกับแฟชั่นอย่างใกล้ชิดมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ควรเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในกลุ่มตลาดใหม่ๆมากขึ้นเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและความน่าเชื่อถือให้แก่อัญมณีและเครื่องประดับของไทย รวมทั้งการสร้างฐานข้อมูลผู้บริโภคเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการผลิต พัฒนาสินค้า และทำการตลาดได้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด รวมถึงการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อเพิ่มช่องทางกระจายสินค้า ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้อัญมณีและเครื่องประดับไทยสามารถขยายตลาดส่งออกในตลาดใหม่ๆได้มากยิ่งขึ้นนับจากนี้

          

ย้อนกลับ:::

 

 

 

 

           

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1936 

           วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.