Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

จับตาสิงคโปร์ : ชาติอาเซียนลงทุนสูงสุดในไทย

 

 

      สิงคโปร์มีบทบาทสำคัญด้านการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย ทั้งการลงทุนโดยตรง (FDI) และการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ในปีที่ผ่านมาบริษัทเทมาเส็ก โฮสดิ้ง หน่วยงานด้านการลงทุนที่ทางการสิงคโปร์ถือหุ้น ได้เข้ามาลงทุนถือหุ้นในโรงพยาบาลขนาดใหญ่และบริษัทเทเลคอมของไทย รวมทั้งเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยด้วยมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ (Net Flow of Portfolio Investment) ถึง 3,446 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2549  คิดเป็นสัดส่วน 63% ของเงินลงทุนสุทธิของต่างชาติทั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วงดังกล่าว นับว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนสุทธิในตลาดหลักทรัพย์ไทยมากที่สุดในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2549

            สิงคโปร์เป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนโดยตรง (FDI) ในไทยเป็นอันดับ 3 รองจากญี่ปุ่น และสหรัฐฯ และถือเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยมากเป็นอันดับ 1 ในบรรดาประเทศอาเซียน ในปีที่ผ่านมา สิงคโปร์ยื่นขออนุมัติโครงการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น ทั้งจำนวนโครงการลงทุนและมูลค่าโครงการ จาก 82 โครงการ และมูลค่า 14,129 ล้านบาทในปี 2548 เป็น 86 โครงการ และมูลค่าเพิ่มขึ้น 100% เป็น 28,921 ล้านบาท ในปี 2549 ประเภทโครงการที่สิงคโปร์ยื่นขออนุมัติลงทุนมีมูลค่าสูงสุดในปี 2549 ได้แก่ เครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่าโครงการ 14,549 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 226% จากมูลค่า 4,453 ล้านบาทในปี 2548 คิดเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งของมูลค่าโครงการลงทุนที่ยื่นขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนทั้งหมดของสิงคโปร์ในปี 2549 โครงการลงทุนประเภทอื่นๆ ของสิงคโปร์ในไทย ได้แก่ การลงทุนในธุรกิจบริการ โครงการเหล็กและเครื่องจักรกล และโครงการเคมีภัณฑ์และกระดาษ

               สำหรับด้านการค้า สิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 4 ของไทย รองจาก ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา และเป็นประเทศที่ไทยนำเข้ามากเป็นอันดับ 6 รองจากญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับสิงคโปร์มาโดยตลอด มูลค่าการค้าไทย-สิงคโปร์ (ส่งออก+นำเข้า) เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากมูลค่าราว 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2541 เป็น 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2549 คิดเป็นสัดส่วนราว 5.4% ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย ในขณะที่ไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 9 ของสิงคโปร์ และหากพิจารณาเฉพาะประเทศในอาเซียน ไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของสิงคโปร์ รองจากมาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับ 8 ของสิงคโปร์ และเป็นประเทศที่สิงคโปร์นำเข้ามากเป็นอันดับที่ 10    

            การส่งออกของไทยไปสิงคโปร์ขยายตัวราว 5.7% ในปี 2549 จากมูลค่าส่งออก 7,691 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2548 เป็น 8,359 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ไทยนำเข้าจากสิงคโปร์ชะลอตัวลงในปี 2549 โดยขยายตัวราว 4.9% มูลค่า 5,647 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบการนำเข้าของไทยจากสิงคโปร์ในปี 2548 ที่ขยายตัวเกือบ 30% ด้วยมูลค่านำเข้า 5,379 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การนำเข้าของไทยจากสิงคโปร์ที่ชะลอตัวลงในปีที่ผ่านมา เนื่องจากไทยนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากสิงคโปร์ลดลง 38% จากปี 2548 และการนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบของไทยจากสิงคโปร์ชะลอตัวลง โดยขยายตัว 48% ในปี 2549 จากที่เพิ่มขึ้นถึง 100% ในปี 2548 ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้ากับสิงคโปร์มูลค่า 2,711 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2549 เพิ่มขึ้น 17.3% จากมูลค่าเกินดุลการค้า 2,311 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2548

              ด้านการท่องเที่ยว สิงคโปร์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คนไทยนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวเป็นอันดับ 3 รองจากมาเลเซีย และจีน ตามลำดับ และเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน รองจากมาเลเซีย ขณะเดียวกัน ชาวสิงคโปร์เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยมากเป็นอันดับ 4 รองจากมาเลเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตามลำดับ และเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน รองจากมาเลเซีย ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2549 จำนวนนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์ในไทยเพิ่มขึ้น 5.5% จาก 223,800 คน ในช่วงเดียวกันปี 2548 เป็น 236,030 คน จากทั้งปี 2548 นักท่องเที่ยวสิงคโปร์ทั้งหมดที่เดินทางมาไทยเกือบ 800,000 คน

 

ย้อนกลับ:::

 

 

 

 

           

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1945 

           วันที่ 26 มกราคม 2550

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.