Institute of Trade Strategies (สถาบันยุทธศาสตร์การค้า)

หอการค้าไทย

 

หน้าหลัก แนะนำสถาบัน

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย

บทความ ข้อมูลรายสินค้า
 
 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดย ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล

สรุปหลักแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง

 
Trade Mission
ราชอาณาจักรบาห์เรน
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐสุลต่านโอมาน

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย

วัฒนธรรมชาวอาหรับ

Do's and DON'Ts in Arabian Society

The Smiling Military Intervention

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

 

 

.

     หอการค้าและสมาคมการค้า

หอการค้าไทย
หอการค้าจังหวัด
หอการค้าต่างประเทศในไทย
หอการค้าทั่วโลก
สมาคมการค้า

     หน่วยงานราชการ

กระทรวง
องศ์กรอิสระ

   สถาบันการเงิน

 

ธนาคาร

    สถาบันการลงทุน

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI

   สื่อสิ่งพิมพ์

หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วารสาร

   สื่อออกอากาศ

สถานีโทรทัศน์
สถานีวิทยุ

ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพ็ค
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ศูนย์ประชุมนานาชาติ BITEC

   เว็บไซต์อื่น ๆ

เอแบคโพลล์
สวนดุสิดโพลล์
     หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย    
     ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
     ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

     Thailand  development  Research  Institute (TDRI)

     มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย
     สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
     สำนักงานสถิติแห่งชาติ
     สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) หรือ International Institute for Trade and Development (ITD)
     World Trade Orgainzition (WTO)
     International Trade Centre (UNCTAD/WTO)
     United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD)
 
 

แนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่ม “เร่งออม” เพื่อวัยเกษียณ

 

       โครงสร้างประชากรของไทยเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประกอบกับปัจจุบันขนาดครอบครัวเล็กลงมีเพียงพ่อแม่ลูกไม่มีปู่ย่าตายายรวมอยู่ด้วย ทำให้มีแนวโน้มที่ผู้สูงอายุจะไม่ได้รับการดูแลจากบุตรหลาน และอาจเป็นภาระต้องพึ่งพิงสวัสดิการจากรัฐเพิ่มขึ้น เนื่องจากระบบการออมเพื่อการชราภาพที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมถึงแรงงานในระบบการจ้างงานทั้งหมด และแรงงานที่มีการออมเพื่อการชราภาพส่วนใหญ่ประมาณ 8.7 ล้านคน มีเพียงหลักประกันขั้นพื้นฐานผ่านกองทุนประกันสังคม ซึ่งกำหนดผลประโยชน์ทดแทนไว้ตายตัวประมาณร้อยละ 13 ของเงินเดือน ๆ สุดท้าย ซึ่งไม่น่าจะเพียงพอกับมาตรฐานการครองชีพหลังเกษียณ และแรงงานที่เหลืออีกเกือบ 2 ใน 3 ของผู้มีงานทำยังไม่มีระบบการออมเพื่อการชราภาพใด ๆ เลย นอกจากนี้ การออมในภาคครัวเรือนยังมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะทำให้เกิดช่องว่างการออมและการลงทุนเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต และส่งผลกระทบกับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ขณะที่ภาคเศรษฐกิจไทยเองก็ยังมีความจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่อีกมาก

ดังนั้น จึงทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มระดับการออมของประเทศให้สูงขึ้น ซึ่งถือเป็นโจทย์สำคัญของรัฐบาลใหม่ที่จะผลักดันนโยบายเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการออมภายใต้เงื่อนไขของการใช้จ่ายแต่พอเพียง สนับสนุนให้มีการออมในระดับครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้ง เร่งหามาตรการในการช่วยเหลือกลุ่มแรงงานที่ยังไม่ได้รับการคุ้มครองด้านรายได้ด้วยการขยายขอบเขตความคุ้มครองจากกองทุนที่มีอยู่เดิม หรือผลักดันให้เกิดการออมในภาคบังคับด้วยการจัดตั้งกองทุนขึ้นมาใหม่ในรูปแบบของกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) เพื่อสร้างระบบการออมเพื่อการชราภาพให้ครอบคลุมถึงแรงงานทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะช่วยให้คนมีเงินออมที่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพได้หลังวัยเกษียณแล้ว ยังเป็นการเพิ่มเงินออมระยะยาวในประเทศ ทำให้สัดส่วนเงินออมต่อการลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น และลดการพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศลง นอกจากนี้ ยังเป็นการลดภาระงบประมาณของรัฐที่จะใช้ในการดูแลผู้สูงอายุที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต

             แม้การเพิ่มการออมภาคบังคับอาจจะเป็นสิ่งจำเป็นแต่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า การเพิ่มการออมในภาคบังคับจะมีประสิทธิผลได้ก็ต่อเมื่อคนต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นก่อน เพราะหากรายได้เท่าเดิมแต่จะให้ออมเพิ่มคงจะเป็นเรื่องยาก ทั้งนี้ การจะทำให้คนมีรายได้เพิ่มขึ้นหมายความว่าเศรษฐกิจต้องขยายตัวและผลิตภาพการผลิต (Productivity) ของแรงงานจะต้องเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลจำเป็นต้องประคับประคองให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่องพร้อม ๆ ไปกับทยอยเพิ่มการออมของระบบควบคู่กันไป

             นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญอีกประการก็คือ การเพิ่มการออมและการพัฒนาตลาดทุนเป็นเรื่องที่ต้องทำควบคู่กันไปเพื่อให้เงินออมดังกล่าวเกิดผลตอบแทนได้สูงสุด ทั้งนี้ ทางการควรจะเปิดกว้างในเรื่องช่องทางการลงทุน เช่น การลงทุนในตลาดทุนต่างประเทศหากมีผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนภายในประเทศสำหรับกองทุนเงินออมเพื่อการชราภาพภาคบังคับต่าง ๆ ทั้งที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่และที่มีอยู่เดิม โดยอาจจะขยายเพดานการลงทุนในต่างประเทศให้สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้การบริหารเงินกองทุนมีความคล่องตัวมากขึ้น ทั้งนี้ การเปิดช่องทางการลงทุนให้กว้างขึ้นดังกล่าวจะทำให้การลงทุนมีความหลากหลายและลดความเสี่ยงลงได้ ในขณะเดียวกันก็ทำให้มีทางเลือกของการลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนที่เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งในที่สุดแล้วจะย้อนกลับมาเป็นผลดีต่อผู้ออมที่จะมีเงินออมไว้ใช้ในยามสูงอายุ

  

    

  ย้อนกลับ:::

 

 

 

 

 

ที่มา : กระแสทรรศน์ฉบับที่ ฉบับที่2037

           วันที่ 8  กุมภาพัน  2551

          บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หน้าหลัก    แนะนำสถาบัน    การศึกษายุทธศาสตร์และผลงานวิจัย    ข้อมูลรายสินค้า   แผนผังเว็บไซต์    ติดต่อสถาบัน    สำหรับเจ้าหน้าที่

 

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า

อาคาร 20 ชั้น 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ถนนวิภาวดีรังสิต  ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-692-3162-3 โทรสาร 02-692-3161

E-mail: [email protected]  

 Last updated: 08-Feb-2008.