Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)

น้ำผักและผลไม้ : เติบโตต่อเนื่องในปีกุน’50

 
 

         ธุรกิจน้ำผัก-ผลไม้นับว่าเป็นธุรกิจที่น่าจับตามอง และคาดว่าจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2550 ภายหลังจากที่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาธุรกิจนี้ก็ประสบผลสำเร็จจากยอดขายในประเทศที่เพิ่มขึ้นและมูลค่าการส่งออกที่มีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น อันเป็นผลมาจากปัจจัยหนุนหลายประการ กล่าวคือกระแสผู้บริโภคหันมาใส่ใจในสุขภาพยังคงมาแรง ผู้บริโภคเริ่มหันมาบริโภคน้ำผัก-ผลไม้มากขึ้นแทนการบริโภคชาเขียวและน้ำอัดลม โดยตลาดชาเขียวพร้อมดื่มที่เคยเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงระยะ 3 ปีที่ผ่านมาจนสามารถแย่งลูกค้าบางส่วนจากน้ำผัก-ผลไม้นั้น ปริมาณการผลิตน้ำผัก-ผลไม้ในปี 2550 คาดว่าจะมีปริมาณ 175 ล้านตัน (ประมาณ 220 ล้านลิตร ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับในปี 2549 ซึ่งปริมาณการผลิตในปี 2549 มีทั้งสิ้น 157 ล้านตัน(ประมาณ 219 ล้านลิตร) อันเป็นผลมาจากความต้องการบริโภคน้ำผัก-ผลไม้ในประเทศมีแนวโน้มขยายตัว ทำให้คาดการณ์ว่าผู้ประกอบการจะเริ่มขยายกำลังการผลิต รวมทั้งมีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาในตลาด

          ตลาดน้ำผัก-ผลไม้ในปี 2550 มีแนวโน้มแข่งขันรุนแรงมากขึ้น โดยผู้ประกอบการรายใหญ่ปรับกลยุทธ์ทั้งการทุ่มงบโฆษณากระตุ้นยอดขาย เปิดตัวสินค้าใหม่เป็นน้ำผลไม้ที่เจาะกลุ่มลูกค้าได้กว้างขึ้น และยังให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพเป็นหลัก การปรับตำแหน่งทางการตลาดใหม่ จากน้ำผลไม้ที่เจาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ใหญ่มาสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพที่เหมาะกับทุกวัย คาดว่าในปี 2550 ตลาดน้ำผัก-ผลไม้ในประเทศมีมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตร้อยละ 15 ต่อปี แบ่งเป็นตลาดน้ำผลไม้100% มีมูลค่า 2,500 ล้านบาทอัตราการขยายตัวร้อยละ 10.0 ต่อปี ตลาดน้ำผลไม้40%มูลค่า 500 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 8.0 ต่อปี และตลาดน้ำผลไม้ 25% มีมูลค่า 2,000 ล้านบาท อัตราการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 10.0 ต่อปี

           สำหรับการส่งออกน้ำผัก-ผลไม้ของไทยมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 จากที่มูลค่าการส่งออกชะลอตัวในปี 2547 โดยในปี 2549 ปริมาณการส่งออกเท่ากับ 315,227 ตัน มูลค่า 8,854 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2548 แล้วทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.0 และร้อยละ 17.8 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาดหลักทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐฯมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น ประเทศในแถบยุโรปจะบริโภคน้ำผลไม้โดยเฉลี่ย 22.1 ลิตร/คน/ปี และนิยมบริโภคน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวมากกว่าน้ำผลไม้ที่มีรสหวาน ทำให้สหภาพยุโรปเป็นตลาดส่งออกสำคัญของน้ำสับปะรด ส่วนตลาดสหรัฐฯนั้นจะเป็นตลาดส่งออกน้ำผลไม้อื่นๆ ส่วนน้ำผัก-ผลไม้ผสมนั้นตลาดส่งออกหลักคือประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะพม่า กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน มาเลเซียและอินโดนีเซีย

            ประเภทของการส่งออกน้ำผัก-ผลไม้ของไทยนั้นน้ำสับปะรดมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 60.0 ของมูลค่าการส่งออกน้ำผัก-ผลไม้ทั้งหมด โดยในปี 2549 ไทยส่งออกน้ำสับปะรด 187,632 ตัน มูลค่า 5,252 ล้านบาท เมื่อเทียบกับในปี 2548 แล้วทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.0 และร้อยละ 16.3 ตามลำดับ ส่วนที่เหลือเป็นการส่งออกน้ำส้ม น้ำผัก-ผลไม้รวม และน้ำผัก-ผลไม้อื่นๆ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่ามูลค่าการส่งออกน้ำผัก-ผลไม้ชนิดอื่นๆโดยเฉพาะน้ำผัก-ผลไม้เมืองร้อน เช่น น้ำมะพร้าว น้ำมะขาม เป็นต้น มีอัตราการขยายตัวที่น่าสนใจ แม้ว่าในปัจจุบันทั้งปริมาณและมูลค่าการส่งออกจะยังไม่สูงมากนักก็ตาม กล่าวคือ โดยในปี 2549 ไทยส่งออกน้ำผัก-ผลไม้ชนิดอื่นๆ 110,139 ตัน มูลค่า 3,203 ล้านบาท เมื่อเทียบกับในปี 2548 แล้วทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 และร้อยละ 19.7 ตามลำดับ ตลาดส่งออกน้ำผัก-ผลไม้ที่สำคัญของไทยคือ สหภาพยุโรปสัดส่วนร้อยละ 42.7 ของมูลค่าการส่งออกน้ำผัก-ผลไม้ทั้งหมด รองลงมาคือ สหรัฐฯร้อยละ 27.9 อาเซียนร้อยละ 5.9 และญี่ปุ่นร้อยละ 3.7 ตลาดที่มีแนวโน้มขยายตัวคือ ตลาดประเทศเพื่อนบ้าน และตลาดในตะวันออกกลาง

 

       

      

 

ย้อนกลับ:::

 

 

 

 

           

ที่มา : มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1932 

           วันที่ 29 มกราคม 2550

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 05-Feb-2008.